ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  สาระธรรมทั่วไป
| | |-+  สัพเพเหระธรรม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] 2 3 4 ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สัพเพเหระธรรม  (อ่าน 27465 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2008, 03:00:58 PM »

ศีล  สมาธิ  ปัญญา


ศีล ได้ชื่อว่า เป็นการรักษาไว้
ศีล ตั้งขึ้นได้ ด้วยเจตจำนง
ความไม่หมิ่น ในสิ่งที่ทะยานได้ เรียกว่า ศีล

ผู้ใดรักษาศีล ได้บริสุทธิ์ สมาธิ ย่อมบังเกิดแก่เขาผู้นั้น


สมาธิ ในการใด คือ ความตั้งจิต ตั้งใจมั่น ในการงานนั้น ๆ
สมาธิ อันบุคคลรักษาไว้ดีแล้ว ย่อมเป็นเหตุป้องกันข้าศึก หรือธรรมอันเป็นอริ เช่น ความฟุ้งซ่าน สัดส่าย ฯลฯ เป็นต้น
สมาธิ ที่ตั้งไว้ดีแล้ว มั่นคงแล้ว ไม่ต้องคอยกำหนดเจตนาประคับประคอง ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในกาลนั้น ได้ชื่อว่า ฌาน และสภาวะอันประณีต ที่ผู้ทรงฌานพึงเข้าถึง เรียกว่า สมาบัติ และบุคคลผู้ตั้งอยู่ในสภาวะอันประณีตได้อย่างมั่นคงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อน้อมใจไปเพื่อความรู้เห็นในสิ่งอันประณีต เห็นได้ยาก ญาณ ย่อมปรากฏแก่เขา ในกาลนั้น

ผู้ใดรักษาสมาธิได้บริสุทธิ์มั่นคงแล้ว ปัญญา  ย่อมบังเกิดแก่เขาผู้นั้น


ปัญญา โดยนัยยะหนึ่ง มีลักษณะคือ การตัด การปล่อยวาง หรือการไม่ยึดมั่นถือมั่น
ปัญญา โดยทั่วไป คือความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งต่างๆ หรือในธรรมต่างๆ
ปัญญา มีหลายลักษณะ บางทีก็จำแนกเป็นระดับต่างๆ เช่น ปัญญา ดี  ปัญญา ทราม  หรือไม่มีปัญญา  หรือ เช่น โลกียะปัญญา  โลกุตตระปัญญา  ฯลฯ เป็นต้น
ปัญญา อันเกิดจากการรู้ เห็น เข้าใจ ในสิ่งที่รู้ เห็น เข้าใจได้ยาก กล่าวคือ ความรู้ เห็น เข้าใจ ในสิ่งอันละเอียด สุขุม ประณีต อันเป็นสิ่งยากที่บุคคลทั่วไปจะพึงรู้เห็น หรือเข้าใจได้ นี้ เรียกว่า ปัญญาญาณ
หรือ ปัญญา ในความรู้อันยิ่ง หรือ ปัญญา อันยิ่งใหญ่บางประการ บางทีก็เรียกว่า อภิญาญาณ
หมายถึง อภิ - ปัญญา - ญาณะ

ผู้บรรลุปัญญา อันบริสุทธิ์ ย่อมเป็นผู้ตั้งอยู่ในศีล และสมาธิ อยู่ เป็นปกติ เป็นธรรมดา


เหล่านี้ เป็นธรรมอันควรกำหนดรู้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2008, 11:02:31 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 03:19:22 PM »

ไม่ว่าจะเคยเห็นอยู่ ว่าเป็นจริง ชัดเจน แน่นอน สักเพียงใดก็ตาม
ความฝัน ก็คือ ความฝัน เป็นสิ่งปรวนแปร ไม่อาจไขว่คว้า อาศัย ยึดเหนี่ยว หรือครอบครอง ได้มั่นคงอย่างแท้จริงเลย
เมื่อไม่เป็นไปดังคาดหวัง สรรพสัตว์โดยมาก จักทะยาน จักเบียดเบียน จักคร่ำครวญไป ฯลฯ โดยกาลช้านาน

ผู้กำหนดรู้ชัดในความนี้ โดยไม่มีคาดเดา และไม่ทะยาน ย่อมรู้สึกตัว ย่อมได้ชื่อว่า ตื่น จากความฝัน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 15, 2008, 11:03:46 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2008, 11:41:31 PM »

เมื่อฟุ้งซ่านอยู่ ไม่ชื่อว่า เป็นฌาน
ความคิด มีทั้งที่จัดว่าเป็นความฟุ้งซ่าน และที่ไม่จัดว่าเป็นความฟุ้งซ่าน
เพียงแค่มีความคิดมาก ยังไม่เป็นเหตุให้นับว่าฟุ้งซ่านอยู่
บางกรณี มีความคิดมาก แต่ไม่นับว่าฟุ้งซ่าน
บางกรณี มีความคิดน้อย แต่นับว่าฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่าน จัดว่า เป็นนิวรณ์
ความคิด กับนิวรณ์ ยังไม่นับเป็นสิ่งเดียวกัน และไม่นับที่จำนวนของความคิด
นิวรณ์ เป็นลักษณะอารมณ์ทางใจบางประการ ส่วนความคิด เป็นลักษณะของสังขารประการหนึ่ง
นิวรณ์ เป็นอารมณ์ทางใจ ที่มีลักษณะปรวนแปร เกิดขึ้นได้ แม้เมื่อพยายามเพ่งเล็งอยู่ในสิ่งที่ไม่ปรากฏลักษณะว่าปรวนแปร
ฌาน เป็นอารมณ์ทางใจ ที่มีลักษณะไม่ปรวนแปร เกิดขึ้นได้ แม้เมื่อเพ่งเล็งอยู่ในสิ่งที่ปรากฏชัดว่ามีลักษณะปรวนแปร เช่น สังขาร ทั้งที่หยาบ หรือประณีต

