ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน
| |-+  ข้อความพระธรรมเทศนา และคำสอนครูบาอาจารย์
| | |-+  พระสูตร
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: พระสูตร  (อ่าน 13725 ครั้ง)
admin
Administrator
Newbie
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8


« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2008, 02:41:00 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔           
มหาวรรค ภาค ๑               

 
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร                 
ปฐมเทศนา                 

            [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ
             การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
             การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?
             ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน.
             [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑.
             [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.


ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒

             [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่าเป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์.
             อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป.
             ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา.
             [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
             เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
             เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป.
             เทวดาชั้นยามา ...
             เทวดาชั้นดุสิต ...
             เทวดาชั้นนิมมานรดี ...
             เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ...
             เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้.
             ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล.
             ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย.
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้.


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ

-----------------------------------------------------


หมายเหตุ  เท่าที่ผู้คัดลอกจำได้ คำเทศนานี้ พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ นับเป็นครั้งแรก ที่ทรงประกาศอริยสัจจ์สี่ ถือว่า พระธรรมจักรได้เริ่มหมุนขึ้นแล้ว จึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

(มีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2008, 05:54:12 PM โดย zen » บันทึกการเข้า
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2008, 05:32:35 PM »

ปัญจวัคคีย์ทูลขอบรรพชาอุปสมบท

             [๑๘] ครั้งนั้น ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วตรัสต่อไปว่าธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
             พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุนั้น.
             [๑๙] ครั้นต่อมา พระผู้มีพระภาคได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลายที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระวัปปะและท่านพระภัททิยะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองนั้นได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสองพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
             พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ท่านทั้งสามนำมาถวาย ได้ทรงประทานโอวาทสั่งสอนภิกษุที่เหลือจากนั้นด้วยธรรมีกถา. ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตนำบิณฑบาตใดมา ทั้ง ๖ รูปก็เลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนั้น.
             วันต่อมา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประทานโอวาทสั่งสอนด้วยธรรมีกถาอยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระมหานามะและท่านพระอัสสชิว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา. ท่านทั้งสองได้เห็นธรรมแล้ว ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งลงแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้ต่อพระผู้มีพระภาคว่า ขอข้าพระองค์ทั้งสอง พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอทั้งสองจงเป็นภิกษุมาเถิด ดังนี้ แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอทั้งสองจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด.
             พระวาจานั้นแล ได้เป็นอุปสมบทของท่านผู้มีอายุทั้งสองนั้น.


ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร

             [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
             วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2008, 05:42:09 PM »

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

             [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
             ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?
             ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.
             ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?
             ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.


ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

             [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึงเห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลายพึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลายพึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.
             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
             [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.


อนัตตลักขณสูตร จบ

             ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.

ปฐมภาณวาร จบ

-----------------------------------------------------



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2008, 03:01:12 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

 

ยุคนัทธวรรค เมตตากถา
สาวัตถีนิทาน
            [๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ
             [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ
             เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน
             เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ นี้ ฯ
             เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน
             เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ
             [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน
             เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพหญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ
             [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น
ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวรมีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนดโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด(ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วงให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียนไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง
เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัจจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ
             [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วยมนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง)ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน
อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด
(ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
             [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนดโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ

จบเมตตากถา ฯ
-----------------------------------------------------





บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2008, 02:27:08 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


