ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  สาระธรรมทั่วไป
| | |-+  สัพเพเหระธรรม
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: 1 2 [3] 4 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สัพเพเหระธรรม  (อ่าน 35605 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #30 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2009, 11:41:34 AM »


          ความสงบ ไม่ได้หมายถึงความไม่พิจารณาสิ่งใดๆเลย แต่หมายถึง ความไม่กำหนัด ความไม่ฟุ้งซ่าน ความไม่เร่าร้อนกระวนกระวาย ความไม่สั่นไหวไปตามผัสสะทั้งหลายอันยั่วยุ

          บุคคลพึงพิจารณาถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่น ความปล่อยวาง และความสละคืนสิ่งต่างๆ หรือความเป็นไปต่างๆในโลก โดยตั้งอยู่้ในความสงบ ประคองไปด้วยความสงบ เจริญไปเพื่อความสงบ และเมื่อตั้งเจตนาพิจารณาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทำให้มาก ประคองให้สม่ำเสมอ ย่อมพิจารณาเห็นได้ว่า ทั้งหลายในโลก ล้วนเป็นเช่นนี้เอง ในอดีตก็อย่างนี้ ณ ปัจจุบันก็เช่นนี้ ต่อๆไปในอนาคตกาลก็ยังคงเป็นไปอย่างเดิม หาจุดเริ่มต้น และที่สิ้นสุดมิได้ ย่อมทราบได้ว่า ธรรม หรือความเป็นไปทั้งหลายในโลก ล้วนเป็นธรรมดา

          บุคคล เมื่อแทงตลอดบรรลุถึงความเป็นธรรมดาของโลก ย่อมไม่บังคับ ย่อมไม่เหนี่ยวรั้ง ย่อมไม่ทะยานแสวงหาความเป็นไปใดๆในโลกอีก ย่อมพ้นพันธนาการ เป็นอิสระจากโลก ย่อมไม่ทุกข์ ย่อมเยือกเย็น



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #31 เมื่อ: มีนาคม 06, 2009, 04:55:50 PM »


          ภายใต้สภาพสังคม เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ที่บีบคั้น ประกอบกับผู้คนส่วนมากในโลกยังไม่เข้าถึงความเป็นผู้อบรมจิตใจของตนดีแล้ว ยังเป็นผู้อ่อนแออยู่ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความเบียดเบียนกันอยู่ทั่วไป ไม่ว่าทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี หรือทั้ง ๓ ประการก็ดี เกิดได้ทุกเมื่อ อย่างนี้แล้ว โทสะ ก็เป็นของมีอยู่เสมอๆ ทั่วไป มากบ้าง น้อยบ้าง แสดงออกบ้าง ไม่แสดงออกบ้าง แสดงออกต่อหน้าบ้าง ลับหลังบ้าง โกรธแล้วก็แล้วกันไปบ้าง โกรธแล้วก็เพ่งเล็งอาฆาตพยาบาทกันบ้าง รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง หรือรู้ตัวมากบ้าง รู้ตัวน้อยบ้าง เมื่ออย่างนี้แล้ว การมีเจตนาไปด้วยอำนาจแห่งโมหะอันครอบงำใจก็มีอยู่เป็นธรรมดา ทุกเมื่อเชื่อวัน ความสงบระงับก็มีน้อย ความกระวนกระวายทะยานออกก็มีมาก ความเยือกเย็นเป็นสุขก็มีน้อย ความเร่าร้อนประทุษร้ายก็มีมาก กุศลธรรมก็ตั้งอยู่ได้ยาก อกุศลธรรมก็เกิดขึ้นได้ง่าย ก็บุคคลผู้ตั้งตนอยู่ในทุกข์ร้อน ย่อมยากจะปรารถนาความเป็นสุขร่มเย็นแก่ผู้อื่น ผู้มีความเห็นว่าตนเดือดร้อนเพราะความขาดแคลนอยู่ ย่อมยากจะปรารถนาความเสียสละแก่ผู้อื่น ฯลฯ อีกประการหนึ่ง ที่เป็นอันตรายมากยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ คนโดยมาก เมื่อกระทำตนไปตามโลกดั่งนี้แล้ว เมื่อนานไป ก็เคยชิน เห็นเป็นเรื่องธรรมดา จนกระทั่งเห็นเป็นปกติ เป็นความถูกต้อง เป็นความชอบธรรม เป็นธรรมชาติ ที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น อย่างนี้แล้ว ยิ่งนานไป ก็ยิ่งขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดหิริโอตัปปะ(ความละอายกลัวเกรงต่อบาปกรรมอันชั่ว) ขาดจาคะ(ความเสียสละ) เห็นความเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบกันเป็นเรื่องสมควร มีความเพ่งเล็งโทษต่อผู้อื่นเป็นนิสัย ความดีก็กลายเป็นสิ่งยากขึ้นเรื่อยๆ ความชั่วก็เป็นสิ่งปกติยิ่งขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่บุคคลผู้ทำความดีเพียงเพื่อแสดง อวด หรือข่มผู้อื่น ว่าตนเป็นผู้ดีกว่าผู้อื่น ก็มีความเห็นว่า สิ่งที่ตนทำไปนั้น เป็นความดีอันประเสริฐยิ่งใหญ่ หาคนดีเทียบเท่าตนได้ยากในโลก บ้างก็ตั้งตนสั่งสอน หรือตัดสินผู้อื่น ว่าสิ่งใดเป็นคติ สิ่งใดมิใ่ช่คติ ทั้งที่จริงแล้ว เมื่อสัมปรายภพ ตนก็มีอบายเป็นที่ไป อย่างนี้ก็มีมาก

          ประมาณด้วยเหตุประการทั้งปวงดังกล่าวมานี้ บุคคลในโลกนี้ย่อมเป็นโทสะได้มาก เพราะขาดการอบรมจิตใจของตนให้ดีพอ ให้มีขันติมากพอ ให้ตั้งมั่นมากพอ ให้เข้มแข็งพอ ให้เป็นกุศลมากพอ ให้เกิดปัญญาอันทั่วถึงพอ ก็ย่อมเร่าร้อนอยู่เป็นปกติ นานไปก็จำแนกไม่ออก สังเกตไม่ออก ว่าตนเร่าร้อนอยู่ อย่างไรก็ตาม ผู้แยบคายก็ยังพอมีอยู่ ก็จะสังเกตได้บ้างบางครั้ง ว่าตนเป็นโทสะอยู่ แต่บางทีก็ห้ามไม่ได้