สีขาว ย่อมขับเน้น ให้เห็นสีดำชัด เพียงไร ฌาน ย่อมขับเน้น ให้เห็นนิวรณ์ชัีด เพียงนั้น



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2008, 11:47:07 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2008, 12:33:08 AM »

ตรรกะ มีเพื่อประมวลสิ่งที่ยังไม่รู้ โดยอาศัยสิ่งที่รู้แล้ว ปรากฏแล้ว
ตรรกะ มีรากฐานประมวลมาจากประสพการณ์ หรือจากการเรียนรู้
ตรรกะ ในสิ่งที่ปรากฏแก่ตนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการประมวล เข้าใจ
ตรรกะ ในสิ่งที่ยังไม่ปรากฏชัดแก่ตน ย่อมเป็นไปเพื่อการคาดเดา

ธรรมบางประการ รู้เพียงบางส่วน ก็นับว่า รู้ได้
ธรรมบางประการ รู้่ด้วยการประมวล คาดเดา ก็นับว่า รู้ได้
ธรรมบางประการ ต้องรู้ชัด ไม่มีคาดเดา เพราะปรากฏแก่ตนแล้ว จึงนับว่า รู้ได้
ธรรมประเภทหลังนี้ หากประมวล โดยมิได้ปรากฏแก่ตนแล้วโดยทั่วถึง ย่อมเปรียบเสมือนตาบอดคลำช้าง เฉกเช่นบุคคลที่รู้จักคนเพียงคนเดียว แล้วสรุปว่า เข้าใจคนทั้งโลกโดยครอบคลุม และทั่วถึงแล้ว นั่นเอง

หากธรรมอันเป็นเครื่องบริสุึทธิ์ หลุดพ้นไปจากความเวียนว่าย ตาย เกิด ในโลกทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งรู้ได้เองไม่ต้องกำหนด หรือเป็นสิ่งกำหนดรู้ได้โดยง่าย โดยสะดวก โดยรวดเร็ว แก่บุคคลโดยทั่วไป สัตว์ทั้งหลายผู้เดือดร้อนอยู่ในโลกเป็นเวลาช้านาน ย่อมไม่มี แต่ที่จริงแล้ว สัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ ส่วนใหญ่ จักวนเวียนกันอยู่อีกช้านาน เพราะเมื่อมีธุลีในจักษุมาก ญาณทัศนะอันเลิศ ย่อมไม่ปรากฏแก่หมู่สัตว์นั้น ก็บุคคลบางจำพวก โลเล พยายามค้นหาหนทาง อันคาดหวังว่าจะเป็นทางลัด ทางสะดวก เพราะความเกียจคร้าน ไม่อดทน ก็ความเกียจคร้านนี้ เป็นหยากเยื่อแห่งอาสวะ ทิฏฐิ อันเป็นเหตุพอกพูนธุลีในจักษุ ก็เป็นธรรมดาว่า ธรรมอันเลิศ บริสุทธิ์ ย่อมไม่ปรากฏแก่จักษุแห่งชนเหล่านี้ เพราะเหตุว่า ธรรมอันเลิศ ย่อมปรากฏแก่จักษุอันเลิศ ธรรมอันบริสุทธิ์ ย่อมปรากฏแก่จักษุอันบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากธุลีอันแปดเปื้อน

ดังนี้แล้ว เมื่อปรารถนาจะรู้ธรรมอันเลิศ บริสุทธิ์ ผู้ฉลาดย่อมกำหนด เฟ้น ร้กษา ขวนขวาย ไปในธรรมอันจักเป็นเหตุให้ญาณทัศนะอันเลิศ เป็นไปแก่เขา มิใช่คาดหวังว่า จะมีหนทางเห็นแสงสว่างได้ ด้วยนัยตาอันพร่ามัว ผู้ฉลาด ย่อมกำหนดรู้ว่า สิ่งนี้ มิใช่ฐานะอันพึงมีได้ ด้วยเหตุนี้ สติปัฏฐาน จึงมี



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2008, 01:05:08 AM »

ปัญญาในสิ่งใด คือ ความรอบรู้ เข้าใจ ไม่ติดขัด ในสิ่งนั้น
บุคคลบางจำพวก เพราะมีศรัทธา จึงเข้าใจว่าตนรู้ในธรรมบางประการ สำคัญไปว่าธรรมนั้นถือว่าพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงอย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น
ก็จริงอยู่ว่า เราอาจกล่าวว่า ศรัทธา อาจเป็นปัจจัยให้บุคคลสามารถรู้ได้ เห็นได้ ในสิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นมาก่อน แต่ก็กล่าวอีกว่า ศรัทธาอาจเป็นปัจจัยให้บุคคลรู้ไปผิดๆก็ได้ รู้ไปอย่างถูกต้องก็ได้ หรือรู้ไปอย่างถูกบ้างผิดบ้าง ก็ได้