มหาวรรค ญาณกถา
             [๑] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณอย่างไร
             ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านี้ควรละ ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความวิเศษ ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี้ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นสุตมยญาณ [แต่ละอย่าง] ฯ
             [๒] ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือ เป็นเครื่องรู้ชัดซึ่งธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณอย่างไร ธรรมอย่างหนึ่งควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ธรรม ๒ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒ ธรรม ๓ ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓ ธรรม ๔ ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔ ธรรม ๕ ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕ ธรรม ๖ ควรรู้ยิ่ง คืออนุตตริยะ ๖ ธรรม ๗ ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ [เหตุที่พระขีณาสพนิพพานแล้วไม่ปฏิสนธิอีกต่อไป] ๗ ธรรม ๘ ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ [อารมณ์แห่งญาณอันฌายีบุคคลครอบงำไว้] ๘ ธรรม ๙ ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙ ธรรม ๑๐ ควรรู้ยิ่ง คือนิชชรวัตถุ [เหตุกำจัดมิจฉาทิฐิเป็นต้น] ๑๐ ฯ
             [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมชาติทั้งปวงควรรู้ยิ่ง คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย [แต่ละอย่างๆ] ควรรู้ยิ่ง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา การสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธรรมสัญเจตนา รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา รูปวิตก  สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธรรมวิตก รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธรรมวิจาร ควรรู้ยิ่ง
ทุกอย่าง ฯ
             [๕] ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ วิญญาณกสิณ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๖] ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร สมองศีรษะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๗] จักขวายตนะ รูปายตนะ โสตายตนะ สัททายตนะ ฆานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธรรมายตนะ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้ปฏิบัติด้วยมนสิการว่า เราจักรู้ธรรมที่ยังไม่รู้ อินทรีย์นี้เป็นชื่อของโสดาปัตติมรรคญาณ] อัญญินทรีย์ [อินทรีย์ของผู้รู้จตุสัจจธรรมด้วยมรรคนั้น อินทรีย์นี้เป็นชื่อของญาณในฐานะ ๖ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น] อัญญาตาวินทรีย์ [อินทรีย์ของพระขีณาสพผู้รู้จบแล้ว อินทรีย์นี้เป็นชื่อของอรหัตผลญาณ] ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๘] กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุกามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๙] เมตตาเจโตวิมุติ กรุณาเจโตวิมุติ มุทิตาเจโตวิมุติ อุเบกขาเจโตวิมุติ อากาสนัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๐] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชรามรณะ ชรามรณสมุทัย ชรามรณนิโรธ ชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๑] สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งทุกข์ สภาพที่ควรละแห่งทุกขสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งทุกขนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งรูป สภาพที่ควรละแห่งรูปสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งรูปนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ แห่งจักษุ ฯลฯ สภาพที่ควรกำหนดรู้แห่งชรามรณะ สภาพที่ควรละแห่งชรามรณสมุทัย สภาพที่ควรทำให้แจ้งแห่งชรามรณนิโรธ สภาพที่ควรเจริญแห่งชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๒] สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ทุกข์ สภาพที่แทงตลอดด้วยการละทุกขสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งทุกขนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้รูป สภาพที่แทงตลอดด้วยการละรูปสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งรูปนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญรูปนิโรธคามินีปฏิปทา สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ สภาพที่แทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ชรามรณะ สภาพที่แทงตลอดด้วยการละชรามรณสมุทัย สภาพที่แทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งชรามรณนิโรธ สภาพที่แทงตลอดด้วยการเจริญชรามรณนิโรธคามินีปฏิปทา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๓] ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ความดับเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับฉันทราคะในทุกข์ ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับเหตุให้เกิดรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป แห่งเวทนา ฯลฯ แห่งสัญญา ฯลฯ แห่งสังขาร ฯลฯ แห่งวิญญาณ ฯลฯ แห่งจักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ความดับเหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับฉันทราคะในชราและมรณะ คุณแห่งชราและมรณะ โทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๔] ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความยินดีในทุกข์ โทษแห่งทุกข์ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งทุกข์ รูป เหตุให้เกิดรูป ความดับรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับรูป ความยินดีในรูป โทษแห่งรูป อุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ เหตุให้เกิดชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับชราและมรณะ ความยินดีในชราและมรณะ โทษแห่งชราและมรณะ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๕] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป การพิจารณาเห็นความทุกข์ในรูป การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความดับในรูป การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนในรูป การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ฯลฯ ในสัญญา ฯลฯ ในสังขาร ฯลฯ ในวิญญาณ ฯลฯ ในจักษุ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นอนัตตาในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่ายในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัดในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นความดับในชราและมรณะ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืนในชราและมรณะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๖] ความเกิดขึ้น ความเป็นไป เครื่องหมาย ความประมวลมา[กรรมอันปรุงแต่ปฏิสนธิ] ปฏิสนธิ คติ ความบังเกิด อุบัติ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ อุปายาส ความไม่เกิดขึ้น ความไม่เป็นไป ความไม่มีเครื่องหมาย