          แท้จริงแล้ว โทสะที่กำเริบขึ้นแก่ตนนั้น ตนเองนั่นแหละ เป็นผู้เลือก เป็นผู้ตัดสินใจ เป็นผู้กำหนดเจตนา ให้น้อมไปในโทสะนั้น (และเมื่อน้อมไปในโทสะแล้ว โมหะก็ย่อมครอบงำจิตตนอยู่โดยปริยาย โดยสภาพ) ไม่ใช่เพราะผู้อื่น ไม่ใช่เพราะสิ่งอื่นบังคับตนให้โกรธได้ อย่างเช่นว่า เมื่อผู้อื่นกล่าววาจาดูหมิ่นดูแคลนเรา แล้วเราโกรธ ก็จะตัดสินว่า เพราะผู้อื่นทำให้เราโกรธนั้น เป็นความรู้ความเห็นอย่างโลกๆ ไม่ฉลาด ไม่แยบคาย ก็หากความเห็นอย่างนี้ถูกต้อง เป็นสัจจะจริงแล้ว เหตุใดบุคคลบางจำพวก เมื่อประสบคำดูหมิ่นเหล่านี้แล้ว กลับไม่โกรธ บางครั้งกลับมีเมตตาเห็นอกเห็นใจผู้ที่กล่าวกระทบกระทั่งตนด้วยซ้ำ โดยความเป็นจริงแล้ว การที่บุคคลจะมีโทสะหรือไม่นั้น บุคคลเลือกเองได้ เพียงแต่บุคคลโดยมากขาดการอบรมจิตใจของตนให้เข้มแข็งพอ ดังนั้น เมื่อเกิดปฏิฆะความกระทบกระทั่งใจกับแล้ว ด้วยทิฏฐิมานะของตน ก็เกิดเวทนา คือความเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อทนความเดือดเนื้อร้อนใจของตนมิได้ก็ปรารถนาความตอบโต้ ปรารถนาการประทุษร้าย โทสะ และโมหะ ก็ตามมา แต่หากบุคคลอบรมจิตใจตนให้มีความเข้มแข็งมากพอ เมื่อไปปรารถนาความประทุษร้ายต่อผู้อื่น ก็จะทนทานต่อความเดือดเนื้อร้อนใจของตนได้ ไม่หวั่นไหว หรือหากหวั่นไหวบ้าง ก็อยู่ในกำลังที่จะประคองสติมิให้หลงตาม มิให้ถูกเวทนานั้นครอบงำได้ เมื่ออย่างนี้แล้ว บุคคลก็จะพึุงกำหนดรักษาเจตนาของตนเอาไว้ได้ ไม่ให้ตกลงไปในโทสะ โมหะ ความคิดชั่ว ความกระวนกระวายเร่าร้อน ความคิดประทุษร้าย หรือ ความไหลลงสู่อบายได้ อย่างนี้เรียกว่า มีสติ และสัมปชัญญะ เป็นเครื่องกั้นกิเลส บาป อกุศล ส่วนสติอย่างที่ระลึกได้ว่าตนมีโทสะอยู่ แต่ไม่สามารถอดกลั้น หรือระงับโทสะนั้นลงได้ เรียกว่า สติอย่างทราม เป็นจิตที่ประกอบอกุศลอยู่ ไม่ใช่สัมมาสติ

          ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า สังขารทั้งหลายในโลก ล้วนเป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)นั้น หมายความว่า สิ่งทั้งหลายในโลก ไม่เที่ยง ปรวนแปร เปลี่ยนแปลง แปรงสภาพ ไปตามอำนาจแห่งเหตุ อันเป็นปัจจัย ให้เกิดขึ้น ให้ตั้งอยู่ ให้เสื่อมไป ดับไป ก็หมายความว่า เมื่อบุคคลไม่สามารถห้ามมิให้อกุศลเกิดขึ้นแก่จิตใจตนได้นั้น ย่อมเป็นเพราะบุคคลนั้น ยังประกอบเหตุไม่ถูกต้อง หรือยังไม่พอเพียงแก่การกำราบห้ามปรามกิเลสอกุศลในจิตใจตน แต่หากเมื่อบุคคลประกอบเหตุอย่างถูกต้อง และพอเพียงแก่การนี้แล้ว ก็ย่อมกำหนดบังคับกำราบห้ามปรามกิเลสอกุศลในจิตใจตนได้ เป็นธรรมดา เป็นไปตามเหตุและปัจจัยที่สั่งสมมา มิใช่ให้ไปตีความว่า การที่จิตของตนเป็นอกุศลขึ้นมานั้น เป็นเรื่องธรรมดา เป็นสัจจะธรรม เป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์ จะกำหนดบังคับห้ามปรามแก้ไขมิได้ ก็หากเป็นจริงตามทิฏฐิอย่างนี้แล้ว เหตุใดพระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ภิกษุเพียรป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด เพื่อมิให้เกิด เพียรละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้บรรเทาเบาบางลง หรือเพื่อให้ดับไป เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด เพื่อให้เกิดขึ้น เพียรเจริญกุศลที่ได้เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้เจริญยิ่งๆขึ้นไปในกุศลนั้น อีกประการหนึ่ีง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร ในหัวข้อจิตตานุปัสสนา มีข้อความตอนหนึ่งที่ทรงตรัสว่า "..... จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ ....." ท่านมิใช่สอนให้รู้อย่างทั่วๆไป มิใช่สอนให้รู้อย่างโลกๆ ท่านสอนให้รู้อย่างไร? ก็มีปรากฏอยู่ในตอนท้ายว่า "..... อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ" จะเห็นว่า ท่านสอนให้รู้ด้วยสติที่ตั้งมั่น ท่านสอนให้รู้อย่างไม่มีตัณหาและทิฐิ ท่านสอนให้รู้อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น เมื่ออย่างนี้แล้ว ก็ควรพิจารณาดูว่า การที่รู้ว่าตนโกรธ แต่ตนเองก็ยังโกรธอยู่ ยังคิดไม่ดีต่อผู้อื่นอยู่ อย่างนี้ยังไม่ชื่อว่าสติปัฏฐานที่ถูกต้อง ถึงจะอ้างว่าเป็นการเห็นไตรลักษณ์ก็เถอะ แต่ก็เป็นไตรลักษณ์ที่เห็นอยู่อย่างคนตาบอด อย่างคนจักษุมืดมัว ยังไม่ใช่การเห็นไตรลักษณ์อย่างที่เป็นจริงเลย ก็ถ้า่จิตยังตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งโทสะอยู่ ย่อมไม่เรียกว่าเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ย่อมไม่เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตั้งอยู่ในตัณหาและทิฐิ และย่อมไม่เรียกว่าเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในโลกอยู่