บางหมู่ชน เห็นว่า ความรู้ คือ ปัญญา
ก็ความรู้ มีที่ผิดได้ มีที่ถูกได้ มีที่ผิดบางส่วน และถูกบางส่วนได้ เช่นกัน
คนบางพวก จำแนกไม่ถูกแม้กระทั่งความแตกต่างระหว่าง ทิฏฐิ และ ปัญญา
ปัญญาอันเป็นไปเพื่อพ้นไปจากปัญหาใด เมื่อบุคคลกำหนดรู้ในปัญญานั้นได้อย่างถูกต้องแล้ว ย่อมไม่ควรติดขัดในปัญหานั้นซ้ำอีก แต่บุคคลบางพวก แม้มีทิฏฐิว่า เรารู้ในปัญญาข้อนั้นแล้ว แต่ในภายหลัง ก็ยังลังเล ยังติดขัดอยู่ในปัญหาเดิมได้อีก เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็พยายามนึกหาเหตุผลไถลไป ไม่หยุด บุคคลเช่นนี้ ย่อมสุดโต่ง ไม่บรรลุแท้ในสิ่งอันเข้าใจว่าบรรลุแล้ว



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2008, 01:52:06 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 12:35:08 PM »

          วิชชา คือความรู้ ย่อมทำลาย อวิชชา คือสภาพปิดบัง ซ่อนเร้น

          วิชชา ในสิ่งใด เมื่อปรากฏแก่บุคคลใด บุคคลนั้นย่อมถึงซึ่ง วิมุตติ ในสิ่งนั้น หรือจากสิ่งนั้น

          วิชชา มิใช่สิ่งเกิดขึ้นเอง แต่เป็นสิ่งที่อาศัยการกำหนดพิจารณาโดยแยบคาย เช่นเปรียบเทียบว่า นักวิชาการที่ฉลาด เมื่อได้สังเกตเห็นว่า ผลไม้ เมื่อหลุดจากขั้ว ย่อมตกลงบนพื้นเบื้องต่ำอยู่เสมอ ก็กำหนดพิจารณาโดยแยบคายได้ว่า พึงมีแรงกระทำ ที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เกิดปัญญา ความเข้าใจ และบัญญัติชื่อของแรงกระทำนั้นขึ้นมาว่า แรงโน้มถ่วง เมื่อเกิดปัญญา ความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของสิ่งใด ย่อมกล่าวว่า เ็ป็นวิชชา ตัดอวิชชา ในสิ่งนั้น ในขณะที่คนทั่วไป ก็เห็นตรงกันอยู่ว่า ผลไม้ เมื่อหลุดจากขั้ว ย่อมตกลงบนพื้นเบื้องต่ำ เป็นธรรมดา แต่ คนส่วนใหญ่มิได้พิจารณาสัจจะอันเป็นเหตุแห่งปรากฏการณ์เหล่านี้ ดังนั้น ผู้รู้เห็นมีมาก แต่ผู้เข้าใจทั่วถึง หรือรู้แจ้งหลักการแห่งสัจจะ มีน้อย ก็เพราะเหตุว่า มิได้กำหนดใคร่ครวญโดยแยบคาย โดยทั่วถึง มากพอ
ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่า วิชชา มิใช่สิ่งเกิดขึ้นเอง แต่อาศัยการกำหนดพิจารณา โดยแยบคาย

          วิชชา ย่อมปรากฏเช่นแสงสว่าง ขับไล่ความมืดมิด ความคลุมเครือ หรือเมฆหมอก อันเป็นสภาพปรกคลุมปิดบัง ออกไปจากจิต ดังนี้แล้ว สภาพอันแท้จริงของโลก ของจักรวาล ย่อมปรากฏแก่จิต อวิชชา อันเป็นความหลง ความลืมเลือน ความทะยาน ความไม่เคารพในธรรม ย่อมถูกถอดถอน ด้วยแสงสว่าง วิทยา ความรู้แจ้งแทงตลอด ปราศจากสิ่งซ่อนเร้น ปิดบัง อำพราง เมื่อรู้อยู่ด้วยอาการเช่นนี้แล้ว จิตย่อมตื่นขึ้นจากมายา ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของความคาดหวัง และการคาดเดา ความทะยานก็ย่อมดับ ความเคารพในธรรมก็ย่อมเกิด ก็ย่อมพ้นไปจากความหลงลืมอันเป็นเหตุแห่งการทำซ้ำ เมื่อพ้นไปจากการทำซ้ำเพราะหลงลืม เช่นนี้ก็ได้ชื่อว่า พ้นไปจากวิบาก พ้นไปจากความเกิดแก่เจ็บตาย ย่อมกล่าวว่า บรรลุถึงความเป็น อมตะ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2008, 04:01:39 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2008, 03:52:56 PM »

          พระนิพพาน คือ ความสงบยิ่ง
          พระนิพพาน เป็นธรรมสงัด สันโดษ
          พระนิพพาน เป็นบรมสุข เป็นแดนอันเกษม
          พระนิพพาน เป็นความอิสระยิ่ง
          พระนิพพาน เป็นอมตะธรรม เป็นไปทางเดียว หนเดียว ไม่มีซ้ำ

          พระนิพพาน เป็นธรรมสว่าง เป็นความรู้ยิ่ง ความรู้แจ้ง แทงตลอด พ้นไปจากความปิดบังซ่อนเร้น
          พระนิพพาน เป็นธรรมอันบริสุทธิ์ พ้นไปจากบาป บุญ คุณ โทษ ทั้งหลายในโลก
          พระนิพพาน เป็นธรรมเย็น พ้นไปจากความเร่าร้อนกระวนกระวายทั้งหลายในโลก