ความไม่มีประมวล ความไม่สืบต่อ ความไม่ไป ความไม่บังเกิด ความไม่อุบัติ ความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่ป่วยไข้ ความไม่ตาย ความไม่เศร้าโศก ความไม่รำพัน ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๗] ความเกิดขึ้น ความไม่เกิดขึ้น ความเป็นไป ความไม่เป็นไป เครื่องหมาย ความไม่มีเครื่องหมาย ความประมวลมา ความไม่ประมวลมา ความสืบต่อ ความไม่สืบต่อ ความไป ความไม่ไป ความบังเกิด ความไม่บังเกิด ความอุบัติ ความไม่อุบัติ ความเกิด ความไม่เกิด ความแก่ ความไม่แก่ ความป่วยไข้ ความไม่ป่วยไข้ ความตาย ความไม่ตาย ความเศร้าโศก ความไม่เศร้าโศก ความรำพัน ความไม่รำพัน ความคับแค้นใจ ความไม่คับแค้นใจ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๑๘] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความเป็นไปเป็นทุกข์ เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความประมวลมาเป็นทุกข์ ปฏิสนธิเป็นทุกข์ คติเป็นทุกข์ ความบังเกิดเป็นทุกข์ อุบัติเป็นทุกข์ ชาติเป็นทุกข์ พยาธิเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะเป็นทุกข์ ปริเทวะเป็นทุกข์ อุปายาสเป็นทุกข์ ฯ
             [๑๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความไม่เป็นไปเป็นสุข ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไม่ไปเป็นสุข ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความไม่อุบัติเป็นสุข ความไม่เกิดเป็นสุข ความไม่แก่เป็นสุข ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความไม่ตายเป็นสุข ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความไม่รำพันเป็นสุข ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
             [๒๐] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นทุกข์ ความไม่เกิดขึ้นเป็นสุข ความเป็นไปเป็นทุกข์ ความไม่เป็นไปเป็นสุข เครื่องหมายเป็นทุกข์ ความไม่มีเครื่องหมายเป็นสุข ความประมวลมาเป็นทุกข์ ความไม่ประมวลมาเป็นสุข ความสืบต่อเป็นทุกข์ ความไม่สืบต่อเป็นสุข ความไปเป็นทุกข์ ความไม่ไปเป็นสุข ความบังเกิดเป็นทุกข์ ความไม่บังเกิดเป็นสุข ความอุบัติเป็นทุกข์ ความไม่อุบัติเป็นสุข ความเกิดเป็นทุกข์ ความไม่เกิดเป็นสุข ความแก่เป็นทุกข์ ความไม่แก่เป็นสุข ความป่วยไข้เป็นทุกข์ ความไม่ป่วยไข้เป็นสุข ความตายเป็นทุกข์ ความไม่ตายเป็นสุข ความเศร้าโศกเป็นทุกข์ ความไม่เศร้าโศกเป็นสุข ความรำพันเป็นทุกข์ ความไม่รำพันเป็นสุข ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ความไม่คับแค้นใจเป็นสุข ฯ
             [๒๑] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความเป็นไปเป็นภัย เครื่องหมายเป็นภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไปเป็นภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความอุบัติเป็นภัย ความเกิดเป็นภัย ความแก่เป็นภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความตายเป็นภัย ความเศร้าโศกเป็นภัย ความรำพันเป็นภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ฯ
             [๒๒] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไม่ไปปลอดภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความไม่แก่ปลอดภัย ความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความไม่รำพันปลอดภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ฯ
             [๒๓] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นภัย ความไม่เกิดขึ้นปลอดภัย ความเป็นไปเป็นภัย ความไม่เป็นไปปลอดภัย เครื่องหมายเป็นภัย ความไม่มีเครื่องหมายปลอดภัย ความประมวลมาเป็นภัย ความไม่ประมวลมาปลอดภัย ความสืบต่อเป็นภัย ความไม่สืบต่อปลอดภัย ความไปเป็นภัย ความไม่ไปปลอดภัย ความบังเกิดเป็นภัย ความไม่บังเกิดปลอดภัย ความอุบัติเป็นภัย ความไม่อุบัติปลอดภัย ความเกิดเป็นภัย ความไม่เกิดปลอดภัย ความป่วยไข้เป็นภัย ความไม่ป่วยไข้ปลอดภัย ความตายเป็นภัย ความไม่ตายปลอดภัย ความเศร้าโศกเป็นภัย ความไม่เศร้าโศกปลอดภัย ความรำพันเป็นภัย ความไม่รำพันปลอด
ภัย ความคับแค้นใจเป็นภัย ความไม่คับแค้นใจปลอดภัย ฯ
             [๒๔] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส (เครื่องล่อ) ความเป็นไปมีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความอุบัติมีอามิส ความเกิดมีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความตายมีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความรำพันมีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส ฯ
             [๒๕] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส (หมดเครื่องล่อ) ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความไม่อุบัติไม่มีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ
             [๒๖] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นมีอามิส ความไม่เกิดขึ้นไม่มีอามิส ความเป็นไปมีอามิส ความไม่เป็นไปไม่มีอามิส เครื่องหมายมีอามิส ความไม่มีเครื่องหมายไม่มีอามิส ความประมวลมามีอามิส ความไม่ประมวลมาไม่มีอามิส ความสืบต่อมีอามิส ความไม่สืบต่อไม่มีอามิส ความไปมีอามิส ความไม่ไปไม่มีอามิส ความบังเกิดมีอามิส ความไม่บังเกิดไม่มีอามิส ความอุบัติมีอามิส ความไม่อุบัติไม่มีอามิส ความเกิดมีอามิส ความไม่เกิดไม่มีอามิส ความแก่มีอามิส ความไม่แก่ไม่มีอามิส ความป่วยไข้มีอามิส ความไม่ป่วยไข้ไม่มีอามิส ความตายมีอามิส ความไม่ตายไม่มีอามิส ความเศร้าโศกมีอามิส ความไม่เศร้าโศกไม่มีอามิส ความรำพันมีอามิส ความไม่รำพันไม่มีอามิส ความคับแค้นใจมีอามิส ความไม่คับแค้นใจไม่มีอามิส ฯ
             [๒๗] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความเป็นไปเป็นสังขาร เครื่องหมายเป็นสังขาร ความประมวลมาเป็นสังขาร ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไปเป็นสังขาร ความบังเกิดเป็นสังขาร ความอุบัติเป็นสังขาร ความเกิดเป็นสังขาร ความแก่เป็นสังขาร ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความตายเป็นสังขาร ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความรำพันเป็นสังขาร ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ฯ
             [๒๘] ควรรู้ยิ่งว่า ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ
             [๒๙] ควรรู้ยิ่งว่า ความเกิดขึ้นเป็นสังขาร ความไม่เกิดขึ้นเป็นนิพพาน ความเป็นไปเป็นสังขาร ความไม่เป็นไปเป็นนิพพาน เครื่องหมายเป็นสังขาร ความไม่มีเครื่องหมายเป็นนิพพาน ความประมวลมาเป็นสังขาร ความไม่ประมวลมาเป็นนิพพาน  ความสืบต่อเป็นสังขาร ความไม่สืบต่อเป็นนิพพาน ความไปเป็นสังขาร ความไม่ไปเป็นนิพพาน ความบังเกิดเป็นสังขาร ความไม่บังเกิดเป็นนิพพาน ความอุบัติเป็นสังขาร ความไม่อุบัติเป็นนิพพาน ความเกิดเป็นสังขาร ความไม่เกิดเป็นนิพพาน ความแก่เป็นสังขาร ความไม่แก่เป็นนิพพาน ความป่วยไข้เป็นสังขาร ความไม่ป่วยไข้เป็นนิพพาน ความตายเป็นสังขาร ความไม่ตายเป็นนิพพาน ความเศร้าโศกเป็นสังขาร ความไม่เศร้าโศกเป็นนิพพาน ความรำพันเป็นสังขาร ความไม่รำพันเป็นนิพพาน ความคับแค้นใจเป็นสังขาร ความไม่คับแค้นใจเป็นนิพพาน ฯ


