ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
| | |-+  หลักการภาวนา สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: หลักการภาวนา สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน  (อ่าน 15696 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: ธันวาคม 19, 2008, 11:49:44 PM »


          สมถะ คือ จิต อยู่กับจิต จึงได้ชื่อว่า รู้ตนเอง หรืออยู่กับตนเอง ผู้ไม่หลงเพลินไปกับมายาอันยั่วยุล่อลวง ย่อมสงบ

          วิปัสสนา คือ การพิจารณาในสิ่งที่เห็น เพื่อให้เข้าใจสัจจะ หรือหลักการ ของสิ่ง หรือสภาพที่เป็นไปแก่ตน ความเข้าใจนี้เป็น ปัญญา

          บุคคลบรรลุความเป็นสมถะได้ ด้วยปัญญาที่อบรมมาดีแล้วแห่งตน ดังนั้น จึงกล่าวว่า บุคคลเข้าถึงสมถะได้ ด้วยปัญญา

          บุคคลบรรลุความเป็นวิปัสสนาได้ ย่อมกระทำปัญญาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดแก่ตนได้ แต่ต้องอาศัยความรู้ตน ความอยู่กับตน คือความเป็นสมถะ เป็นองค์ประกอบ เป็นฐาน จึงจะสามารถกำหนดรู้ฐานะเดิมของตนได้ เพราะหากกำหนดฐานะเดิมของตนมิได้อย่างถูกต้องแล้ว สิ่งที่พิจารณาอยู่ก็จะไม่ตรงกับความเป็นจริงของตน ก็จะไม่สามารถเจริญปัญญาให้ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมได้แก่ตน ด้วยเหตุนี้ คนบางพวก เฝ้าค้นคว้าครุ่นคิดอยู่กับสิ่งที่ตนเรียกว่าวิปัสสนา นานไป ก็รู้มากมาย แต่แก้ปัญหาที่ตนเองติดขัดมิได้ เช่น รู้ว่า โลกนี้เป็นมายาบ้าง รู้ว่า สิ่งใดๆในโลกเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตาบ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่ช่วยให้ตนพ้นความสุดโต่ง ไม่ได้ช่วยให้ตนปล่อยวางในสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ได้มากขึ้นอย่างแท้จริงเลย ก็กลายเป็นว่า รู้มากขึ้น แต่ทุกข์กลับไม่ลดลงเลย แม้เช่นนี้แล้ว บางพวกก็พยายามมองข้าม หรือครุ่้นคิดเหตุผลขึ้นมาหลอกลวงตนเองอยู่นั่นเอง เพราะไม่รู้สมถะ

          สมถะ และวิปัสสนา เป็นธรรมที่ควรเจริญคู่กันไป จึงจะบรรลุคุณประโยชน์อันสูงสุดอันพึงบรรลุได้ คือ อมตะธรรม

          ผู้เจริญสมถะฝ่ายเดียว โดยตลอด ไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา อาจมีประโยชน์บางประการ แต่ไม่บรรลุประโยชน์อันบริบูรณ์

          ผู้เจริญวิปัสสนาฝ่ายเดียว โดยตลอด ไม่ประกอบด้วยสมถะ อาจมีประโยชน์บางประการ แต่ไม่บรรลุประโยชน์อันบริบูรณ์

          ดังนั้น บุคคลบางพวก อาจมีข้อสงสัยว่า หากเจริญสมถะอย่างเดียว ไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา จะบรรลุพระนิพพานได้หรือไม่ หรือ อาจมีข้อสงสัยว่า หากเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ไม่ประกอบด้วยสมถะ จะบรรลุพระนิพพานได้หรือไม่ ปัญหาทั้งสองข้อนี้ มีคำตอบเดียวกัน คือ เป็นอฐานะ หมายถึง ไม่เป็นฐานะที่จะเป็นได้แก่บุคคลใดเลย

          จะเปรียบเปรยการเจริญสมถะ โดยไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา ว่า เสมือนบุคคลปรารถนาจะเข้าใจแตกฉานรอบรู้วิชาการในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง ก็เฝ้ามองแต่ตำรานั้น ท่องจำตำรานั้น แต่ไม่พิจารณาเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาในตำรานั้นเลยแม้แต่น้อย ก็ย่อมไม่เข้าใจหลักการในวิชาการนั้นๆ เป็นธรรมดา ครั้นเมื่อเจอโจทย์ที่พลิกแพลงไปจากที่ท่องจำมาได้นั้น ก็ไม่สามารถพิจารณาหาคำตอบที่ถูกต้องตามหลักวิชาการนั้นได้

          หรือจะเปรียบเปรยการเจริญวิปัสสนา โดยไม่ประกอบด้วยสมถะ ว่า เสมือนบุคคลปรารถนาจะเข้าใจแตกฉานรอบรู้วิชาการในตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง แต่กลับเฝ้าพิจารณาสิ่งอื่น ตำราอื่น ไม่ใส่ใจอยู่กับตำราที่ตนต้องการจะรู้ ย่อมไม่อาจแทงตลอดในเนื้อหา และหลักวิชาการในตำราที่ตนต้องการจะรู้ได้เลย