          พระนิพพาน เป็นความพ้นไปจากทุกข์ และสุข ทั้งหลายในโลก
          พระนิพพาน เป็นธรรมอันพ้นไปจากความทะยาน พ้นไปจากความหมิ่น
          พระนิพพาน เป็นธรรมพ้นไปจากความสุดโต่งทั้งสองฝ่าย
          พระนิพพาน เป็นธรรมอันพ้นไปจากอายตนะทั้งหลาย ไม่อาศัยอายาตนะใดๆเป็นที่ตั้ง ไม่อาศัยปัจจัยใดปรุงแต่ง พ้นแดนเกิด ไม่มีจุติ ไม่มีปฏิสนธิ ดังนั้น จึงเป็นธรรมอันไม่ปรากฏในตา หู จมูก ลิ้น ประสาทกาย และใจ ไม่ปรากฏในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส(การเสวย) ในกระทบสัมผัส และในธรรมมารมณ์(อารมณ์ที่กระทบใจ) แต่เป็นธรรมพิสูจน์ได้ บรรลุได้ ภายในตน

          พระนิพพาน เป็นประโยชน์สูงสุด ที่บุคคลจักพึงบรรลุได้ในโลก


          ผู้สำคัญตนว่า เป็นผู้แสวงหานิพพาน มีมาก แต่ ผู้แสวงจริงมีน้อย
          ผู้กล่าวว่า พระนิพพานควร พระนิพพานประเสริฐ มีมาก แต่ ผู้รู้แท้ว่าควรอย่างไร ประเสริฐอย่างไร มีน้อย
          พระนิพพานธรรม เป็นธรรมอยู่เหนือกระแส นอกกระแส อาศัยความหยุด ความย้อนทวน และความถอดถอนออกจากกระแสโลก ดังนี้ พระนิพพานธรรม จึงเป็นธรรมสงบจากโลก วิเวกสันโดษจากโลก ไม่เป็นไปตามกระแสโลก ดังนั้น เมื่อผู้คนมากมายพยายามมุ่งแสวงพระนิพพาน แต่กลับขวนขวายไปตามกระแสโลก แม้แต่ทิฏฐิว่า พระนิพพาน ผู้คนเหล่านั้น ก็ยังเข้าใจ ตีความกัน ไปตามกระแสโลก อันเชื่อต่อๆกันมา เป็นเหตุให้ธรรมอันควรสันโดษ ก็ไม่สันโดษ ธรรมอันควรสงบ ก็กลับวุ่นวาย สับสน ฟุ้งซ่าน ธรรมอันควรทวนกระแส ก็กลับเป็นไปตามกระแส ธรรมอันควรละออกจากอุปธิ ก็กลับพอกพูนอุปธิ ฯลฯ เช่นนี้แล้ว เราย่อมกล่าวตำหนิว่า พระนิพพานอย่างนี้ ไม่ดีเลย ตรงกันข้าม ธรรมอันไม่กล่าวอ้างคำว่า พระนิพพาน แต่เมื่อเจริญน้อมตามไปแล้ว กลับเป็นเหตุให้ย้อนทวนกระแส หรือแม้แต่เพียงแค่ทนทานต่อกระแสได้มากขึ้น ย่อมเป็นเหตุให้เจริญขึ้น เข้มแข็งขึ้น อ่อนแอน้อยลง หรือลดทอนความเสื่อมลงได้ เราย่อมกล่าวสรรเสริฐธรรมนั้นว่า ดียิ่ง
          บุคคลที่หลงยึดมั่นถือมั่นอยู่ในกระแสโลกอยู่ ย่อมเป็นไปโดยทุกข์ แม้กระนั้น เมื่อพวกเขาประสบกับโลกธรรมฝ่ายที่น่ายินดี เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ถึงแม้ทุกข์อยู่ พวกเขาก็สำคัญว่า สุข สำคัญว่า น่ายินดี สำคัญว่า ไม่มีทุกข์ เพราะไปสำคัญสุขในสิ่งอันเป็นมายา มิได้สำคัญสภาพทุกข์อันเป็นจริง อันเป็นสัจจะ อันปรากฏเป็นไปอยู่แม้แต่ในขณะที่สำคัญตนว่า สุขอยู่ หากไม่หมั่นอบรมจิตใจตนให้เข้มแข็ง ให้ทนทานได้ ไม่น้อมใจไปตามกระแสโลกธรรมทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่เห็นทางออกจากวังวนอันดึงดูดใจสรรพสัตว์ทั้งหลายให้จมลงได้
          คนบางพวก สำคัญตนว่า ทำดีมามากแล้ว ทำบุญมาก สละทานมาก บริจาควัตถุปัจจัยมาก ถวายเครื่องบริขารเป็นอันมากแก่นักบวชที่ตนศรัทธา หรือแม้แต่ภาวนามามาก แต่จิตใจยังไม่พ้นบาปอกุศล มีธรรมดาอุปธิครอบงำ ไม่ทนทานต่อโลกธรรม มีปกติเพ่งเล็งผู้อื่น แท้จริงแล้วพวกเขาทำดีมาน้อยไป
          คนบางพวก ขาดแคลนทรัพย์สินเงินทอง บริจาคทรัพย์น้อย ช่วยเหลือผู้อื่นได้น้อย แต่มีใจสันโดษ ทนทานต่อโลกธรรมได้มาก มีความเพียร มีปีติ เราย่อมกล่าวว่า คนพวกนี้ ทำดีมาก
          คนบางพวก ไม่บริจาคทรัพย์ ไม่ให้สิ่งของผู้อื่น แต่แสดง สอน แก่ผู้อื่นให้สงบ ให้สันโดษ ให้อดทน ให้แยบคาย ให้งดโทษแก่ผู้อื่น ให้ขวนขวาย ให้พากเพียร เป็นไปสู่ปีติที่ไม่อาศัยโลกธรรมเป็นเครื่องล่อ แท้จริงแล้ว บุคคลจำพวกนี้ ให้ทรัพย์อันประมาณค่ามิได้ หาทรัพย์ใดในโลกมาเปรียบมิได้ เราย่อมกล่าวว่า บุคคลพวกนี้ ดียิ่ง บุคคลจำพวกนี้ ที่จริงแล้ว มิควรให้โภคทรัพย์แก่คนทั่วไป เพราะผู้รับจะต้องขวนขวายเป็นอย่างยิ่ง จึงจะรักษาไว้ได้ หากรับไว้ด้วยอกุศล เช่นความโลภ ครอบงำแล้ว จักเป็นเครื่องลำบาก