จบปฐมภาณวาร ฯ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 10, 2009, 04:04:52 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2008, 12:27:09 AM »


             [๓๐] สภาพแห่งธรรมที่ควรกำหนดถือเอา สภาพแห่งธรรมที่เป็นบริวาร สภาพแห่งธรรมที่เต็มรอบ สภาพแห่งสมาธิที่มีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งสมาธิไม่มีความฟุ้งซ่าน สภาพแห่งธรรมที่ประคองไว้ สภาพแห่งธรรมที่ไม่กระจายไป สภาพแห่งจิตไม่ขุ่นมัว สภาพแห่งจิตไม่หวั่นไหว สภาพแห่งจิตตั้งอยู่ด้วยสามารถแห่งความปรากฏแห่งจิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพแห่งธรรมเป็นอารมณ์ สภาพแห่งธรรมเป็นโคจร สภาพแห่งธรรมที่ละ สภาพแห่งธรรมที่สละ สภาพแห่งธรรมที่ออก สภาพแห่งธรรมที่หลีกไป สภาพแห่งธรรมที่ละเอียด สภาพแห่งธรรมที่ประณีต สภาพแห่งธรรมที่หลุดพ้น สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีอาสวะ สภาพแห่งธรรมเครื่องข้าม สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีเครื่องหมาย สภาพแห่งธรรมที่ไม่มีที่ตั้ง สภาพแห่งธรรมที่ว่างเปล่า สภาพแห่งธรรมที่มีกิจเสมอกัน สภาพแห่งธรรมที่ไม่ล่วงเลยกัน สภาพแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพแห่งธรรมที่นำออก สภาพแห่งธรรมที่เป็นเหตุ สภาพแห่งธรรมที่เห็น สภาพแห่งธรรมที่เป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๑] สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ สภาพที่พิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา สภาพที่มีกิจเสมอกันแห่งสมถะและวิปัสสนา สภาพมิได้ล่วงกันแห่งธรรมที่เป็นคู่ สภาพที่สมาทานแห่งสิกขาบท สภาพที่โคจรแห่งอารมณ์ สภาพที่ประคองจิตที่ย่อท้อ สภาพที่ปราบจิตที่ฟุ้งซ่าน สภาพที่คุมจิตอันบริสุทธิ์จากความย่อท้อและฟุ้งซ่านทั้ง ๒ ประการ สภาพที่จิตบรรลุคุณวิเศษ สภาพที่แทงตลอดอริยมรรคอันประเสริฐ สภาพที่ตรัสรู้สัจจะ สภาพที่ให้จิตตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๒] สภาพที่น้อมไปแห่งสัทธินทรีย์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยินทรีย์ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสตินทรีย์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธินทรีย์ สภาพที่เห็นแห่งปัญญินทรีย์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๓] สภาพที่ศรัทธาพละมิได้หวั่นไหวเพราะจิตตุปบาทอันเป็นข้าศึกแก่ศรัทธา สภาพที่วิริยพละมิได้หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สภาพที่สติพละมิได้หวั่นไหวเพราะความประมาท สภาพที่สมาธิพละมิได้หวั่นไหวเพราะอุธัจจะ สภาพที่ปัญญาพละมิได้หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๔] สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ สภาพที่เลือกเฟ้นแห่งธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติสัมโพชฌงค์ สภาพที่สงบแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ สภาพที่พิจารณาหาทางแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๕] สภาพที่เห็นแห่งสัมมาทิฐิ สภาพที่ตรึกแห่งสัมมาสังกัปปะ สภาพที่กำหนดแห่งสัมมาวาจา สภาพที่ประชุมแห่งสัมมากัมมันตะ สภาพที่ผ่องแผ้วแห่งสัมมาอาชีวะ สภาพที่ประคองไว้แห่งสัมมาวายามะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสัมมาสติ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๖] สภาพที่เป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ สภาพที่ไม่หวั่นไหวแห่งพละ สภาพที่นำออกแห่งโพชฌงค์ สภาพที่เป็นเหตุแห่งมรรค สภาพที่ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน สภาพที่เริ่มตั้งแห่งสัมมัปปธาน สภาพที่สำเร็จแห่งอิทธิบาท สภาพที่เที่ยงแท้แห่งสัจจะ สภาพที่ระงับแห่งประโยชน์ สภาพที่ทำให้แจ้งแห่งผล สภาพที่ตรึกแห่งวิตก สภาพที่ตรวจตราแห่งวิจาร สภาพที่แผ่ไปแห่งปีติ สภาพที่ไหลมาแห่งสุข สภาพที่มีอารมณ์เดียวแห่งจิต สภาพที่คำนึง สภาพที่รู้แจ้งสภาพที่รู้ชัด สภาพที่จำได้ สภาพที่สมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๗] สภาพที่รู้แห่งปัญญาที่รู้ยิ่ง สภาพที่กำหนดรู้แห่งปริญญา สภาพแห่งปฏิปักขธรรมที่สละแห่งปหานะ สภาพแห่งภาวนามีกิจเป็นอย่างเดียว สภาพที่ถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา สภาพที่เป็นกองแห่งทุกข์ สภาพที่ทรงไว้แห่งธาตุ สภาพที่ต่อแห่งอายตนะ สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๘] สภาพที่คิด สภาพแห่งจิตไม่มีระหว่าง สภาพที่ออกแห่งจิต สภาพที่หลีกไปแห่งจิต สภาพแห่งจิตเป็นเหตุ สภาพแห่งจิตเป็นปัจจัย สภาพที่เป็นที่ตั้งแห่งจิต สภาพที่เป็นภูมิแห่งจิต สภาพที่เป็นอารมณ์แห่งจิต สภาพที่เป็นโคจรแห่งจิต สภาพที่เที่ยวไปแห่งจิต สภาพที่ไปแห่งจิต สภาพที่นำไปยิ่งแห่งจิต สภาพที่นำออกแห่งจิต สภาพที่สลัดออกแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๓๙] สภาพที่นึกในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้แจ้งในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รู้ชัดในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่จำได้ในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่จิตมั่นคงในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เนื่องในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่แล่นไปในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ผ่องใสในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตั้งมั่นในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่หลุดพ้นในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เห็นว่านี่ละเอียดในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ทำให้เป็นเช่นดังยานในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตั้งขึ้นเนืองๆในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่อบรมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ปรารภชอบด้วยดีในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่กำหนดถือไว้ในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เป็นบริวารในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เต็มรอบในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ประชุมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่อธิษฐานในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เสพในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เจริญในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ทำให้มากในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่รวมดีในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่หลุดพ้นด้วยดีในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตรัสรู้ในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตรัสรู้ตามในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตรัสรู้เฉพาะในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตรัสรู้พร้อม