          ต้นเหตุของการบัญญัติคำว่า สมถะยานิก และวิัปัสสนายานิก นั้น ไม่ได้หมายถึงผู้เจริญสมถะอย่างเดียว กับผู้เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว (อย่างที่บุคคลสุดโต่งบางจำพวกประกาศกัน) แต่ จำแนกโดยหลักการว่า ความเป็นสมถะเกิดก่อน หรือความเป็นวิปัสสนาเกิดก่อน แก่บุคคลผู้นั้นในขณะที่เจริญกรรมฐานภาวนาจิตอยู่ เท่านั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2009, 12:30:53 AM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2008, 11:05:14 PM »

         
          ผู้หลงเพลิดเพลินอยู่ในตัณหาทางกายนี้ คือ ความแสวงหาปัจจัยเพื่อบำเรอกายนี้ ย่อมควรเจริญกายานุปัสสนา คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย หรือลมหายใจอันปรุงแต่งกายนี้อยู่ เพื่อข่มระงับตัณหาทางกายนี้ให้สงบลง

          ผู้หลงเพลิดเพลินอยู่ในตัณหาทางใจ คือ ความยินดียินร้ายในปัจจัยทั้งหลาย ไ่ม่ว่าจะเป็นวัตถุ บุคคล หรือเรื่องราวต่างๆ ย่อมควรเจริญเวทนานุปัสสนา คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ทั้งที่สุข ทั้งที่ทุกข์ และทั้งที่เป็นกลางๆ(อารมณ์ที่ไม่ปรากฏชัดไปทางใดทางหนึ่งว่าเป็นสุข หรือเป็นทุกข์) เพื่อข่มระงับตัณหาทางใจเหล่านี้ให้สงบลง

          ผู้หลงเพลิดเพลินอยู่ในตัณหาในจิต คือ ความทะยานไปในสิ่งต่างๆ หรือสภาพปัจจัยต่างๆ อันเป็นปัจจัย เพื่อปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในลักษณะอาการต่างๆ ย่อมควรเจริญจิตตานุปัสสนา คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต หรือสภาพ สภาวะ ลักษณะอาการเป็นไปต่างๆของจิต เพื่อข่มระงับตัณหาในจิตเหล่านี้ให้สงบลง

          ผู้หลงเพลิดเพลินอยู่ในตัณหาในธรรม คือ ความสุดโต่งไปในทิฏฐิแห่งสภาพธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัย ว่าเป็นที่มั่นคง ว่าเป็นที่สุด ว่าเป็นแก่น ว่าเป็นสาระอันเที่ยงแท้ เช่นนี้ ย่อมควรเจริญธรรมมานุปัสสนา คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม เพื่อข่มระงับตัณหาใ่นธรรมเหล่านี้ให้สงบลง

          รวมความแล้ว กิจหน้าที่แห่งสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ก็คือ การข่มระงับตัณหาทั้งหลาย ตั้งแต่ที่หยาบ ไปจนถึงที่ละเอียดประณีต นั่นเอง ฯลฯ


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #2 เมื่อ: มกราคม 18, 2009, 10:18:01 PM »


          บุคคลผู้ใฝ่ศึกษาธรรม เพื่อการปฏิบัติอบรมภาวนาจิตตน ย่อมพึงศึกษาและบำเพ็ญปฏิบัติภาวนาไปเพื่อความเป็นประโยชน์สุขอยู่ในปัจจุบันได้ ๓ ลำดับ ตามแต่เหตุปัจจัย ฐานะ และอัธยาศัย ดังนี้

          ลำดับแรก คือ เป็นไปเพื่อความระงับทุกข์โศกอันมีมาก่อนหน้า อย่างนี้ นับว่าเป็นสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะดับทุกข์อันมีมาก่อนหน้าได้แล้ว

          ลำดับที่สอง คือ เป็นไปเพื่อความเจริญยิ่งในธรรมอันเป็นปีติ สุข อย่างนี้ นับว่าเป็นสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะเจริญยิ่งอยู่ในธรรมอันเป็นสุข

          ลำดับที่สาม คือ เป็นไปเพื่อความพ้นไปจากทุกข์ และสุข ทั้งหลายในโลก อย่างนี้ นับว่าเป็นสุขอยู่ในปัจจุบัน เพราะพ้นไปจากความกำเริบได้แห่งทุกข์ และพ้นไปจากความเสื่อมได้แห่งสุข เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่ข้องเกี่ยว สิ่งใดๆ ทิฏฐิใดๆ ทั้งหลายในโลก ย่อมเป็นสุขอยู่



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2009, 06:07:42 PM »


          นิสัย คือ ความเคยชิน มักเกิดจากการกระทำซ้ำ บ่อยๆ จนกลายเป็นความเคยชิน กลายเป็นความชำนาญ