          สรุปแล้ว จะเรียกว่าการปฏิบัติกรรมฐานก็ดี จะเรียกว่าการภาวนาจิตก็ดี จะเรียกว่าการเจริญสติปัฏฐานก็ดี ฯลฯ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการอบรมจิตใจของตนให้ตั้งมั่น ให้เข้มแข็ง ให้เป็นผู้เลือกได้ ว่าจะตั้งเจตนาของตนให้น้อมจิตน้อมใจไปในสิ่งใด หรือไม่น้อมไปในสิ่งใด ส่วนผู้ที่ยังกระทำเช่นนี้ไม่ได้ อย่ามัวไปให้ผู้อื่นหลอกลวง อย่ามัวหลอกลวงตนเองอยู่ ว่าที่บังคับจิตใจตนเองไม่ได้นั้น เป็นเรื่องปกติธรรมดา เป็นสัจจะ เป็นสิ่งถูกต้องแล้ว เป็นไปตามกฏไตรลักษณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขมิได้ เป็นสิ่งไม่ควรบังคับแก้ไข ฯลฯ เพราะบุคคลที่ตั้งทิฐิของตนไว้เช่นนี้อย่างมุ่งมั่นแล้ว ย่อมพึงคาดหวังได้ ในความทุกข์ ความเสื่อม อบาย เป็นที่ไป ผู้ฉลาด เมื่อบังเกิดโทสะ ย่อมพึงเพ่งเล็งความอ่อนแอ ความไม่ตั้งมั่น ความไม่มั่นคง อกุศล กิเลส ตัณหา และทิฐิ ของตนเองให้รอบคอบ ให้ทั่วถึง ให้แยบคายก่อน ไม่ควรแก้ไขปัญหานี้ด้วยการเพ่งเล็งผู้อื่นก่อน เพราะการกระทำของผู้อื่นต่อเรานั้น เป็นเพียงปัจจัยยั่วยุเท่านั้น ไม่สามารถบังคับให้เราเกิดโทสะได้โดยตรง การที่เราทนทานต่อเวทนาของตนมิได้ จนเกิดโทสะนั้น เป็นความอ่อนแอ ไม่ตั้งมั่น พ่ายแพ้แก่กิเลสตัณหาของตนเอง เท่านั้นเอง ไม่ควรโทษสิ่งอื่น ไม่ควรขบคิดแสวงหาเหตุผลอื่นคำตอบอื่นอีก

          ผู้มีปกติทนทานต่อความเป็นอกุศลได้ หรือทนทานต่อสิ่งอันยั่วยุให้เกิดอกุศลได้ ย่อมเป็นผู้มีปกติน้อมไปในความเป็นกุศลได้ง่าย ย่อมเป็นผู้ตั้งตนอยู่ในสุขได้ง่าย ย่อมเป็นผู้บำรุงง่าย ย่อมเป็นผู้อาศัยปัจจัยน้อย ย่อมเป็นผู้ไม่แก่งแย่งเบียดเบียน ย่อมเป็นผู้มีเมตตา คือ ความปรารถนาความไม่เบียดเบียนกัน





บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #32 เมื่อ: มีนาคม 26, 2009, 01:47:14 PM »


          โลกียะธรรม(โลกธรรม หรือธรรมอันเนื่องอยู่ด้วยโลก) ย่อมไม่มีปรากฏอยู่ใน โลกุตตระธรรม(นิพพานธรรม หรือธรรมอันพ้นไปจากโลก) ฉันใดฉันนั้น โลกุตตระธรรม ย่อมไม่มีปรากฏอยู่ใน โลกียะธรรม ดังนั้น ปุถุชนผู้ยังแสวงหาโลกุตตระธรรมในสิ่งอันปรากฏอยู่ด้วยโลก ย่อมไม่มีวันประสบสัจจะของธรรมนั้น เมื่อโลกธรรมบังเกิด พระนิพพานย่อมถูกบดบัง และเมื่อโลกธรรมดับไป หรือล่วงไป พระนิพพานธรรมย่อมปรากฏ

          โลกธรรมทั้งหลาย ย่อมได้ชื่อว่า มีกริยา เป็นกริยา ส่วนพระนิพพานเป็นธรรมไม่มีกริยา

          ผัสสะทั้งหลาย อันเป็นความกระทบ ย่อมเป็นบ่อเกิดแห่งกริยา สัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกย่อมเป็นไปด้วยกริยาแห่งจิต หรือด้วยจิตที่ประกอบกริยาอยู่ เพราะเหตุแห่งอวิชชา จิต จึงหลงอยู่ในกริยาแห่งจิต คำว่า กริยา นี้ มิได้หมายความเฉพาะอาการที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ และอาการว่าหยุด บางอย่าง ก็ยังนับเป็นกริยาจิตอยู่ เช่น ความหวงแหน ความหน่วงบังคับไว้ ฯลฯ เป็นต้น เหล่านี้เป็นสังขาร เมื่อมีสังขาร ก็ย่อมยังมีกริยาอยู่ เป็นธรรมดา ถึงแม้บางเวลาจะมิได้ขยับก็ตาม

          ผู้ใฝ่รู้ในธรรมควรนมสิการความเป็นกริยาทั้งหลายแห่งจิตตนให้ดี ให้แยบคาย ให้ประณีต เพราะเมื่อบุคคลกำหนดรู้กริยาทั้งหลายแห่งจิตได้เป็นอย่างดีแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นได้ว่า กริยาทั้งหลาย เมื่อเกิดย่อมเกิดขึ้นในที่ใด เมื่อตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ในที่ใด และเมื่อดับย่อมดับลงในที่ใด มีสิ่งใดเป็นปัจจัย เมื่อรู้ชัดเช่นนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นปัญญา อันเป็นเครื่องปรุงจิตให้พ้นไปจากความหลงในกริยาแห่งจิตได้ เพราะรู้ว่า สิ่งใดเป็นกริยา สิ่งใดเป็นอกริยา(ไม่ใช่กริยา) ก็สิ่งทั้งหลายอันปุถุชนรู้อยู่ว่า คือ จิต นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียง กริยา แห่งจิตเท่านั้น ยังไม่ใช่จิต ผู้ใฝ่ธรรมแต่สุดโต่งไปในความตรึก ย่อมตกลงในความเห็นผิดเช่นนี้ได้ เพราะเหตุใด เพราะพระนิพพานเป็นธรรมอันบุคคลคาดเดาเอามิได้ ต้องประสบชัดแก่ตนเท่านั้น จึงจะกำหนดรู้ได้