สภาพที่ตื่นในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตื่นตามในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตื่นเฉพาะในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่ตื่นพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้ตามในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้เฉพาะในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่เป็นไปในฝักฝ่ายความตรัสรู้พร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่สว่างในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่สว่างขึ้นในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่สว่างเนืองๆในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่สว่างเฉพาะในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว สภาพที่สว่างพร้อมในความที่จิตมีอารมณ์อย่างเดียว ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๐] สภาพที่อริยมรรคให้สว่าง สภาพที่อริยมรรคให้รุ่งเรือง สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสทั้งหลายเร่าร้อน สภาพที่อริยมรรคไม่มีมลทิน สภาพที่อริยมรรคปราศจากมลทิน สภาพที่อริยมรรคหมดมลทิน สภาพที่อริยมรรคสงบ สภาพที่อริยมรรคให้กิเลสระงับ สภาพแห่งวิเวก สภาพแห่งความประพฤติในวิเวก สภาพที่คลายกำหนัด สภาพแห่งความประพฤติในความคลายกำหนัด สภาพที่ดับ สภาพแห่งความประพฤติความดับ สภาพที่ปล่อย สภาพแห่งความประพฤติในความปล่อย สภาพที่พ้น สภาพแห่งความประพฤติในความพ้น ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๑] สภาพแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นบาทแห่งฉันทะ สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ สภาพที่สำเร็จแห่งฉันทะ สภาพที่น้อมไปแห่งฉันทะ สภาพที่ประคองไว้แห่งฉันทะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งฉันทะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ สภาพที่เห็นแห่งฉันทะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๒] สภาพแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นมูลแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นบาทแห่งวิริยะ สภาพที่เป็นประธานแห่งวิริยะ สภาพที่สำเร็จแห่งวิริยะ สภาพที่น้อมไปแห่งวิริยะ สภาพที่ประคองไว้แห่งวิริยะ สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิริยะ สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิริยะ สภาพที่เห็นแห่งวิริยะ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๓] สภาพแห่งจิต สภาพที่เป็นมูลแห่งจิต สภาพที่เป็นบาทแห่งจิต สภาพที่เป็นประธานแห่งจิต สภาพที่สำเร็จแห่งจิต สภาพที่น้อมไปแห่งจิต สภาพที่ประคองไว้แห่งจิต สภาพที่ตั้งมั่นแห่งจิต สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต สภาพที่เห็นแห่งจิต ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๔] สภาพแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นมูลแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา สภาพที่เป็นประธานแห่งวิมังสา สภาพที่สำเร็จแห่งวิมังสา สภาพที่น้อมไปแห่งวิมังสา สภาพที่ประคองไว้แห่งวิมังสา สภาพที่ตั้งมั่นแห่งวิมังสา สภาพที่ไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา สภาพที่เห็นแห่งวิมังสา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๕] สภาพแห่งทุกข์ สภาพที่ทุกข์บีบคั้น สภาพที่ทุกข์อันปัจจัยปรุงแต่ง สภาพที่ทุกข์ให้เดือดร้อน สภาพที่ทุกข์แปรปรวน สภาพแห่งสมุทัย สภาพที่สมุทัยประมวลมา สภาพที่สมุทัยเป็นเหตุ สภาพที่สมุทัยเกี่ยวข้อง สภาพที่สมุทัยพัวพัน สภาพแห่งนิโรธ สภาพที่นิโรธสลัดออก สภาพที่นิโรธเป็นวิเวก สภาพที่นิโรธเป็นอสังขตะ สภาพที่นิโรธเป็นอมตะสภาพแห่งมรรค สภาพที่มรรคนำออก สภาพที่มรรคเป็นเหตุ สภาพที่มรรคเห็น สภาพที่มรรคเป็นอธิบดี ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๖] สภาพที่ถ่องแท้ สภาพที่เป็นอนัตตา สภาพที่เป็นสัจจะ สภาพที่ควรแทงตลอด สภาพที่ควรรู้ยิ่ง สภาพที่ควรกำหนดรู้ สภาพที่ทรงรู้ สภาพที่เป็นธาตุ สภาพที่อาจได้ สภาพที่รู้ควรทำให้แจ้ง สภาพที่ควรถูกต้อง สภาพที่ควรตรัสรู้ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๗] เนกขัมมะ อัพยาบาท อาโลกสัญญา ความไม่ฟุ้งซ่าน ความกำหนดธรรม ญาณ ความปราโมทย์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๘] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์ การพิจารณาเห็นอนัตตา การพิจารณาเห็นด้วยความเบื่อหน่าย การพิจารณาเห็นด้วยความคลายกำหนัด การพิจารณาเห็นด้วยความดับ การพิจารณาเห็นด้วยความสละคืน การพิจารณาเห็นความสิ้นไป การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป การพิจารณาเห็นความแปรปรวน การพิจารณาเห็นความไม่มีเครื่องหมาย การพิจารณาเห็นธรรมไม่มีที่ตั้ง การพิจารณาเห็นความว่างเปล่า การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง การพิจารณาเห็นโทษ การพิจารณาหาทาง การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๔๙] โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๕๐] สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อมไป วิริยินทรีย์ด้วยความว่าประคองไว้ สตินทรีย์ด้วยความว่าตั้งมั่น สมาธินทรีย์ด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็น ศรัทธาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา วิริยพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน สติพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท สมาธิพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๕๑] สติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าแผ่ไป ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ด้วยอรรถว่าพิจารณาหาทาง ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๕๒] สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น สัมมาสังกัปปะด้วยความว่าตรึก สัมมาวาจาด้วยความว่ากำหนดเอา สัมมากัมมันตะด้วยความว่าให้กุศลธรรมเกิด สัมมาอาชีวะด้วยความว่าขาวผ่อง สัมมาวายามะด้วยความว่าประคองไว้ สัมมาสติด้วยความว่าตั้งมั่น สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๕๓] อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ด้วยความว่านำออก มรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่นสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้อิทธิบาทด้วยความว่าสำเร็จ สัจจะด้วยความว่าเที่ยงแท้ สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณา สมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเสมอกัน ธรรมชาติที่เป็นคู่ด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง ฯ
             [๕๔] สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด วิมุติด้วยความว่าสละ ญาณในความสิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูลฐาน มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะด้วยความว่าประมวลมา เวทนาด้วยความว่าประชุม สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญาด้วยความว่าประเสริฐกว่ากุศลธรรมนั้นๆ วิมุติด้วยความว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรรู้ยิ่งทุกอย่าง
             [๕๕] ธรรมใดๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้นๆ เป็นคุณที่รู้แล้ว ชื่อว่าญาณเพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ทั่ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง เป็นสุตมยญาณ ฯ
จบทุติยภาณวาร ฯ