          นิสัย มีทั้งที่เป็นอุปการะ คือ เกื้อให้สำเร็จการงาน มีทั้งที่เป็นอุปสรรค คือ ขัดขวางไม่ให้สำเร็จการงาน หรือให้สำเร็จการงานได้ยาก และมีทั้งที่เป็นกลางๆ คือ ไม่เกื้อกูล และไม่ขัดขวาง ในการงานที่มุ่งกระทำให้สำเร็จ

          นิสัยที่เป็นอุปการะ เมื่อรักษานานไป ก็มักเป็นเหตุแห่งวาสนาที่ดี พาให้เจริญในอัตตภาพ ส่วนนิสัยที่เป็นอุปสรรค หากไม่อบรมแก้ไข เมื่อนานไป มักเป็นเหตุแห่งวาสนาที่ทราม พาให้เสื่อมลงในอัตตภาพ

          ผู้มีนิสัยอย่างไรในสิ่งใด เมื่อประสพสิ่งนั้น ก็มักกระทำไปตามนิสัยอย่างนั้น หรือแม้บางคราว มิได้ประสบสิ่งนั้นอยู่ ก็ยังครุ่นคิดไปตามนิสัยอย่างนั้น เช่นว่า ผู้มีนิสัยมักมากในกามคุณทั้ง ๕ ประการ เมื่อเห็นรูปที่พอใจ เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจ เมื่อสัมผัสรสชาติที่พอใจ เมื่อได้กลิ่นที่พอใจ เมื่อได้สัมผัสทางกายที่พอใจ ก็จะมีปกติลุ่มหลงเพลิดเพลินไป ถลำไป ทะยานไป สุดโต่งไป ในกามทั้งหลายเหล่านั้น หรือแม้เมื่อสิ่งเหล่านั้น ไม่ได้ปรากฏอยู่แก่ตนในปัจจุบัน ก็มักจะครุ่นคิด วิตก วิจารณ์ ระลึกถึงอยู่ ในกามคุณทั้งหลายเหล่านั้น ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น

          ผู้ภาวนาจิตเพื่อความบรรลุธรรมอันสูงสุด เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้นไปจากความเวียนว่ายตายเกิด หรือแม้แต่ผู้หวังเพียงการจุติในภพภูมิที่ดี ที่งดงาม ที่ประณีต ที่เป็นสุข ก็พึงมีนิสัยแห่งความเป็นพรหมจรรย์ หากยังมีไม่พอ ก็ควรรีบขวนขวายให้มีมากพอ หากยังไม่ีมี ก็ควรรีบเร่งขวนขวายให้มี ก็นิสัยแห่งความเป็นพรหมจรรย์ คืออย่างไร? คำว่า พรหมจรรย์ นี้ มาจากคำว่า พรหม และคำว่า จริยะ หรือจริยะธรรม รวมกันก็คือ จริยะธรรมแห่งความเป็นพรหม จริยะ หมายถึง แบบแผน หรือแนวทาง ในการประพฤติปฏิบัติ ส่วนคำว่า พรหม หมายถึง ผู้ประเสริฐ รวมความแล้ว ก็แปลว่า ความประพฤติเพื่อความเป็นผู้ประเสริฐ หรือจะแปลว่า ความประพฤติแห่งผู้ประเสริฐ ก็ได้ คำว่า ผู้ประเสริฐนี้ ก็เช่นว่า ผู้เว้นจากกาม หรือผู้เว้นจากกามคุณ เพราะผู้ที่สุดโต่งไปในกามคุณทั้ง ๕ นั้น ย่อมเป็นหนทางแห่งความเสื่อม ทำให้ตกต่ำลง ทำให้หยาบช้ายิ่งขึ้น ดังนั้น นิสัยแห่งพรหมจรรย์นี้ สำคัญมาก เป็นธรรมที่ป้องกันความเสื่อม ความตกต่ำ กล่าวได้ว่า เป็นฐานที่สำคัญ เป็นอุปการะ เปรียบเสมือนรากแก้วแห่งพืชพันธุ์ ในอันที่จะเจริญเติบโตงอกงาม แผ่กิ่งก้านสาขา เป็นต้นไม้ใหญ่ อันมั่นคง ทนทานได้ต่อแรงลม บริบูรณ์ และร่มเย็นได้ ฉันใดก็ฉันนั้น นิสัยแห่งพรหมจรรย์นั้น ก็ย่อมเป็นรากฐานแห่งความเจริญในความดีงาม ความงอกงามในปัญญา ความสุขอันสงบยิ่ง ความเผื่อแผ่เมตตากรุณา จนกระทั่งถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นไป ในที่สุด