          พระนิพพานธรรม เป็นธรรมไม่ประกอบความเพ่งเล็ง แต่บุคคลจะบรรลุพระนิพพานได้ ย่อมอาศัยประกอบความเพ่งเล็งเป็นอย่างดีก่อน มิเช่นนั้น ปุถุชน จะไม่พึงบรรลุถึงความเป็นอรหันต์ได้เลย

          พระนิพพาน เป็นธรรมไม่มีผล เพราะพ้นไปจากเหตุ

          พระนิพพาน เป็นธรรมไม่มีกริยา เพราะเป็นธรรมพ้นไปจากสภาพ แต่สภาพที่ปรากฏความหมายว่าหยุดอยู่ ยังไม่ใช่พระนิพพาน เพราะยังสำคัญอยู่ว่า หยุด ย่อมยังเป็นกริยาอยู่ เมื่อจิตพ้นจากกริยา ก็ย่อมพ้นไปจากสภาพทั้งที่สำคัญว่า หยุด และทั้งที่สำัคัญว่า แล่นไป โดยไม่มีความปิดบัง


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #33 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2009, 12:50:37 PM »


          สภาพที่บุคคลอยู่ท่ามกลางปัจจัยอันเป็นทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงในโลก แต่ไม่ทุกข์ นี้คือ ประโยชน์สูงสุดในชีวิตที่บุคคลพึงบรรลุ อุปมาดั่งหยดน้ำแห่งทุกข์ อันกลิ้งอยู่บนใบบัวแห่งจิตใจอันบริสุทธิ์ แต่ไม่ซึมซับเข้าไป ใบบัวนั้นก็ย่อมไม่เปียกน้ำ ฉันใดก็ฉันนั้น จิตใจอันบริสุทธิ์นั้นก็ย่อมไม่ทุกข์ เป็นธรรมดา


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #34 เมื่อ: มิถุนายน 18, 2009, 12:02:27 PM »


          ปุถุชนที่วนเวียนกันอยู่ทั้งหลายในโลก ย่อมประกอบความเบียดเบียนกันอยู่ ไม่มากก็น้อย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ไม่ด้วยหยาบก็ประณีต ไม่มากก็น้อย ด้วยกายบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยกาย และใจบ้าง และไม่ใช่วิสัยทั่วไปที่บุคคลจะเล็งเห็นได้ทั้งหมด ก็เป็นธรรมดาที่ผู้ยังประกอบความเบียดเบียนตนเองอยู่โดยที่แม้แต่ตนเองก็ไม่เล็งเห็นเพราะเหตุว่ายังไม่ถ่องแท้แทงตลอดในจิตใจของตน ก็ย่อมไม่อาจระงับความเบียดเบียนผู้อื่นได้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าบางคนจะสำคัญตนเองอยู่ว่าไม่ได้ประกอบความเบียดเบียนผู้ใดอยู่เลย ก็ตาม ผู้รู้จักตนเองมีน้อยกว่าผู้ปรารถนาดีต่อตนเอง ผู้รู้จักโลกมีน้อยกว่าผู้ปรารถนาดีต่อโลก เมื่ออย่างนี้แล้ว ความสงบสุขในตน และความสงบสุขในโลก จึงมีน้อย ความเดือดร้อนก็มีมาก

          บุคคลใดไม่เบียดเบียนโลก ย่อมไม่ถูกโลกเบียดเบียน

          บุคคลผู้ไม่คาดหวังในโลก ย่อมไม่มีที่ผิดหวังในโลก

          บุคคลผู้ไม่อาลัยในโลก ย่อมพ้นความโศกเศร้าทั้งหลายในโลก

          บุคคลผู้สละแก่โลก ย่อมพ้นไปจากความยั่วยุบีบคั้นทั้งหลายในโลก



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 18, 2009, 02:04:13 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #35 เมื่อ: มิถุนายน 25, 2009, 01:36:03 AM »


          ความที่จิตถือเป็นอารมณ์ในสิ่งที่รับรู้ ย่อมเป็นความหลงไปในสิ่งนั้น ว่าเป็นที่ตั้ง ว่าเป็นอารมณ์ ว่าเป็นสิ่งน่ายินดี หรือน่ายินร้าย แม้กระทั่งเวทนาอันไม่ปรากฏชัดไปในทางใดทางหนึ่งว่าน่ายิน หรือน่ายินร้าย ที่มักเรียกว่า เป็นกลางๆ หรือเ็ป็นอุเบกขา แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ เช่นว่า เมื่อเห็นคนหน้าตาดี ก็รู้สึกว่าน่ามอง เมื่อเห็นคนหน้าตาน่ารังเกียจ ก็รู้สึกว่าไม่น่ามอง หรือแม้กระทั่งว่า เมื่อเห็นคนหน้าตาธรรมดา ปานกลาง ไม่ใช่หน้าตาดี และไม่ใช่หน้าตาน่ารังเกียจ ก็รู้สึกเฉยๆ ไม่รู้สึกว่าน่ามอง และไม่รู้สึกว่าไม่น่ามอง ก็ตาม ก็ยังเป็นไปตามเวทนาทั้งสิ้น ก็เรียกว่า ยังถือเป็นอารมณ์ในสิ่งที่รับรู้อยู่นั่นเอง เรียกว่า ยังไม่พ้นมายา

          อย่างไรก็ดี อุเบกขามีหลายระดับ แต่อุเบกขาอย่างที่ไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จิตรับรู้อยู่นั้น ประเสริฐที่สุด


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #36 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2009, 10:58:22 PM »


          ธรรมทั้งหลาย หรือสิ่งที่เป็นสภาพทั้งหลายในโลก ทั้งที่ปรากฏเป็นวัตถุก็ดี ไม่ปรากฏเป็นวัตถุก็ดี สัมผัสได้ด้วยกายก็ดี หรือที่ไม่สามารถสามารถสัมผัสได้ด้วยกายก็ดี เป็นสิ่งภายนอกกายก็ดี เป็นสิ่งภายในกายก็ดี แม้แต่ความคิด ความระลึกรู้ทั้งหลายในโลกเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ เรา อย่างแท้จริงเลย แต่ เป็นของโลก เป็นของธรรมชาติ ที่ไม่มีบุคคลใดจะเป็นเจ้าของได้อย่างแท้จริงเลย

          สิ่งที่เป็นเราอย่างแท้จริงนั้น ก็คือ จิต อันเป็นสิ่งที่เข้าไปอาศัยรู้ในสภาพต่างๆ ที่เป็นของธรรมชาติ เท่านั้น ดังนั้น สภาพ หรือ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ที่เราสัมผัส รับรู้ หรืออาศัยเป็นอารมณ์ ทั้งหลายเหล่านั้น ยังไม่ใช่ จิต และ ไม่ใช่ เรา