             [๕๖] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมา คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ เป็นสุตมยญาณอย่างไร ฯ
             ธรรมอย่างหนึ่งควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะอันมีอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ธรรม ๒ ควรกำหนดรู้ คือ นาม ๑ รูป ๑ ธรรม ๓ ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา ๓ ธรรม ๔ ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร ๔ ธรรม ๕ ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ ธรรม ๖ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน ๖ ธรรม ๗ ควรกำหนดรู้ คือ วิญญาณฐิติ ๗ ธรรม ๘ ควรกำหนดรู้ คือ โลกธรรม ๘ ธรรม ๙ ควรกำหนดรู้ คือ สัตตาวาส ๙ ธรรม ๑๐ ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะ ๑๐ ฯ
             [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงที่ควรกำหนดรู้คืออะไร คือ ตา รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง ฯ
             [๕๘] รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักขุ ฯลฯ ชราและมรณะ ฯลฯ นิพพานที่หยั่งลงในอมตะด้วยความว่าเป็นที่สุด ควรกำหนดรู้ทุกอย่าง บุคคลผู้พยายามเพื่อจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๕๙] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้เนกขัมมะ เป็นอันได้เนกขัมมะแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่พยาบาท เป็นอันได้ความไม่พยาบาทแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อาโลกสัญญา เป็นอันได้อาโลกสัญญาแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอันได้ความไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้การกำหนดธรรม เป็นอันได้การกำหนดธรรมแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ญาณ เป็นอันได้ญาณแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ความปราโมทย์ เป็นอันได้ความปราโมทย์แล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๐] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ปฐมฌาน เป็นอันได้ปฐมฌานแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน เป็นอันได้จตุตถฌานแล้ว ... บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ... อากิญจัญญายตนสมาบัติ ... เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอันได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ธรรมนั้นเป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้ว และพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๑] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อนิจจานุปัสนา เป็นอันได้อนิจจานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ทุกขานุปัสนา ... อนัตตานุปัสนา ... นิพพิทานุปัสนา ... วิราคานุปัสนา ... นิโรธานุปัสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสนา ... ขยานุปัสนา ... วยานุปัสนา ... วิปริณามานุปัสนา ... อนิมิตตานุปัสนา ... อัปปณิหิตานุปัสนา ... สุญญตานุปัสนา ... เป็นอันได้สุญญตานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๒] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนา การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอันได้อธิปัญญาธรรมวิปัสสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ยถาภูตญาณทัสนะ ... อาทีนวานุปัสนา ... ปฏิสังขานุปัสนา ... วิวัฏฏนานุปัสนา ... เป็นอันได้วิวัฏฏนานุปัสนาแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ฯ
             [๖๓] บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้โสดาปัตติมรรค เป็นอันได้โสดาปัตติมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้สกทาคามิมรรค ... อนาคามิมรรค ... อรหัตมรรค เป็นอันได้อรหัตมรรคแล้ว ธรรมนั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ บุคคลผู้พยายามเพื่อต้องการจะได้ธรรมใดๆ เป็นอันได้ธรรมนั้นๆ แล้ว ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันบุคคลนั้นกำหนดรู้แล้วและพิจารณาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ
             [๖๔] ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างไร ฯ
             ธรรมอย่างหนึ่งควรละ คือ อัสมิมานะ ธรรม ๒ ควรละ คือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ ธรรม ๓ ควรละ คือ ตัณหา ๓ ธรรม ๔ ควรละ คือ โอฆะ ๔ ธรรม ๕ ควรละ คือ นิวรณ์ ๕ ธรรม ๖ ควรละ คือ หมวดตัณหา ๖ ธรรม ๗ ควรละ คือ อนุสัย ๗ ธรรม ๘ ควรละ คือ มิจฉัตตะ ความเป็นผิด ๘ ธรรม ๙ ควรละ คือ ธรรมมีตัณหาเป็นมูลเหตุ ๙ ธรรม ๑๐ ควรละ คือมิจฉัตตะ ๑๐ ฯ
             [๖๕] ปหานะ ๒ คือ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรค เครื่องให้ถึงความสิ้นไป ฯ
             ปหานะ ๓ คือ เนกขัมมะ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกาม ๑ อรูปญาณ เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ๑ นิโรธ  เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งสังขตธรรมที่เกิดขึ้นแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ๑ บุคคลผู้ได้เนกขัมมะเป็นอันละและสละกามได้แล้ว บุคคลผู้ได้อรูปญาณเป็นอันละและสละรูปได้แล้ว บุคคลผู้ได้นิโรธเป็นอันละและสละสังขารได้แล้ว ฯ
             ปหานะ ๔ คือ บุคคลผู้แทงตลอดทุกขสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดสมุทัยสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดนิโรธสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้ง ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ บุคคลผู้แทงตลอดมรรคสัจ อันเป็นการแทงตลอดด้วยการเจริญ ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ๑ ฯ
             ปหานะ ๕ คือ วิกขัมภนปหานะ ๑ ตทังคปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นิสสรณปหานะ ๑ การละนิวรณ์ด้วยการข่มไว้ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญปฐมฌาน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญสมาธิอันเป็นไปในส่วนแห่งการชำแรกกิเลส สมุจเฉทปหานะ อันเป็นโลกุตรมรรค และปฏิปัสสัทธิปหานะอันเป็นโลกุตรผล ในขณะแห่งผล ย่อมมีแก่บุคคลผู้เจริญมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นไป และนิสสรณปหานะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ฯ
             [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรละคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรละทุกอย่าง
             หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ ฯลฯ มโนวิญญาณ ฯลฯ มโนสัมผัส ฯลฯ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยควรละทุกอย่าง ฯ
             เมื่อพิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นเวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ ... จักษุ ... ชราและมรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ เมื่อพิจารณาเห็นนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ [ด้วยความเป็นอนัตตา] ด้วยความว่าเป็นที่สุด ย่อมละกิเลสที่ควรละได้ ธรรมใดๆ เป็นธรรมที่ละได้แล้วธรรมนั้นๆ เป็นอันสละได้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า ธรรมเหล่านี้ควรละ ชื่อว่าสุตมยญาณ ฯ