          ดังนั้น อย่าได้หลงเข้าใจไปว่า เพียงแค่มีศรัทธาต่ออาจารย์มากๆ เพียงแค่เชื่อคำอาจารย์มากๆ เพียงแค่ท่องคำอาจารย์ให้มากๆ เพียงแค่อยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากๆ หรือเพียงแค่ครุ่นคิดตีความถ้อยคำธรรมะในตำรามากๆ ก็จะเพียงพอแล้วที่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตนเป็นผู้ประเสริฐได้แล้ว บางครั้ง บางคน ก็นำเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ตน ไปคอยจับผิด เพ่งเล็ง ดูหมิ่น สั่งสอน หรือตำหนิติเตียนผู้อื่น ทั้งที่จริงแล้ว การกระทำอย่างนี้ เรียกว่า เป็น อุปธิ ก็คือ เป็นกิเลส เป็นบาปกรรมชนิดหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า โดนกิเลสของตนเองหลอกเอาเข้าให้แล้ว ถ้อยคำธรรมะที่ตนเอ่ยอ้างออกมานั้น ก็เป็นเพียงธรรมะปลอมเท่านั้น ดังนี้แล้ว จึงความระมัดระวังให้ดี อย่าประมาท ควรรีบเร่งอบรมจิตใจของตน สร้างสมนิสัยแห่งพรหมจรรย์ให้เกิดขึ้นแก่เรา ให้ติดเป็นนิสัยของเรา ให้ฝังลึก ให้เป็นสันดาน หมั่นระลึกอยู่เสมอๆ ให้มาก ให้เป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประสบสิ่งอันยั่วยุให้หลงใหลไปในกามคุณ หรือเมื่อมีความคิดกำเริบในสิ่งที่เป็นกามคุณ (โดยปกติ กามในส่วนที่เป็นโทษ เป็นทุกข์ นั้น คนทั่วไปไม่ค่อยยินดีที่จะระลึกถึงอยู่แล้ว) มิเช่นนั้นแล้ว ก็เปรียบเสมือนต้นไม้ที่มีรากไม่แข็งแรง หรือมีรากที่ผุ ที่เน่า ก็ย่อมเจริญงอกงามได้ยาก หากไม่แก้ไขแล้ว ก็มีแต่จะรอวันโค่นล้มลง หรือไม่ก็ยืนตายคาต้นไปเสียเท่านั้น



          หมายเหตุ

                           กามคุณ  ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง
                                         คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

                           กามาทีนพ โทษแห่งกาม, ข้อเสียของกาม
                                            คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่ารังเกียจ ไม่น่าพอใจ
 


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2009, 03:39:42 PM »


          สำหรับผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาจิตทั้งหลาย ควรเพียรไปด้วยปัญญา กล่าวคือ ด้วยความฉลาด อย่างไรเรียกว่าฉลาด? ก็เมื่อบุคคลใดเมื่อเพียรภาวนาจิตตนอยู่ พิจารณาเห็นสังขารอย่างใด เวทนาอย่างใด จิตอย่างใด หรือธรรมอย่างใด อันเป็นไปเพื่ออกุศลธรรม แล้วไม่หยั่ง ไม่น้อมไป ไม่อาศัยลงในสังขารเหล่านั้น เวทนาเหล่านั้น จิตเหล่านั้น หรือธรรมเหล่านั้น ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในการภาวนาจิต

          อีกประการหนึ่ง คือ เมื่อบุคคลใดเมื่อเพียรภาวนาจิตตนอยู่ พิจารณาเห็นสังขารอย่างใด เวทนาอย่างใด จิตอย่างใด หรือธรรมอย่างใด อันเป็นไปเพื่อกุศลธรรม แล้วหยั่งลงไป น้อมไป อาศัยลงในสังขารเหล่านั้น เวทนาเหล่านั้น จิตเหล่านั้น หรือธรรมเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ฉลาดในการภาวนาจิต

          ก็ธรรมอย่างไร ได้ชื่อว่า อกุศลธรรม ก็ได้แก่ธรรมอันเมื่อเจริญให้มากแล้ว น้อมไปให้มากแล้ว เสพให้มากแล้ว เป็นเหตุให้เกิด หรือพอกพูนราคะ โทสะ และโมหะ ฯลฯ เหล่านี้ ได้ชื่อว่า อกุศลธรรม

          ก็ธรรมอย่างไร ได้ชื่อว่า กุศลธรรม ก็ได้แก่ธรรมอันเมื่อเจริญให้มากแล้ว น้อมไปให้มากแล้ว เสพให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ป้องกัน เป็นเหตุให้ละ หรือเป็นเหตุให้เบาบางลงในราคะ ในโทสะ และในโมหะ ฯลฯ เหล่านี้ ได้ชื่อว่า กุศลธรรม




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2009, 02:42:26 PM »


          พระนิพพาน เป็นหนทางอันยากแก่สรรพสัตว์ทั่วไป หากบุคคลไม่พึงเที่ยงตรงต่อธรรม คือ พระนิพพาน แล้ว ย่อมคาดหวังผลสำเร็จได้ยาก หรือไม่ได้เลย ดังนั้น นิสัยประการหนึ่งที่ผู้มุ่งหวังพระนิพพานพึงมี ก็คือ ความซื่อสัตย์ และเที่ยงตรงในธรรม พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสสอนแสดงอุบายไว้แล้ว เพื่อความแทงตลอดในธรรม อุบายนั้น คือ กรรมฐาน หรือ กรรมมัฏฐาน ดังนั้น ผู้ปฏิบัติตามพึงควรมีความซื่อสัตย์ และเที่ยงตรงในกรรมฐาน ต่อกรรมฐาน อันเป็นอุบายที่ตนอาศัยไปเพื่อความสำเร็จในกิจที่มุ่งหวังด้วย