          คนบางพวก เมื่อครุ่นคิดศึกษา ก็เข้าใจว่า ความคิด ก็คือ จิต หรือบางทีก็ว่า จิต คือ ผู้คิด แต่แท้ที่จริงแล้ว แม้แต่ความคิด ก็เป็นเพียงเครื่องอาศัยแห่งจิต เพื่อระลึก เพื่อประมวล เพื่อพิจารณา เพื่อรู้ ฯลฯ ในสิ่งต่างๆ หรือในสภาพต่างๆ หรือในหลักการของสิ่งต่างๆ เมื่อรู้ในสิ่งเหล่านั้นแล้ว ก็ย่อมอาศัยสิ่งที่รู้นั้น เป็นธรรมารมณ์ หรือเป็นอารมณ์ในใจนั่นเอง ดังนั้น ความคิด ก็นับเป็นเพียงสังขารชนิดหนึ่งที่ จิต อาศัยนั่นเอง เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว ก็มิใช่ว่า ปุถุชนทั้งหลายควรละความคิดทั้งหมด เพราะเหตุใด? ก็เพราะเหตุว่า จริงอยู่ ว่า ความคิดบางอย่าง เป็นเหตุให้จิตน้อมไปในสิ่งที่เสื่อมลง แต่ ความคิดบางอย่าง หรือบางจำพวก ก็เป็นเหตุให้จิตน้ิอมไปในความเจริญยิ่งๆขึ้นไป ดังนั้น ความคิดชนิดหลังนี้ ควรอาศัยไว้ก่อน จนกว่าตนจะคิดได้ในสิ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่า หรือจนกว่าความคิดเดิมนั้น จะเป็นเครื่องเสื่อม เครื่องถ่วง หรือเครื่องกั้นความเจริญอันยิ่งๆขึ้นไปแห่งตน สรุปแล้ว ไม่ว่าความคิดที่ถูก หรือที่ผิด ก็ดี บุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอย่างสุดโต่งจนเกินไป นั่นเอง


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #37 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 10:44:17 PM »


          ทุกข์ คือ สภาพบีบคั้น หรือสภาพตั้งอยู่ไม่ได้
          สมุทัย คือ ความหยั่งลงสู่
          นิโรธ คือ ความดับ ความถอดถอน หรือความสลัดคืน
          มรรค คือ การเจริญ หรือการดำเนินไป เพื่อความมั่นคง หรือ บริบูรณ์


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #38 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2009, 11:18:36 PM »


          เวทนา คือ แรง กำลัง หรือ อำนาจ อันยั่วยุ ผลักดัน บังคับ หรือหน่วงเหนี่ยว จิต ให้แล่นไปสู่ ให้ติดตาม หรือไม่อาจแยกออกจาก สภาพ หรืออารมณ์ อันปรากฏ

          เวทนา ในสิ่งใด ก็คือ กำลังที่ทำให้จิตผูกติดอยู่กับสิ่งนั้น

          ก็จริงอยู่ว่า เวทนา มีทั้งที่สำคัญว่า สุข และที่สำคัญว่า ทุกข์ หรือที่ไม่สำคัญไปในทางใดทางหนึ่งว่า สุข หรือ ทุกข์ จึงอาจเป็นเหตุให้บุคคลทั่วไปเข้าใจได้ยาก ว่า ทุกขเวทนา ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะเป็นกำลังที่จะทำให้จิตติดอยู่กับสิ่งนั้น ได้อย่างไร? เรากล่าวว่า ผู้ไม่ติดใจในสิ่งใด ย่อมไม่ทุกข์ใจในสิ่งนั้น หรือ ผู้ไม่ติดใจในสิ่งใด ย่อมไม่มีความสำคัญอย่างแรงกล้า ว่า สิ่งนั้นมิได้เป็นสุข หรือ สิ่งนั้นมิได้เป็นทุกข์ หรือ สิ่งนั้นมิได้เป็นสุข และมิได้เป็นทุกข์ หรือในทางกลับกัน

          เรากล่าวว่า ผู้อยู่เหนือเวทนา ย่อมเป็นผู้สำคัญ หรือไม่สำคัญ ในสิ่งใดๆ ได้ตามความปรารถนาของตน อย่างไรก็ดี ความหลงลืม หรือความเลอะเลือน ไม่ใช่คำตอบ


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #39 เมื่อ: กันยายน 11, 2009, 11:18:40 AM »


          ก็เป็นธรรมดาทั่วๆไป ที่เราจะใส่ใจต่อความสุข และความทุกข์ของตน แต่หากเราอบรมพัฒนาจิตใจของตนเอง จนกระทั่งเป็นผู้มีทัศนะวิสัยอันเที่ยงตรง ประณีต และกว้างไกลมากพอแล้ว ก็อาจพิจารณาเล็งเห็นได้ว่า สุข และทุกข์ ทั้งหลาย ของบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ มีมากมายเหลือประมาณ และหากเป็นผู้เห็นได้อย่างแท้จริงแล้ว ย่อมสังเกตได้ว่า เวทนาส่วนใหญ่ ของบุคคลส่วนมากในโลกนี้ ค่อนไปในทุกข์ ถึงมีสุข ก็เพียงเล็กน้อย ถึงแม้ว่าบางบุคคลจะสำคัญอยู่ในบางเวลาว่า สุขมาก ก็ตาม แต่มักไม่เป็นจริงตามนั้น เนื่องด้วยโมหะในจิตมีอยู่ เป็นเหตุให้บางที ถึงทุกข์อยู่ แต่บุคคลก็สำคัญว่าสุข แม้กระทั่งบุคคลที่สำคัญว่าเมตตาอยู่ ก็ประกอบความเบียดเบียนซึ่งกันและกัน ความหวังดี ไม่จำเป็นต้องสำเร็จผลที่ดีเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวังดีที่ยังมีโลภะ โทสะ และโมหะ ครอบคลุมจิตใจอยู่ แม้แต่ผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ ก็ยังประกอบด้วยปฏิภาณ ประสพการณ์ ทัศนะ และความแยบคาย ที่แตกต่างกันอยู่ ยังมิได้บริบูรณ์เพียบพร้อมดุจดั่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า จึงประเสริฐกว่าพระอรหันต์สาวก

