ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  ชี้แจงข้อธรรม
| | |-+  ความตั้งมั่น
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ความตั้งมั่น  (อ่าน 5005 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: มกราคม 05, 2010, 02:57:53 PM »


          คำแปลโดยทั่วไปของความว่า สัมมาสติ มักแปลว่า ความระลึกชอบ และแปลความหมายของคำว่า สัมมาสมาธิ ว่า ความตั้งจิตมั่นชอบ

          แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงแสดงความหมาย หรือ สภาพ ของ สติ ในลักษณะอย่างอื่นด้วย เช่นว่า สภาพตั้งมั่นแห่งสติ สภาพมั่นคงแห่งสติปัฏฐาน เป็นต้น และมีคำตรัสถึงสมาธิว่า สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมาธิ

          ผู้ยังไม่เข้าใจ ก็อาจสับสนได้ ก็ที่จริงแล้ว ลักษณะที่จิตตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว สัญญาเดียว ไม่น้อมไปตามอารมณ์อื่น สัญญาอื่น ก็เรียกว่า ไม่ฟุ้งซ่าน โดยนัยยะนี้เรียกว่า เป็นสมาธิ หรือเป็นสมถะ หรือบางที่ในพระไตรปิฏกท่านก็เรียกว่า อธิจิต และโดยนัยยะที่จิตสามารถกั้นได้จากอารมณ์อื่น หรือสัญญาอื่น ไม่ให้กำเริบ ครอบงำ หรือเป็นอารมณ์ได้ เรียกว่า สติ ก็จึงเรียกได้ว่า เป็นสภาพมั่นคงแห่งสติ

          นอกจากนี้แล้ว ความตั้งมั่นนี้ ยังอาจจำแนกแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะ กล่าวคือ ลักษณะแรก เป็นลักษณะที่จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพียงอารมณ์เดียว เพราะเหตุว่าไม่น้อมไปในอารมณ์อื่น (บางครั้งท่านตรัสเรียกว่า เป็นสภาพที่จิตมีธรรมเอกผุดขึ้น) และลักษณะที่ ๒ เป็นลักษณะที่จิตตั้งมั่นอยู่ เพราะเหตุว่าไม่น้อมไปในอารมณ์ใดๆเลย ลักษณะอย่างที่ ๒ นี้ นับว่าเป็นสติที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่า เพราะเป็นสภาพที่จิตตั้งมั่นโดยบริสุทธิ์หมดจดยิ่งกว่า และการแบ่งลักษณะของความตั้งมั่นเป็น ๒ ลักษณะ หรือเป็น ๒ ประเภทเช่นนี้ ยังเป็นเครื่องจำแนกแบ่งแยกสมาบัติออกเป็น ๒ ประเภท คือ โลกียะสมาบัติ และโลกุตตระสมาบัติ อีกด้วย


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2010, 03:00:53 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.04 วินาที กับ 18 คำสั่ง