          ที่กล่าวว่า กรรมฐาน ก็คือ ฐานที่ตั้งแห่งการงานใดการงานหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อปรารภจะตั้งต้นกระทำกิจนั้น ก็ย่อมตั้งต้นขึ้น ณ ที่นี้ ในกรรมฐานนี้ เมื่อกระทำความเพียรเจริญไปในกิจนั้น ก็ย่อมกระทำไป เพียรไป เจริญไป ณ ที่นี้ ในกรรมฐานนี้ เมื่อเพียรประกอบเหตุไปจนสมบูรณ์พรั่งพร้อมต่อความบรรลุกิจ ก็ย่อมสำเร็จบรรลุกิจนั้นได้ ณ ที่นี้ ในกรรมฐานนี้ ไม่ปรารภในที่อื่น หรือสิ่งอื่น ไม่เพียรเจริญไปในที่อื่น หรือสิ่งอื่น ไม่สำเร็จบรรลุในที่อื่น หรือสิ่งอื่น มีแต่กรรมฐานนี้เท่านั้น เป็นที่ปรารภ เป็นที่เพียร เป็นที่สำเร็จ เมื่อกระทำได้บริบูรณ์เช่นนี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า มีความซื่อสัตย์ต่อกรรมฐาน กล่าวคือ ไม่หลง ไม่ทะยาน ไปในสิ่งอื่นอันนอกเหนือไปจากกรรมฐานนี้ และย่อมได้ชื่อว่า มีความเที่ยงตรงต่อกรรมฐาน กล่าวคือ มีกรรมฐานนี้เท่านั้นเป็นที่ตั้ง เป็นที่อาศัย เป็นอุบาย เป็นที่น้อมไป เป็นที่สงบ เป็นที่พิจารณา เป็นทั้งหมด และเป็นที่สุด

          แต่คนบางพวก มิได้เป็นเช่นนี้ กล่าวคือ มิได้มีความเที่ยงตรงต่อกรรมฐานที่ครูอาจารย์แสดงไว้ให้ เมื่อมิได้มีความเที่ยงตรงต่อกรรมฐานนั้น ก็ย่อมเจริญไป น้อมไป ไม่ถึงที่สุด เพราะอุปสรรค คือ กิเลสมารในจิต ทำให้ยากลำบาก ไม่ประสบผลสำเร็จ เมื่อเห็นว่า ทั้งยากลำบาก ทั้งไม่ประสบผล คือ ความสงบ สงัด สะอาด และสันโดษ ก็จึงเกิดความลังเล ไม่ทุ่มเทไป ไม่น้อมไปให้ถึงที่สุด บางพวกก็ลงความเห็นว่าความสงบไม่เป็นผล เช่นนี้แล้ว ก็เริ่มทะยาน ก็เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์อื่น อุบายอื่น หนทางอื่น กรรมฐานอื่น อันจะพึงเป็นที่เข้าได้แก่ตน เป็นที่สะดวกแก่ตน โดยมิได้พิจารณาให้แยบคายว่า อุบาย อันจิตที่ยังตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งกิเลสมารนั้น เห็นว่าสะดวก เห็นว่าน่าพึงพอใจนั้น จะพึงเป็นอุบายอันนำพาไปสู่สิ่งใด หรือสู่ที่ใดกันแน่? แทนที่จะอาศัยอุบายที่ต้านทาน ทำลายกิเลส ก็กลายเป็นแสวงหาอุบายที่ไม่ขัดขืนกิเลสไป แทนที่จะหาวิธีที่จะไม่ยินดียินร้าย ก็กลายเป็นแสวงหาวิธีที่น่ายินดีแก่ตน ดังนี้แล้ว เมื่อได้ศึกษาอุบายจากบางอาจารย์ บางสำนัก แล้ว ก็เห็นว่า สะดวก เข้ากับตนได้ดี กระทำได้ง่าย ก็เกิดความยินดีว่าเป็นอุบายที่เหมาะกับจริตของตน ก็น้อมใจไปตามนั้น โดยไม่ทราบว่าแท้จริงแล้ว อุบายนั้น มิได้เหมาะกับจริตของตนจริงๆ แต่เป็นอุบาย หรือวิธีที่มีความสอดคล้องกับกิเลสมารในจิตใจของตนเองมากกว่าต่างหาก เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เมื่อนานไป บางพวกก็ถูกตำหนิเตือนจากครูบาอาจารย์บางท่าน ก็สำนึกตน ถอยห่างออกจากกรรมฐานอันเกื้อกูลกิเลสของตนนั้น บางพวกก็ยังเพลิดเพลินต่อไป เพราะสำคัญว่าดีแล้ว ผลในเบื้องปลายก็ย่อมแตกต่างกันไปตามเหตุที่แต่ละบุคคลประกอบไป เป็นธรรมดา