จบตติยภาณวาร ฯ





บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #6 เมื่อ: มกราคม 28, 2009, 12:33:28 AM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค


 

๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
            [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
จบอุทเทสวารกถา
             [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอานาปานบรรพ
             [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอิริยาปถบรรพ
             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบสัมปชัญญบรรพ
             [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
             [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบธาตุมนสิการบรรพ
             [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
             [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
             [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

จบนวสีวถิกาบรรพ
จบกายานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
            [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
จบเวทนานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
            [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
            [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยกามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ
จบนีวรณบรรพ
-----------------------------------------------------
            [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับแห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ
จบขันธบรรพ
            [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อมรู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ... ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จักธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน และภายนอก ๖ อยู่ ฯ
จบอายตนบรรพ
-----------------------------------------------------
            [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ
จบโพชฌงคบรรพ
จบภาณวารที่หนึ่ง
            [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็นทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
             [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ
             ก็ชราเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ฯ
             ก็มรณะเป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่ามรณะ ฯ
             ก็โสกะเป็นไฉน ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าโสกะ ฯ
             ก็ปริเทวะเป็นไฉน ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าปริเทวะ ฯ
             ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
             ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ
             ก็อุปายาสเป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคลผู้ประกอบด้วยความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว อันนี้เรียกว่าอุปายาส ฯ
             ก็ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความประสบ ความประสบความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
             ก็ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษมจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น อันนี้เรียกว่า ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์ ฯ
             ก็ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้น ก็เป็นทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่า ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ความปรารถนา ย่อมบังเกิดแก่สัตว์ผู้มีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา แม้ข้อนี้ ก็ชื่อว่าปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ ฯ
             ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
             [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ
             [๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
             ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ ณ ที่นี้ ฯ
             รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดขึ้นในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่
ในที่นี้ ฯ
             รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่
ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯ
             [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความสำรอก และความดับโดยไม่เหลือ ความสละ ความส่งคืน ความปล่อยวาง ความไม่มีอาลัย ในตัณหานั้น ก็ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่ไหน เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯ
             ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ รูปเสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับย่อมดับในที่นี้ ฯ
             รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา ธัมมสัญเจตนา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อ
บุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหา เมื่อบุคคลจะละ ย่อมละเสียได้ในที่นี้ เมื่อจะดับ ย่อมดับในที่นี้ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯ
             [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
             ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ฯ
             สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ ฯ
             สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา ฯ
             สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ ฯ
             สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ ฯ
             สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ ฯ
             สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ ฯ
             สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามิมีปฏิปทาอริยสัจ ฯ
             ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ ฯ
จบสัจจบรรพ
จบธัมมานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
             [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๑ ปียกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่ง พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ เดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ๗ เดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนี้ ตลอด ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ กึ่งเดือนยกไว้ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตผลในปัจจุบัน ๑ หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี ๑ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ฉะนี้แล คำที่เรากล่าว ดังพรรณนามาฉะนี้ เราอาศัยเอกายนมรรคกล่าวแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2009, 11:52:45 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 03:21:50 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
             ลำดับนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่เพื่อฟังธรรม ข้าพระองค์ได้เห็นท่านพระเรวตะ และท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ท่านอานนท์ จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุนั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อานนท์  เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น อานนท์นั้น แสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย.
             [๓๗๗] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระเรวตะดังนี้ว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระเรวตะ ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่าท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เรวตะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า เรวตะ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร.
             [๓๗๘] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะพระอนุรุทธดังนี้ว่า ท่านอนุรุทธ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านอนุรุทธในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อนุรุทธ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อนุรุทธ ย่อมตรวจดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์.
             [๓๗๙] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระอนุรุทธพยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านมหากัสสปในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสป ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านมหากัสสป ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร กัสสป เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า กัสสป ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษด้วยตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย.
             [๓๘๐] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระมหากัสสปกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสปพยากรณ์แล้ว เราจะขอถามท่านโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูกรท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าวอภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วยและธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก.
             [๓๘๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ในลำดับต่อไป ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ปฏิภาณตามที่เป็นของตน เราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านสารีบุตรในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น เปรียบเหมือนผอบผ้าของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมเป็นสีต่างๆ พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ สารีบุตร เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า สารีบุตรยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น.

พระพุทธโอวาท
             [๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต?
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา คำถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น เราตอบว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.

จบ มหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 10:30:43 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #8 เมื่อ: มีนาคม 02, 2009, 02:02:02 AM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑


 

จตุตถปาราชิกสิกขาบท
เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
             [๒๒๗] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวันเขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ซึ่งเคยเห็นร่วมคบหากันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ก็แลสมัยนั้น วัชชีชนบท อัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย จึงภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า บัดนี้วัชชีชนบทอัตคัดอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย พวกเราจึงจะพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยอุบายอย่างไรหนอ
             ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการอันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเราด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
             ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า ไม่ควร ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์เถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
             ภิกษุบางพวกพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลย ท่านทั้งหลาย จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ จะประโยชน์อะไรด้วยการช่วยกันทำข่าวสาส์นอันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ ท่านทั้งหลาย ผิฉะนั้น พวกเราจักกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ด้วยอุบายอย่างนี้ พวกเราก็จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกและจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
             ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า อาวุโสทั้งหลาย การที่พวกเราพากันกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นี้แหละ ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน รูปโน้นได้ทุติยฌาน รูปโน้นได้ตติยฌาน รูปโน้นได้จตุตถฌาน รูปโน้นเป็นพระโสดาบัน รูปโน้นเป็นพระสกทาคามี รูปโน้นเป็นพระอนาคามี รูปโน้นเป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา ๓ รูปโน้นได้อภิญญา ๖ ดังนี้
             ครั้นต่อมา ประชาชนเหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเราหนอ พวกเราได้ดีแล้วหนอ ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษเห็นปานนี้ อยู่จำพรรษาเพราะก่อนแต่นี้ ภิกษุทั้งหลายที่อยู่จำพรรษาของพวกเรา จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภคด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของเคี้ยวชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่เคี้ยวด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของลิ้มชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ลิ้มด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต น้ำดื่มชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่ดื่มด้วยตน ไม่ให้มารดาบิดา บุตรภรรยา คนรับใช้ กรรมกร มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต จึงภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่ภิกษุทั้งหลายออกพรรษาแล้วเข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคนั่นเป็นประเพณี ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้วเก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวรหลีกไปโดยมรรคาอันจะไปสู่พระนครเวสาลี เที่ยวจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ป่ามหาวันกูฏาคารศาลา แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
             [๒๒๘] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลายเป็นผู้ผอมซูบซีด มีผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้นๆ มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล มีอินทรีย์ผ่องใส มีสีหน้าสดชื่น มีผิวพรรณผุดผ่อง ก็การที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย นั่นเป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุ พวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ร่างกายของพวกเธอยังพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ
             ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ยังพอทนได้พระพุทธเจ้าข้า ยังพอเป็นไปได้ พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุกและไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต พระพุทธเจ้าข้า
พุทธประเพณี
             พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่ ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ในสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง
             ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต ด้วยวิธีการอย่างไร
             ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเนื้อความนั้น ให้ทรงทราบแล้ว
             ภ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ
             ภ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน
             [๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโคอันคม ยังดีกว่าอันพวกเธอกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้นพึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัยเบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้กล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แลเป็นเหตุ ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของคนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมมีกถารับสั่งกะภิกขุทั้งหลาย ว่าดังนี้
มหาโจร ๕ จำพวก
             [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน
             ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอเราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ สมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแลย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้วเที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์ และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก
             ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก
             ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก
             ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์ คือ อาราม พื้นที่อารามวิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก
             ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง นี้จัดเป็นยอดมหาโจร ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย.