          บุคคล เมื่อหมั่นเจริญขวนขวายไปในบารมี ๑๐ คือ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา, อุเบกขา แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้หมั่นทวนกระแสโลก ย่อมเป็นไปสู่ความเข้มแข็ง ย่อมมีธรรมดาไม่ตกต่ำในการวนเวียน และจักเป็นอุปการธรรมต่อการเจริญสู่ความพ้นไป คือ พระนิพพาน ในเบื้องปลาย




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2008, 05:32:50 PM »

          คนบางพวก เข้าใจว่า พระนิพพาน เป็นสิ่งกำหนดไม่ได้ ต้องเป็นไปเอง ต้องเกิดขึ้นเองเท่านั้น บางพวกก็หลงไปถึงขั้นว่า พระนิพพาน หรืออารมณ์พระนิพพาน นอกจากจะเป็นสิ่งที่กำหนดไม่ได้ ต้องเกิดขึ้นเองแล้ว ยังเป็นสิ่งที่เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว จะต้องดับไปในเวลาอันสั้น รักษาให้อยู่นานไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นแล้ว จะขัดกับกฏไตรลักษณ์(โดยนัยว่า สรรพสิ่งในโลก ล้วนเปลี่ยนแปลง เกิด ตั้งอยู่ ดับไป ตลอดเวลา ฯลฯ) แต่มิได้ใคร่ครวญโดยแยบคาย และทั่วถึง ว่า พระนิพพาน เป็นธรรมพ้นไปจากโลก เป็นธรรมอยู่เหนือโลก เป็นอมตะธรรม ไม่อยู่ในวิสัยของโลก ส่วนสัจจะอันกล่าวถึงไตรลักษณ์นั้น เป็นสัจจะที่ครอบคลุมความเป็นไปของโลก(อันหมายรวมถึงจักรวาล หรือภพภูมิทั้งสามที่สัตว์อาศัยวนเวียนอยู่ด้วย) หรือโลกธรรม เท่านั้น มิได้ครอบคลุมถึงธรรมอันเป็นโลกุตตระ(ธรรมอันพ้นไปจากโลก จากการวนเวียน) อันหมายถึงพระนิพพานธรรม

          จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุพระนิพพาน ย่อมรู้เห็นความเป็นจริงของโลกได้ว่า เป็นเช่นนั้นเอง อันหมายถึง เป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามวิบาก ฯลฯ ไม่มีผู้บงการให้เป็นอย่างอื่นได้ แต่ นั่นมิได้แสดงว่า พระนิพพานธรรม เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง เจตนาไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นด้วยเจตนา และต้องดับไปเอง ตั้งอยู่นานไม่ได้ ก็แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้ด้วย กำหนด มีได้ด้วยความน้อมไป มีได้ด้วย เจตนา แต่เป็นเจตนาใน อนัตตา(เจตนาใน อนัตตา เป็นเหตุแห่ง วิมุติ) มิใช่เจตนาใน อัตตา (เจตนาใน อัตตา เป็นเหตุของ อาสวะ) และพระนิพพานธรรม เป็นธรรมไม่มีเกิด ไม่มีดับ ธรรมที่มีเกิด มีดับ นั่นเป็นธรรมอันเกิดจากการปรุงแต่งอยู่ เป็นธรรมฝ่ายที่ยังปรุงแต่ง ส่วนพระนิพพานธรรม เป็นธรรมฝ่ายไม่ปรุงแต่ง พ้นความปรุงแต่ง มิได้มีอยู่เพราะอาศัยการปรุงแต่งเป็นเหตุ

          เช่นนี้แล้ว ผู้ที่สำคัญดังนี้ว่า พระนิพาน เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง เจตนาไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นด้วยเจตนา และต้องดับไปเองโดยมิเกี่ยวข้องกับเจตนา ฯลฯ ย่อมเป็นผู้ไม่สามารถรู้ พระนิพพานธรรม นั้น ได้เลย




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 16, 2008, 06:59:49 PM »

          บุคคลทั้งหลายในโลก เมื่อเกิดมา ก็ย่อมมีแก่ มีเจ็บ มีตาย เป็นธรรมดา เป็นเรื่องที่คนทั้งหลายก็ทราบอยู่ แต่ มีน้อยคนนัก ที่จะทำใจให้พ้นโศกไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ที่ตนผูกพันจะต้องมีอันพลัดพรากจากไป หรือเสียชีวิตไปก่อน