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2009, 03:33:59 PM »


          สภาพบริสุทธิ์เดิมของจิตนั้น คือ สภาพรู้ ต่อมา เมื่อ จิต หลงสำคัญหมายมั่นไปในสิ่ง หรือในสภาพ ที่ตนรู้ มาเป็นตนเอง หรือเป็นของตน ด้วยเหตุคือ อวิชชา ก็ย่อมเกิดเป็นผลตามมาเป็นลำดับ จากจิตอันเป็นผู้รู้ เป็นธาตุรู้ อย่างบริสุทธิ์ ก็กลายเป็นสภาพที่ปรุงแต่ง เกิดดับ เปลี่ยนแปลง ไปตามสภาพอันปรวนแปรไปตามเหตุปัจจัย ของรูป และนาม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ กระแสของโลกนั้นเอง

          จิต อันเป็นธาตุรู้นั้น โดยแท้แล้ว หากจะอาศัยสภาพที่ตนรู้อยู่นั้น เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ไหวตามสภาพที่ตนรับรู้ จิต ก็จักตั้งอยู่ได้ ไม่สูญสลายไป หรือหากจะไม่อาศัยสภาพที่ตนรู้อยู่นั้น เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ไม่หยั่ง ไม่ไหว ไม่เคลื่อน ไม่แล่น ไปตามสภาพที่ตนรับรู้อยู่นั้น จิต ก็จักยังคงตั้งอยู่ได้ ไม่สูญสลาย เช่นกัน

          ส่วนสภาพ กระแส อารมณ์ หรือสภาพทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในโลกนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หรือปรวนแปร เปลี่ยนสภาพไปตามปัจจัยอันประกอบให้ปรากฏเป็นสภาพต่างๆ เป็นสภาพที่ตั้งอยู่ด้วยตนเองไม่ได้ เพราะต้องอาศัยปัจจัยอื่นประกอบ หรือหล่อเลี้ยง (บางที ก็กล่าวเรียกปัจจัยอันเป็นเหตุเหล่านั้น ว่า อาหาร) ดังนั้น เมื่อปัจจัยแปรปรวนเป็นอื่น สภาพเดิมนั้นก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ หรือมีอันต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านั้น เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นว่า ร่างกายของมนุษย์นี้ เกิดขึ้น หรือปฏิสนธิขึ้น ด้วยปัจจัยจากมารดา และบิดา เมื่อปฏิสนธิขึ้นแล้ว ก็มีความเจริญเติบโตบริบูรณ์ขึ้น ด้วยอาศัยอาหารเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยง ให้ตั้งอยู่ได้ ให้เจริญขึ้น เมื่อผ่านเงื่อนไขปัจจัยแห่งเวลา สังขารร่างกายนี้ ก็มีความเสื่อมลงเป็นลำดับ จนกระทั่งถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ สุดท้ายก็ไม่เป็นที่อาศัย ไม่เป็นที่ตั้งแห่งชีวิตอีกต่อไป ต้องเสื่อมสภาพแตกกระจายคืนสู่ผืนดิน คืนสู่ธรรมชาติ ต่อๆไป ตามเหตุอันเป็นปัจจัยของชีวิต ของธาตุ ของขันธ์ ของสังขารร่างกายนั้น เป็นธรรมดา เป็นสัจธรรม ดังนั้น สิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ที่เป็นของโลก ย่อมเป็นสิ่งต้องอาศัยการประกอบ การปรุงแต่ง มีความเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลง หรือปรวนแปรอยู่ เป็นธรรมดา หากว่า สิ่ง หรือ สภาพ หรือ ธรรม ทั้งหลายของโลกเหล่านี้ จะหยุดอาการปรุงแต่ง หยุดเคลื่อนไหว หยุดการเปลี่ยนแปลง โดยสนิทแล้ว ก็ย่อมที่จะถึงซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ดับ สลาย สูญหายไป หรือ ไม่ปรากฏเป็นสภาพนั้นอีกต่อไป