          ผู้ยังขาดวิสัยทัศน์ ย่อมมักเล็งเห็นสุข และทุกข์ ของตน ว่าสำคัญยิ่งกว่า ยิ่งใหญ่กว่า สิ่งอื่นใดในโลก แต่สำหรับผู้ที่อบรมตนจนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์มากพอดังได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วนั้น ย่อมอาจพิจารณาเห็นได้ว่า สุข และทุกข์ ของบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ มีมากมายล้นเหลือเกินประมาณ เกินกว่าที่ตนจะพึงมัวหมกมุ่นสำคัญอยู่แต่เฉพาะกับสุข และทุกข์ ส่วนตัวของตนเองได้

          หากสมมุติว่า เรากำลังรับประทานอาหารอย่างหนึ่งอยู่ ที่เราสำคัญว่า อร่อย รสชาติดี น่ารับประทาน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็เห็นอยู่ว่า ผู้อื่นมากมายรอบๆตัวเราทั้งหมด เมื่อได้รับประทานอาหารอย่างเดียวกันนี้ไปแล้ว ปรากฏว่า ปวดท้องทรมานกันทั้งหมด เราจะพึงสำคัญคุณ โทษ และความน่ายินดีในอาหารอย่างเดียวกันนี้ อย่างไร?  เพียงแต่ บุคคลทั่วไป มักไม่เล็งเห็น เพราะมัวแต่ประกอบความเพลิดเพลินกันอยู่ในความประมาท ในรสชาติอันน่ายินดีของอาหารนั้น

          ผู้ใดสำคัญสุข และทุกข์ ของตนเองอยู่ว่า เล็กน้อย ด้วยความเที่ยงตรง ผู้นั้น ย่อมมักไม่ทุกข์ หรือทุกข์น้อย

          ผู้ใดสำคัญสุข และทุกข์ ของตนเองอยู่ว่า ใหญ่ยิ่ง ด้วยทิฐิ และตัณหา ผู้นั้น ย่อมมักทุกข์ใจมาก

          ผู้ใดเล็งเห็นสุข และทุกข์ ได้อย่างเที่ยงตรง และชัดเจน แต่ไม่สำคัญในสุข และทุกข์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ปราศจากทุกข์ อยู่เสมอเป็นปกติ ย่อมเป็นผู้ตั้งตนอยู่เป็นสุข โดยชอบ


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #40 เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 09:09:45 PM »


          ความรักมีหลายประเภท ตามนิยามของคนทั่วไปในโลก

          ความรักที่เป็นไปเพื่อเมตตา ย่อมดี ส่วนความรักที่เป็นไปเพื่อตัณหา และทิฐิ ย่อมไม่ดี เพียงแต่คนโดยมาก ไม่สำคัญอย่างนี้ หรือไม่ก็ไม่ทนทานสิ่งยั่วยุ

          ความรักประเภทที่บุคคลหนึ่ง พึงเป็นสุขได้ เพราะเหตุว่า ผู้อื่น มีความสุข ย่อมประเสริฐกว่าความรักประเภทที่ บุคคลนั้นจะพึงพอใจ หรือเป็นสุขได้ เพราะเหตุว่า ผู้อื่น เป็น หรือ กระทำในสิ่งตนพึงพอใจ และย่อมไม่พึงพอใจ หรือเป็นทุกข์ เมื่อผู้อื่น หรืออีกฝ่ายหนึ่ง เป็น หรือกระทำในสิ่งที่ตนไ้ม่พึงพอใจ

          ด้วยเหตุนี้ จึงมักปรากฏเสมอๆว่า ความรักที่พ่อแม่มีต่อลูก มักประเสริฐ บริสุทธิ์ และมั่นคง กว่าความรักระหว่างหญิงชาย หรือหนุ่มสาว ฯลฯ เป็นต้น

          ความรักที่เป็นสุขได้ ด้วยความอดกลั้น และเสียสละ ย่อมประเสริฐกว่า ความรักที่เป็นสุขได้ ด้วยการเรียกร้องแสวงหาความอดกลั้น และความเสียสละ จากผู้อื่น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 13, 2012, 12:46:50 AM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #41 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 12:40:08 AM »


          บุคคลทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ ด้วยอำนาจแห่งวิบาก เป็นเหตุให้ได้ขันธ์ในโลกนี้ครบทั้ง ๕ ประการ อันเป็นเครื่องให้จิตตั้งอาศัยอยู่ในโลกนี้ เมื่อมีขันธ์ครบทั้ง ๕ ประการตั้งอยู่ในโลกนี้แล้ว ก็ได้ชื่อว่า มีชีวิตตั้งอยู่แล้วในโลกนี้ หรือในภพนี้ ดังนี้แล้ว ก็ย่อมอาศัยความมีชีวิต หรือขันธ์ ๕ ประการที่จิตตนครองอยู่นี้ เป็นเครื่องรับรู้โลกที่ปรากฏอยู่แก่ตน ด้วยอาศัยอายตนะอันจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้เป็นอายตนะภายใน ๖ ประการ และอายตนะภายนอก ๖ ประการ อายตนะภายนอกนั้น เป็นปัจจัยภายนอก อันเป็นอาหารแก่อายตนะภายในอันจิตครองอยู่ หรืออาศัยอยู่ เช่นว่า เสียง อันเป็นอายตนะภายนอก มากระทบ เป็นปัจจัย เป็นอาหาร แก่หู โสตะอายตนะ ก็เกิด พร้อมผัสสะ วิญญาณ อันเป็นสภาพที่จิตไปรู้เสียงที่เกิดจากการกระทบนั้น ก็เกิดในผัสสะนั้น ในอายตนะนั้น ฯลฯ เป็นต้น