          คนโดยมาก มักเข้าใจว่า ความเศร้าโศก อันเกิดจากการสูญเสียผู้ที่ผูกพัน หรือรักใคร่ไปนั้น เกิดเพราะความคิดถึงอยู่ในปัจจุบัน เกิดเพราะความไม่พบหน้าอยู่ในปัจจุบัน เกิดเพราะความไม่ได้พูดคุยกันอยู่ในปัจจุบัน เกิดเพราะความห่างจากกันอยู่ในปัจจุบัน ฯลฯ แต่ผู้พิจารณาแยบคาย อาจเห็นลึกซึ้งขึ้นไปอีกว่า ทุกข์โศกที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ที่จริงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากความพลัดพราก หรือความไม่เจอกันอยู่ในปัจจุบัน แต่เหตุผลหลักมักเป็นเพราะว่า ความกลัว อันวิตกไปในเหตุการณ์อันเป็นอนาคตต่างหาก กล่าวคือ กังวลว่า ต่อไปจากนี้ไป ในภายภาคหน้า จะไม่ได้พบเจอกันอีกแล้ว ไม่ใช่เพราะความไม่ได้พบเจอกันอยู่ในปัจจุบัน(เพราะหากเป็นเพราะเหตุปัจจุบันเท่านั้นจริงๆแล้ว ผู้ที่มีความรู้สึกผูกพันกันทั้งหลาย ย่อมต้องเศร้าโศกทุกข์ใจคร่ำครวญอยู่เสมอทุกเวลา เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เราผูกพันมิได้อยู่ต่อหน้า ทั้งๆที่ยังมีชีวิตอยู่ และจะนัดพบ หรือไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ยากก็ตาม แต่ ปกติ มิได้เป็นเช่นนั้น) เมื่อกำหนดปัญหาอย่างนี้ไม่ถูก ก็จะละความกลัว อันเป็นเหตุของทุกโศกอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ เพราะหลงสำคัญไปในสิ่งอันเป็นอนาคต ว่า เป็นปัจจุบัน ก็เป็นอันว่า ขาดความรู้สึกตัวไป ย่อมกำหนดปัญหา หรือทุกข์ได้ไม่ถูกต้อง เป็นธรรมดา แต่หากกำหนดปัญหาได้ถูกต้องแล้วตามความเป็นจริงดังได้กล่าวไปแล้วนี้ บุคคลย่อมรู้ชัดว่า สิ่งควรละก่อน ก็คือ ความกลัว และความฟุ้งซ่านไปในอนาคต เมื่อละออกจากสิ่งนี้ได้แล้ว ย่อมเกิดความรู้สึกตัว ก็ย่อมกำหนดรู้ได้ว่า เหลือแต่เพียงความทุกข์ใจที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ผู้ฉลาด ผู้อบรมจิตใจตนเองมา ย่อมทราบได้ว่า สิ่งที่ควรกระทำต่อๆไป คือ การกระทำสำรวม โดยสำรวมกายก่อน แล้วจึงสำรวมวาจา แล้วย่อมสำรวมใจ ดังนี้แล้ว เมื่อน้อมไปในความครุ่นคิดพิจารณา ก็ย่อมครุ่นคิดพิจารณาในสิ่งที่เป็นสภาพอยู่ในปัจจุบันภายในใจตน ไม่ใช่ครุ่นคิดไปในวิตกแห่งอดีตอันพ้นไปแล้ว ผ่านไปแล้ว หรือวิตกแห่งอนาคต อันคาดเดา อันไม่เป็นประโยชน์แก่การแก้ไขปัญหานี้ อีกประการหนึ่ง หากเมื่อน้อมใจไปเช่นนี้แล้ว ทุกข์น้อยลง เบาบางลง แต่เมื่อพิจารณาถึงจุดหนึ่ง ก็ยังมีที่ติดขัดอยู่บ้าง ไม่สามารถละไปได้ทั้งหมด ก็ให้ลองพิจารณาความหวงแหน อันเป็นสาเหตุของความกลัวอีกชั้นหนึ่ง ก็อาจจะพิจารณาเห็นได้ว่า ความเพลิดเพลินเป็นเหตุแห่งความยินดี ความยินดีเป็นเหตุแห่งความหวงแหน ความหวงแหนเป็นเหตุแห่งความคาดหวัง ความคาดหวังเป็นเหตุแห่งความกลัว ความกลัวเป็นเหตุแห่งความโศก ความโศกเป็นเหตุแห่งโทสะ ความเศร้า ความหมอง ความกระวนกระวาย ความเร่าร้อน ความทะยาน ความไม่สำรวม ฯลฯ

          ที่จริงแล้ว คนส่วนใหญ่ในโลกนี้ ล้วนเกิด แก่ เจ็บ ตาย เวียนว่ายตายเกิด มานับครั้งไม่ถ้วนแล้ว สุข และทุกข์ สมหวัง และผิดหวัง พบพาน และพลัดพราก กันมาไม่รู้กี่ครั้งต่้อกี่ครั้งแล้ว เพียงแต่ ส่วนใหญ่ ระลึกไม่ได้ หรือระลึกได้ก็เพียงส่วนน้อย ที่ผ่านมาไม่นานนัก ส่วนก่อนหน้านั้น มักจำไม่ได้ ก็เนื่องด้วยเป็นเหตุการณ์เหมือนเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมา นานนับไม่ถ้วน ก็เป็นธรรมดาที่สัตว์ที่วนเวียนอยู่ส่วนใหญ่ จะไม่จำ เพราะโดยปกติแล้ว สิ่งที่ปรากฏซ้ำไปซ้ำมา บ่อยๆ ถี่ๆ เป็นสภาพเดียวกัน เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ  เมื่อเป็นเช่นนี้นานไปถึงระดับหนึ่ง บุคคลทั่วไปจะไม่ปรารถนาจดจำ ก็หลงลืมไป แล้วก็กลับทำซ้ำๆอีก