          เมื่อจิต อันเป็นสภาพรู้ ธาตุรู้ หรือเป็นผู้รู้อยู่นั้น สงบ หยุด นิ่ง ตั้งมั่น หรือว่าง สภาวะ หรือสภาพธรรมทั้งหลาย อันเป็นของโลก เป็นกระแสโลก เป็นโลกธรรม อันมีสภาพปรุงแต่งปรวนแปรอยู่เป็นธรรมดา ไม่เคยหยุด ก็จะปรากฏสภาพชัด เมื่อนั้น สภาพที่จิต หรือผู้รู้ เป็นสิ่งหนึ่ง ส่วนสภาพที่ถูกรู้นั้น เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ก็จะปรากฏแก่จิต ที่กล่าวว่าปรากฏแก่จิตนั้น ปรากฏอย่างไร?  ก็ปรากฏโดยสภาพว่า ทั้งหลายที่จิตนี้รู้อยู่ เห็นอยู่ ว่าเคลื่อนไหว ว่าเปลี่ยนแปลง ว่าแปรปรวนอยู่ กล่าวคือ ไม่หยุด ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ จิต เพราะ จิต หยุดอยู่ ว่างอยู่ ในขณะนั้น กล่าวคือ ไม่ปรวนแปรไปตามสภาพที่ตนรู้เห็นอยู่ เมื่อเห็นอย่างนี้แล้ว ย่อมกำหนดได้โดยปริยาย ว่า สิ่งใด คือ จิต สิ่งใด ไม่ใช่จิต หรือ สิ่งใด ไม่ปรุงแต่ง(จิต) สิ่งใดที่ปรุงแต่งอยู่(สภาพที่จิตรู้เห็นอยู่)

          ดังนั้น สมถะ ย่อมเป็นไปเพื่อความดับกิเลส ตัณหา เมื่อกิเลส ตัณหาดับลงแล้ว จิตย่อมเข้าถึงความหยุด ความตั้งมั่น ความไม่เคลื่อนไป แห่งจิต วิปัสสนา ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ชัด ในสภาพอันปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลาเหล่านั้น ด้วยความไม่เคลื่อน หรือไม่ปรุงแต่งไปตาม เมื่อสมถะบริบูรณ์พอ วิปัสสนาบริบูรณ์พอ ปัญญา ก็ย่อมเกิด ก็ปัญญาอย่างไร ที่กล่าวว่า ย่อมเกิด?  ก็คือความปล่อยวางในสภาพธรรมอันปรากฏชัด ตั้งอยู่ต่อหน้า เพราะรู้ชัดว่า ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิต ไม่เป็นที่หยั่งลงแห่งจิต อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ จิต น้อมหยั่งลงในความเป็นอมตะ กล่าวคือ ไม่ปรวนแปรเกิดดับไปตามสภาพ อันเป็นเหตุปัจจัยใดๆในโลก

          เมื่อขณะใด ที่จิตไม่ขยับเขยื้อน สิ่งใดที่ขยับเขยื้อน สิ่งนั้น ไม่ใช่จิต

          เมื่อขณะใด ที่จิตไม่เคลื่อน สิ่งใดที่เคลื่อน สิ่งนั้น ย่อมไม่ใช่จิต


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2009, 02:27:49 PM »


          ความตั้งมั่น ๑ ความรู้ชัด ๑ และความปล่อยวาง(ในสภาพธรรมอันปรากฏ) ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นธรรมที่มีอุปการะคุณอย่างยิ่งในการปฏิบัติภาวนาจิต เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อความบริสุทธิ์จากตัณหา และทิฐิ ทั้งหลาย ในโลก เป็นลำดับ ตั้งแต่โดยชั่วคราว หรือโดยบางส่วน ไปจนกระทั่งโดยถาวร หรือโดยทั้งสิ้น

          อย่างไรคือ ตั้งมั่น ?  ก็คือความรักษาเจตจำนงค์ได้อย่างมั่นคง หนักแน่น แน่วแน่ ในอันที่จะรู้สิ่งนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่คลาดเคลื่อน โดยไม่หวั่นไหวตาม ไม่คล้อยตาม ไม่สัดส่าย ไม่ทะยานออกไปตามสิ่งอื่น เช่นว่า ไม่ว่าสิ่งที่เราเฝ้ามอง หรือเฝ้ารู้อยู่นั้น จะปรวนแปรอย่างไรก็ตาม แต่เรา คือ ผู้รู้อาการทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ มิได้มีความปรวนแปรไปตามสภาพที่ปรากฏอยู่ต่อหน้านั้นเลย หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การเฝ้ารู้อยู่อย่างไม่หวั่นไหว ไม่ถือเป็นอารมณ์ไปตาม นั่นเอง ผลก็คือ ความรับรู้ในสิ่งที่ปรวนแปรอยู่ โดยที่จิตหยุดนิ่งอยู่นั่นเอง และเมื่อจิตรับรู้ หรือเฝ้าดูสิ่งใดอยู่อย่างตั้งมั่นดีพอแล้ว ความรู้ชัดในสิ่งนั้น ย่อมเกิดขึ้น