นิคมคาถา
             ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว ด้วยอาการแห่งคนขโมย ดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมทราม ไม่สำรวมแล้ว ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม ภิกษุผู้ทุศีล ผู้ไม่สำรวมแล้วบริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า การฉันก้อนข้าวของชาวรัฐ จะประเสริฐอะไร.
ทรงบัญญัติปฐมบัญญัติ
             [๒๓๑] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา โดยอเนกปริยายแล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้นที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้แก้ยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้

พระปฐมบัญญัติ
             ๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ ครั้นสมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อยๆ เป็นเท็จเปล่าๆ แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
             สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้ ฯ

เรื่องภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา จบ






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 10, 2009, 03:44:25 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #9 เมื่อ: เมษายน 17, 2009, 03:11:27 PM »


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค


 

ปริหานสูตร
             [๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหานธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสียไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
             [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
             [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่าอภิภายตนะ ๖ ฯ


จบสูตรที่ ๓




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2009, 12:35:43 AM »

 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


 

สุขในรูปฌานและอรูปฌาน
             [๑๐๑] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้แลอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญาได้โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญาได้ เพราะไม่มนสิการนานัตตสัญญาอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุวิญญาณัญจายตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า หน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นอันดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
             [๑๐๒] ดูกรอานนท์ เราไม่ยอมรับรู้ถ้อยคำของผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสวยสุขโสมนัส มีกามสุขนี้เป็นอย่างยิ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรอานนท์ เพราะสุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้ ยังมีอยู่.
             ดูกรอานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้เป็นไฉน ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้แล อานนท์ สุขอื่นที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนี้.
             ดูกรอานนท์ ข้อที่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสสัญญาเวทยิตนิโรธไว้แล้ว แต่บัญญัติลงในสุข ข้อนี้นั้นจะเป็นไฉนเล่า ข้อนี้นั้นเป็นอย่างไรเล่า ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ท่านควรจะกล่าวตอบว่า ดูกรอาวุโส พระผู้มีพระภาคจะทรงหมายสุขเวทนาอย่างเดียว แล้วบัญญัติไว้ในสุขหามิได้ แต่บุคคลได้สุขในที่ใดๆ พระตถาคตย่อมบัญญัติที่นั้นๆ ไว้ในสุข.
             พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์ชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.

จบ พหุเวทนิยสูตร ที่ ๙.
-----------------------------------------------------





บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 04:20:46 PM »


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

สีติวรรคที่ ๔

๑. สีติสูตร

             [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ไม่ยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ไม่วางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมเลว ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ย่อมประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑ ย่อมยังจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง ๑ ย่อมวางเฉยจิตในสมัยที่ควรวางเฉย ๑ เป็นผู้น้อมไปในธรรมประณีต ๑ และเป็นผู้ยินดียิ่งในนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรกระทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้เย็นอย่างยิ่ง ฯ

จบสูตรที่ ๑


๒. ภัพพสูตร

             [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๑ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกั้น ๑ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีฉันทะ ๑ และมีปัญญาทราม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกรรมเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกิเลสเป็นเครื่องกั้น ๑ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีวิบากเป็นเครื่องกัน ๑ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีฉันทะ ๑ และมีปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ

จบสูตรที่ ๒




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #12 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 04:36:41 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส

สาริปุตตสุตตนิทเทสที่ ๑๖

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา
             [๙๘๖] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
             สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
                          โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตในกาลอื่น ย่อมให้จิต
                          รื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล ย่อมวางเฉยในกาล โยคีผู้นั้น
                          ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล ความประคองจิตควรมีในกาลไหน? ความข่ม
                          จิตควรมีในกาลไหน? กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน? และ
                          กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร? บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็นที่วางเฉย
                          แห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร? เมื่อจิตของโยคีบุคคลย่อหย่อน เป็นกาล
                          ที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของโยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคี
                          บุคคลพึงยังจิตที่ถึงความไม่แช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
                          ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาลใด กาลนั้นเป็น
                          กาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน โดยอุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็น
                          ธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีในกาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉย
                          ไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาด
                          ในกาลพึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล ตามกาล อย่างนี้.
             เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น ... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ ความว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
             [๙๘๗] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้ ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า ภิกษุนั้นพึงกำจัดความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือราคะ ความมืดคือโทสะ ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีญาณ ดับปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง. ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส. เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงแจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ. เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย. เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรงอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งฌาน ๔ อัปปมัญญา ๔ อรูปสมาบัติ ๔ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ ๘ อภิภายตนะ ๘ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา ๑๐ กสิณสมาบัติ ๑๐ อานาปาณสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ ๑๐ เวสารัชญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ พุทธธรรม ๖ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะในธรรมเหล่านั้น
                          ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็น
                          ธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคตรัสว่าดังนี้
                          ฉะนี้แล.

จบ สารีปุตตนิทเทสที่ ๑๖.
จบ สุตตนิทเทส ๑๖ นิทเทสในอัฏฐกวรรค.
-----------------------------------------------------


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 27, 2009, 12:37:31 AM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #13 เมื่อ: มกราคม 05, 2010, 03:57:39 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

อสังขตสังยุตต์ วรรคที่ ๑

             [๖๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะ และทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
             [๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมถะและวิปัสสนา นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ
             [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สติปัฏฐาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน สัมมัปปธาน ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อิทธิบาท ๔ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อินทรีย์ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน พละ ๕ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน โพชฌงค์ ๗ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ

จบนิพพานสังยุตต์ ปฐมวรรค
-----------------------------------------------------



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.218 วินาที กับ 18 คำสั่ง