          บทความนี้ มอบให้สมาชิกท่านหนึ่ง ที่เพิ่งสูญเสียญาติสนิทไปเมื่อเร็วๆนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2008, 02:52:40 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 02:26:03 PM »

          โดยบางนัยยะ กระแสโลก ก็เปรียบได้กับ กระแสน้ำ บางครั้งไหลเอื่อย บางครั้งไหลเชี่ยว มีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ
          สัตว์ผู้อยู่เฉย ย่อมไหลไปตามกระแส มักมีปกติจมลึกลงไปเรื่อยๆ
          สัตว์ผู้มีกำลังน้อย มีปกติยินดีว่ายไปตามกระแส ย่อมไหลไปเร็วขึ้น และจมลงในที่สุด
          สัตว์ผู้มีกำลังน้อย มีปกติขวนขวายว่ายทวนกระแส ย่อมไม่ไหลตาม หรือไหลไปช้า จมลงบ้าง ตะเกียกตะกายโผล่ขึ้นมาบ้าง
          สัตว์ผู้มีกำลังมาก แต่มีปกติยินดีว่ายไปตามกระแส หากมิได้สำนึก ย่อมยิ่งหลงไปไกล ย่อมไม่ทวนกระแสมุ่งสู่ฝั่ง
          สัตว์ผู้มีกำลังมาก มีปกติขวนขวายว่ายทวนกระแส ย่อมมุ่งทวนกระแสน้ำ ย่อมจมลงได้ยาก ย่อมมุ่งไปสู่ฝั่ง
          อนึ่ง สัตว์ผู้เดิมมีกำลังน้อย แต่หมั่นขวนขวายว่ายทวนกระแส มีความอดทน ไม่ท้อถอย มีความเพียร ไม่ประมาท เมื่อนานไป ย่อมเป็นผู้มีกำลังมากขึ้น ๆ ได้

          ผู้อดทนต่อความยินดียินร้ายในโลกได้มาก ย่อมไม่เป็นผู้ถูกความเป็นไปของโลกบังคับบีบคั้นได้ง่าย ย่อมเ็ป็นผู้เข้มแข็ง
          ผู้อดทนต่อความยินดียินร้ายในโลกได้น้อย หรือไม่ได้เลย ย่อมเป็นผู้ถูกความเป็นไปของโลกบังคับบีบคั้น ครอบงำ ได้ง่าย ย่อมเป็นผู้ยังอ่อนแออยู่
          อนึ่ง ผู้เข้มแข็ง หายาก มีน้อยในโลก ดังนั้น สัตว์ส่วนใหญ่ในโลก จะไหลลงไปสู่ที่ต่ำ ที่เสื่อม อบายภูมิ



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2008, 02:50:05 PM »

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค


 

อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐
ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการทำต่างๆ กัน
             [๑๗๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไร่นาและที่ดิน มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการซื้อและการขาย มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการซื้อและการขายมีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากเทวดาแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากเทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ
             [๑๗๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๗๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๘๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ
             [๑๘๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๘๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัย ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ.
             [๑๘๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.

จบ จักกเปยยาล
จบ สัจจสังยุต
จบ มหาวารวรรคสังยุต

____________________________________________


ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต (ข้อ ๓ ในอบาย ๔),
       เปตติวิสัย ก็เรียก

อบาย, อบายภูมิ ภูมิกำเนิดที่ปราศจากความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. นิรยะ นรก
       ๒. ติรัจฉานโยนิ กำเนิดดิรัจฉาน
       ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่งเปรต
       ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2008, 02:52:03 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2008, 10:59:19 PM »

          บุคคลผู้มีปกติเล็งเห็นโทษภัย แม้ในสิ่งเล็กน้อย เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่เข้าใกล้ความประมาท




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #12 เมื่อ: กันยายน 02, 2008, 12:33:08 PM »


ผู้รู้สึกตัวอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้เริ่มต้นใหม่อยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้ไม่ท้อถอย
บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #13 เมื่อ: กันยายน 16, 2008, 04:08:50 PM »


          พรหมวิหาร หมายถึง ธรรมอันเป็นวิหารแห่งพรหม หรือก็คือ คติอันเป็นหนทางไปสู่ความเป็นพรหม อันท่านจำแนกไว้โดยหลักใหญ่ว่า พรหมวิหาร ๔ ประการ อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา

          พรหมวิหาร ๔ ประการนี้ เป็นธรรมที่ควรเจริญ แต่ในที่นี้ ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุว่า จะได้ไปเสวยสุขเป็นพรหม แต่โดยลักษณะอันเป็นอุปการว่า เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนกันด้วยอำนาจแห่งกาม เพราะเมื่อบุคคลไม่พึงเข้าถึงความเบียดเบียนกัน ย่อมสันโดษ คนบางพวก ละเลย หรือหมิ่นธรรมนี้ไป เพราะเหตุว่าสำคัญในธรรมอันตนเห็นว่า ยิ่งกว่า ประเสริฐกว่า เช่น มรรค พระนิพพาน เป็นต้น แต่บุคคลผู้หมิ่นธรรมอันเป็นอุปการเหล่านี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อการบรรลุธรรมอันประเสริฐกว่า เช่น มรรค หรือพระนิพพาน เหล่านั้น เป็นต้น เพราะเหตุว่า ยังประกอบตนด้วยความเบียดเบียนกันอยู่ เป็นธรรมดา