          นัยยะที่จะกล่าวแสดงในที่นี้ก็คือว่า เนื่องด้วยวิญญาณ(อันเป็นเครื่องรับรู้ในโลก หรือสภาพสิ่งต่างๆในโลก) อาศัยผัสสะเกิด ส่วนผัสสะ เป็นสภาพที่มีได้ด้วยอาศัยการกระทบ หรือการประกอบเข้าด้วยกันของอายตนะ(ภายใน และ ภายนอก) ส่วนอายตนะ เป็นสภาพที่มีได้ด้วยขันธ์ ส่วนขันธ์ เป็นสภาพที่ได้มาด้วยวิบาก (ที่จริงแล้ว วิบาก มีได้ด้วยอาศัย ธาตุ เป็นเครื่องรองรับ หรือเป็นที่ตั้ง แต่จะไม่อธิบายในที่นี้ เพราะจะยาก และแตกประเด็นมากจนเกินเจตนาในที่นี้) ซึ่งบุคคลทั้งหลายที่วนเวียนอยู่นี้ ย่อมประกอบวิบากมาต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง เ็ป็นธรรมดา ดังนั้น ถึงแม้ว่า มนุษย์โดยทั่วไปในโลกนี้ จะมีขันธ์ครบทั้ง ๕ ประการเหมือนกันโดยรวม แต่ลักษณะ หรือองค์ประกอบย่อย แตกต่างกันไปตามวิบากที่ตนประกอบมา อายตนะภายในทั้ง ๖ ประการของแต่ละบุคคล ก็ย่อมแตกต่างกัน และเมื่อแต่ละบุคคลมีอายตนะของตนที่แตกต่างกัน ทัศนะ หรือความรับรู้ที่บุคคลทั้งหลายมีต่อโลก หรือรับรู้่ได้จากโลก ก็ย่อมแตกต่างกัน แต่ที่มุ่งเน้นในที่นี้ ก็คือ มโนอายตนะ ก็คือ มโนทวาร หรือ ใจ หรือที่บางทีก็เรียกรวมเอาว่า จิตใจ นั่นเอง (ที่ใช้คำว่า "เรียกรวมเอา" ก็เพราะเหตุว่า ที่แท้จริงแล้ว จิต หรือ จิตตะ ยังไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับ ใจ หรือ มโนทวาร หรือ มโนอายตนะ แต่ที่มักเรียกรวมกันก็เนื่องด้วยปุถุชนโดยทั่วไป ย่อมมี จิต ที่ตั้ง รวม อาศัย หรือประกอบอยู่ใน หรืออยู่กับสิ่งที่จิตรู้ได้ด้วยใจ ส่วนสิ่งที่จิตรู้ได้ด้วยใจ ก็คือ ธรรมารมณ์ นั่นเอง) สาเหตุที่มุ่งเน้น ใจ หรือ มโนอายตนะ ก็เพราะเหตุว่า ปุถุชนโดยทั่วไป เมื่อใจเป็นอย่างไร กระทบธรรมารมณ์อย่างไร หรือรู้ธรรมารมณ์อย่างไร จิต ก็จะเป็นอย่างนั้น หรือคล้อยตามไปอย่างนั้น หรือกล่าวสั้นๆว่า ใจเป็นอย่างไร จิตก็เป็นอย่างนั้น เมื่ออย่างนี้แล้ว มโน หรือ ใจ นี้เอง จึงเป็นเครื่องสำคัญยิ่ง ในการที่จิตจะปรุงแต่งกรรมทั้งหลาย ทั้งที่ดี และชั่ว อันเป็นเหตุของวิบากทั้งหลาย ทั้งที่เป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก และที่เป็นอัพยากฤต (คือ เป็นกลางๆ ไม่ค่อนไปทางกุศล หรืออกุศล) และการที่ปุถุชนทั้งหลายในโลกจะรับรู้ สัมผัส รู้สึก สำคัญสิ่งต่างในโลก ก็ด้วย ใจ นี้เอง เป็นหลัก เป็นสำคัญ เป็นประธาน จะสุข หรือจะทุกข์ ก็ด้วยใจนี้เอง เป็นประธาน ดังนี้แล้ว ภายใต้สภาพแห่งภพเดียวกัน โลกเดียวกัน หรือสถานะการณ์ความเป็นไปในโลกแบบเดียวกัน แต่ละบุคคลจะรับรู้ได้แตกต่างกันได้อย่างยิ่งยวด ด้วย ใจ ดังนั้น บุคคลที่เกิดมา เติบโตมา ภายใต้สภาพแวดล้อมอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน จึงอาจมีนิสัย หรือพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้มาก เพราะทัศนะวิสัยที่รับรู้ได้ด้วย ใจ นั้น ต่างกัน หรือ บางบุคคลที่เกิดมา เติบโตมา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างกันมาก ก็อาจมีนิสัย หรือพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันได้ เช่นกัน ฯลฯ ส่วนพระอรหันต์นั้น ท่านเห็นสิ่งต่างๆในโลกที่เป็นสภาพแตกต่างกัน(ตามวิบาก ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ของแต่ละท่าน) แต่ด้วยทัศนะคติอย่างเดียวกันอันไม่ขึ้นอยู่กับผัสสะ และธรรมารมณ์ที่เป็นไปตามวิบาก ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ก็จึงบรรลุถึุงสัจจะธรรมอย่างเดียวกัน ก็คือ วิราคะ นั่นเอง แต่อย่างไรก็ดี การที่ปุถุึชนจะพัฒนาตนไปสู่ความเป็นอริยะ จนกระทั่งหลุดพ้นไปได้นั้น ก็อาศัยเหตุปัจจัยเป็นลำดับ ด้วยการอบรมขัดเกลาจิตใจของตน ให้เข้าถึงธรรมารมณ์อันประเสริฐ ประณีต และถูกต้อง เป็นไปเพื่อความวิราคะ ยิ่งๆขึ้นไปเป็นลำดับ จนกระทั้่งถอดถอนได้แม้กระทั่งธรรมารมณ์อันประณีตที่สุดในโลกได้จากจิตตน แต่เมื่อเริ่มต้น ก็ต้องเริ่มจากอัตตภาพ หรือสิ่งที่ตนเป็นอยู่ ก็คือ ธรรมารมณ์ที่ตนเองเข้าถึงได้แล้วด้วยจิตใจของตนก่อน แล้วจึงพิจารณาอบรมพัฒนาให้ยิ่งๆขึ้นไปเป็นลำดับ

          ที่กล่าวแสดงมาทั้งหลายนี้ ก็เพื่อเตือนใจผู้มีศรัทธามุ่งมั่นในการศึกษา และปฏิบัติธรรม อันชอบ อันเป็นสัมมา ว่า ความรู้ ความเห็นทั้งหลายในโลก ที่ตนรู้มา เห็นมา ประสพมา ด้วยตาก็ดี ด้วยหูก็ดี ด้วยจมูกก็ดี ด้วยลิ้นก็ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยใจ ก็ดี เหล่านี้ ไม่ใช่แก่นอันบริสุทธิ์ แม้กระทั่งโวหาร หรือคำสอน ที่มาจากครูบาอาจารย์ หรือจากพระไตรปิฏกอันเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์แล้ว ก็ดี ก็มิได้หมายความว่า ความรู้ หรือความเข้าใจของตน ที่ได้รู้ ได้ตีความ ได้เข้าใจนี้ จะต้องถูกต้องเสมอไป ความคิด ความวิจารณ์ หรือความรู้สึก ที่ตนมีต่อโลก หรือเหตุการณ์ที่ตนประสบพบเห็นมาแล้วก็ดี อาจจะผิดพลาดไปทั้งหมดเสียก็ได้ ใจที่ยังหยาบกระด้าง(อย่าหลงผิดไปวัดความหยาบกระด้างของใจตนด้วยประสบการณ์ หรือบรรทัดฐานของมนุษย์ทั่วไปในโลก) ย่อมไม่อาจมองเห็นธรรมอันประณีต จิต ที่ยังอาศัยใจ อาศัยโลก เป็นที่ตั้ง ย่อมยังไม่อาจเห็นธรรมอันบริสุทธิ์ อันพ้นไปจากโลก แม้แต่พระอนาคามี โดยทั่วไป ก็ยังมิได้ถ่องแท้ในโลกธรรมเท่ากับพระอรหันต์ อย่างนั้นแล้ว จะนับอะไรกับปุถุชน ธรรมที่ผู้ยังต้องพัฒนาเห็นว่าอาศัยแล้วประเสริฐกว่าธรรมอื่นที่ตนเคยรู้มา ก็ควรอาศัยไปก่อน แต่ไม่ควรเห็นว่า ธรรมนั้น จะนับเป็นที่สุดเสมอไป หรือจะต้องถูกต้องเสมอไป อย่าปล่อยให้ธรรมอันตนเห็นเป็นเครื่องนำไปสู่อมตะ กลายเป็นเครื่องประหารตนให้ย่อยยับพินาศลงไป ด้วยความประมาทในตน หรือในธรรม หรือในโลก