          คนบางคน เมื่อได้ยินได้ฟังว่า เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุฑิตา ๑ และอุเบกขา ๑ ก็ตรึกไปว่า เป็นธรรมสี่ประการต่างหากจากกันบ้าง หรือมีความเห็นว่า ควรเลือกใช้ข้อใดข้อหนึ่งตามความเหมาะสมแก่สถานการณ์ต่างๆบ้าง แท้ที่จริงแล้ว ธรรมทั้งสี่นี้ ย่อมเจริญไปด้วยกัน ประกอบซึ่งกันและกัน และธรรม คือ เมตตาก็ดี กรุณาก็ดี มุฑิตาก็ดี ทั้งหลายนี้ ย่อมควรประกอบรวมลงได้ในธรรมธรรมเดียว อันเป็นองค์ประธาน ก็คือ อุเบกขา นั่นเอง เช่นว่า ผู้แยบคายพอ ย่อมกำหนดรู้ได้โดยสภาพก็ดี โดยปริยายก็ดี ว่า  บุคคลจะพึงเข้าถึงเมตตา โดยพร้อมด้วยอุเบกขาอยู่ในเวลาเดียวกัน นี้เป็นฐานะอันพึงมีได้ ส่วนการประพฤติแสดงออกมาด้วยกริยาก็ดี วาจาก็ดี นั้น ย่อมขึ้นอยู่การเฟ้นจำแนกธรรมของแต่ละบุคคล ว่า ในสถานะการณ์ใด จะเลือกแสดงออกมาอย่างไร ผู้เลือกที่จะแสดงกิริยาว่าช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ ก็กระทำไปด้วยจิตที่เป็นอุเบกขาอยู่ ก็ได้ หรือ แม้เมื่อเลือกว่าจะไม่แสดงกิริยาใดๆออกมาเลย ไม่กระทำสิ่งใดด้วยกาย หรือด้วยวาจาเลย แสดงพฤติกรรมว่าอุเบกขาอยู่ ก็เป็นไปด้วยจิตอันเป็นเมตตาอยู่ ก็มีได้ เช่นกัน ฯลฯ

          อนึ่ง บางบุคคลย่อมคิดว่า อุเบกขา และสุข เป็นธรรมที่ไม่ตั้งในที่เดียวกัน ไม่พึงเกิดขึ้นพร้อมกันในบุคคลเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว ผู้ที่เป็นสุขอยู่ด้วยอุเบกขาอันยอดเยี่ยม ย่อมมีอยู่จริง และย่อมเป็นผู้ที่ประกอบอยู่ด้วยสติอันบริสุทธิ์ ฯลฯ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2008, 04:20:38 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #14 เมื่อ: กันยายน 17, 2008, 04:22:22 PM »



          บุคคลใด หมั่นรักษาสัจจะของตน เมื่อนานไป ย่อมเป็นผู้มีสัจจะมาก ย่อมเป็นผู้มีวาสนาในสัจจะอันยิ่งยวดขึ้นไป
          ผู้ปรารถนาในสัจจะอันยิ่ง ย่อมขวนขวายประกอบวาสนาในสัจจะ ไม่ท้อถอย ย่อมประสบสัจจะอันยิ่งได้ในที่สุด

          ผู้ไม่รักษาสัจจะของตน ย่อมเป็นผู้หมิ่นธรรมของตนอยู่ ย่อมพาตนให้เจริญขึ้นในสัจจะได้ยาก
          ผู้รักษาเจตนาของตนไว้มิได้ ย่อมเป็นผู้อ่อนแอ ถูกครอบงำโดยง่าย เป็นผู้ตั้งตนมิได้ เป็นผู้กำหนดตนมิได้ ย่อมไม่อาจบรรลุกิจอันยาก อันพึงบรรลุ
          บุคคลใดรักษาสัจจะของตนเอาไว้ได้ เราย่อมกล่าวบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ไม่หมิ่นตน เป็นผู้รักษาเจตนาของตนไว้ได้ เมื่อนานไป เขาจะประสบสัจจะอันรู้ได้ยาก อันเขาปรารถนา

          อนึ่ง การที่บุคคลจักกล่าวไว้อย่างไร แล้วต้องปรากฏเสมอไปว่าเป็นไปตามที่เขาได้กล่าวไว้นั้นจริง เป็นปัญญา ไม่ใช่สัจจะ
          สัจจะ เป็นธรรมอันตั้งอยู่ได้ด้วยการรักษา ด้วยการไม่หมิ่น หรือด้วยความไม่ทะยานในการหมิ่น มิใช่ด้วยการกล่าวแล้วบังคับให้เป็นไปตามนั้น และมิใช่การกล่าวเพราะรู้อยู่ก่อน ว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น
          การรักษาสัจจะในธรรมใด คือ การยอมรับว่า ธรรมนั้น มีอยู่ ผู้ไม่ปรารถนาการเบียดเบียน ย่อมไม่ยินดีในการลบล้างธรรมอันผู้อื่นบัญญัติไว้ ไม่ว่าจะเห็นธรรมนั้นว่าควรหรือไม่ ก็ตาม


 
บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] 2 3 4 ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.129 วินาที กับ 18 คำสั่ง