          ปัญหาที่แก้ได้ยากที่สุด ก็คือ ปัญหาที่ตนไม่รู้ว่ามีอยู่ ทิฐิในโลก ที่แก้ไขได้ยากที่สุด ก็คือ สิ่งในโลก ที่ตนเห็นว่า จริง แล้วประมาท สุดโต่งไปตามนั้น

          ธรรมบางประการ ที่นักบวชสมัยก่อนพุทธกาล บรรลุถึง หรือเห็นว่าจริง ก็มีจริง แต่จริงไปตามโลก หรือแม้นักบวชบางพวก เมื่อในสมัยพระพุทธกาล หรือหลังพระพุทธกาล ก็เฉกเช่นเดียวกัน ส่วนธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านบรรลุถึงนั้น เป็นความจริงที่เหนือโลก ไม่เป็นไปตามโลกธรรม พ้นไปจากวิสัยของโลก ปุถุชนรับรู้โลกนี้ได้อย่างไรก็ตามด้วยจิตใจ พระอรหันต์ท่านไม่ได้รับรู้โลกตามนั้นเลย ด้วยความเป็นจริงว่า ในโลกนี้ โดยสภาพอย่างเดียวกัน หรือโดยสิ่งๆเดียวกัน แต่ละบุคคล ย่อมรับรู้ต่างกัน เป็นธรรมดา ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่ตั้งอยู่ในโลกเดียวกัน มุ่งแสวงหาสิ่งที่ตนยินดีเช่นเดียวกัน แต่มักมีผล หรือ มีที่ไปแตกต่างกัน

          สุดท้ายนี้ ขอเตือนว่า บุคคลทั้งหลายในโลก ย่อมเห็นโลกจริง แต่ผู้ที่เห็นโลกอย่างที่เป็นจริง หรือเห็นความจริงแท้ของโลก นั้น หายากแท้ในโลกนี้ ถึงแม้จะกล่าววาจาอยู่ คิดอยู่ ประมวลอยู่ ด้วยถ้อยคำโวหารว่า ขันธ์ทั้ง ๕ ประการนี้ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ตาม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2010, 12:43:51 AM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #42 เมื่อ: มีนาคม 15, 2010, 10:22:08 PM »


          สำหรับผู้มุ่งธรรมอันบริสุทธิ์โดยชอบแล้ว ความละอาย เกรงกลัว แม้ต่อบาปอันเล็กน้อย นี้ เป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่ง

         คนบางพวก สุดโต่งเกินไป บ้างสำคัญในบาปอันใหญ่ แต่ละเลยต่อบาปอันเล็กน้อย เพราะประมาท หรือมักง่าย บ้างก็สำคัญในบาปอันเล็กน้อย หยุมหยิม แต่กลับประมาทต่อบาปอันใหญ่ เพราะเหตุว่า จำแต่ศีลที่ผู้อื่นบอกมา ไม่ทนทานต่อเวทนาอันยั่วยุไปสู่โลภะ โทสะ และโมหะ ดังนั้น เรื่องเล็กน้อยยังพอเว้นได้ แต่ในเรื่องใหญ่ กลับมักเว้นเสียไม่ได้ เพราะอดกลั้นต่อเวทนาในเรื่องนั้นไว้มิได้ ก็จึงทะยานไปด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง หรือทั้งสามประการบ้าง ฯลฯ

          สำหรับผู้ฉลาด ก็แม้แต่บาปอันเล็กน้อย ก็ยังมีความละอาย เกรงกลัวอยู่ จะกล่าวไปใยกับบาปอันยิ่งไปกว่านั้นเล่า


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #43 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 01:14:17 PM »


          บุคคลเมื่อก่อกรรมแล้ว ย่อมมีวิบากส่งผลแก่ตน ทั้งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี ยกเว้นแต่เฉพาะอโหสิกรรม

          การที่บุคคลได้รับผลจากวิบากของตนอยู่ หรือได้รับผลไปแล้วนั้น ไม่นับว่าเป็นการสร้างบุญ หรือการสร้างบาป แต่หากรับผลนั้นไว้ด้วยจิตใจที่เพ่งเล็ง ระลึกไป น้อมไป ในกุศลธรรม ย่อมเป็นการสร้างกุศล หรือในทางกลับกัน หากรับผลนั้นไว้ด้วยจิตใจที่เพ่งเล็ง ระลึกไป น้อมไป ในอกุศลกรรม ย่อมเป็นการสร้างอกุศล แก่ตน

          การที่ผลของวิบากต่างๆนั้น จะเป็นผลให้บุคคลยินดี หรือยินร้ายได้ แท้ที่จริงนั้น ด้วยเวทนา ดังนั้น บุคคลที่ทนทาน ย้อนทวน ถอดถอน ดับ สลัดคืน หรือก้าวล่วงความบีบคั้นของเวทนานั้นไปได้ ย่อมไม่ปรากฏความยินดี หรือยินร้าย ในผลของวิบากนั้น อันเกิดแก่ตน เป็นแต่เพียงรับผลของวิบากนั้นไว้ ด้วยกาย


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #44 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2010, 03:38:08 PM »


          สุญญตะวิโมกข์ ย่อมพ้น เวทนา

          อนิมิตตะวิโมกข์ ย่อมพ้น ทิฐิ

          อัปปณิหิตะวิโมกข์ ย่อมพ้น โมหะ


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: 1 2 [3] 4 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.301 วินาที กับ 18 คำสั่ง