          อย่างไรคือ ความรู้ชัด ?  ความรู้ชัดในสิ่งใดก็ตาม ก็คือ ความรู้จริง ความรู้ชัด ในสภาพ ในลักษณะ ในอาการ ทั้งโดยรวม และโดยความเป็นองค์ย่อย อันประกอบตั้งอยู่ในสิ่งนั้น หรือเป็นองค์ประกอบให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น เป็นไป ดำเนินไป หรือแม้แต่ความเป็นองค์ประกอบให้สิ่งนั้นเสื่อมไปก็ตาม ก็ย่อมรู้ในสิ่งนั้นด้วย ตามสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏ ซึ่งความรู้ชัดอย่างนี้ จะเกิดขึ้นแก่เราได้ ก็เมื่อเรารู้ในสิ่งนั้นอยู่ด้วยความชัดเจน กล่าวคือ รู้อย่างไม่คลุมเครือ รู้อย่างไม่เดา ไม่ต้องคะเน ไม่ต้องคิดไปล่วงหน้า รู้ชัดแต่เฉพาะสภาพที่ปรากฏจริงอยู่ต่อหน้าเราเท่านั้น หรือกล่าวอีกอย่างว่า รู้อย่างเป็นกลาง หรือรู้อย่างไม่ปรุงแต่งไปตาม นั่นเอง ซึ่งการรู้ชัดตามสภาพความเป็นจริงอย่างนี้ จะมีได้ก็ต่อเมื่อจิต หรือเรา อันเป็นผู้รู้อยู่นั้น มีความตั้งมั่นมากพอแล้ว นั่นเอง และเมื่อมีความรู้ชัดได้อย่างเพียงพอแล้ว ปัญญา อันเป็นเครื่องตัด เครื่องระงับ หรือเป็นเครื่องปล่อยวางในสภาพธรรมนั้น ย่อมเกิดขึ้น

          อย่างไรคือ ปัญญา อันเป็นเครื่องปล่อยวางในสภาพธรรมนั้น ?  ปัญญา ก็คือ ความรู้่ชัด ในสภาพ และในหลักการของสภาพนั้น หรืออีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การรู้ความเป็นจริงในสภาพนั้น อย่างถ่องแท้นั่นเอง อวิชชา ก็คือ ความหลง ความไม่รู้ชัดความเป็นจริง หรือความหลงลืมในความเป็นจริงของสิ่งใดๆ แล้วจึงเป็นเหตุให้หลง ให้ตาม ให้ทะยาน ให้เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งๆนั้น ดังนั้น เมื่อความรู้ชัดในสภาพ และในหลักการ ตามความเป็นจริงของสิ่งใดปรากฏแก่จิต จิตย่อมพ้นไปจากอวิชชาในสิ่งนั้น ผลก็คือ ความปล่อยวาง ความไม่ยึดมั่นถือมั่น ความพ้นไป ความไม่ติดใจ ฯลฯ ในสิ่งๆนั้น อย่างไรก็ดี สังเกตว่า การพยายามปล่อยวางในธรรมต่างๆ ด้วยความเชื่อ หรือด้วยความรู้สึก นึก คิด คะเน โดยทั่วๆไปแล้ว ยังไม่เรียกว่าปล่อยวางได้ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง เพราะเหตุใด? ก็เพราะเหตุว่า บุคคล ไม่อาจปล่อยวางสิ่งใดได้อย่างแท้จริง อย่างมั่นคง หรืออย่างเด็ดขาดได้เลย หากไม่รู้ชัดในสภาพความเป็นจริงของสิ่งนั้นได้เสียก่อน หรือหากรู้เพียงบางส่วน ก็จะปล่อยวางได้เพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่มั่นคงจริง ไม่หมดไปจริง

          บุคคล ผู้ไม่รู้ชัดในสภาพของสิ่งใด ย่อมไม่พ้น ตัณหา ในสิ่งนั้น บุคคล ผู้ไม่ประมวลรู้ชัดในหลักการของสิ่งๆใด ย่อมไม่พ้น ทิฐิ ในสิ่งๆนั้น และโดยปริยาย ผู้ไม่รู้ชัดเจนทั่วถึงในสภาพของสิ่งๆใด ย่อมไม่อาจประมวลเพื่อรู้ชัดในหลักการของสิ่งๆนั้นได้จริงเลย

          ดังนั้น ผู้กระทำความเพียร ไม่ท้อถอย ในการที่จะฝึกฝนอบรมภาวนาจิตใจของตน ให้เจริญ ให้บริบูรณ์ไปด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ประกอบด้วยความตั้งมั่น ๑ ด้วยความรู้ชัด ๑ และด้วยความปล่อยวางด้วยปัญญา ๑ ทั้ง ๓ ประการนี้ ย่อมสำเร็จเป็นผลได้มาก ย่อมมีศีลมาก ย่อมมีสมาธิมาก ย่อมมีปัญญามาก ย่อมปล่อยวางได้มาก ย่อมพ้นไปจากทุกข์ได้มาก จนกระทั่ง ถึงที่สิ้นสุดแห่งทุกข์โศกอย่างมั่นคงเด็ดขาดไปได้ ในที่สุด


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2009, 11:07:56 PM »


          คำว่า จิตสงบ นี้ หมายถึง จิตไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆด้วยอำนาจของกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย

          ความที่ จิตสงบ นี้ มีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับของปุถุชน ไปจนถึงระดับที่บรรลุถึงอริยะสัจจ์ ๔ ประการ

          ในหลักการภาวนาจิตนั้น ความที่จิตสงบ ไม่ได้หมายถึงการที่จิตไม่รับรู้อะไรเลย แต่หมายถึงจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ เมื่อไม่ฟุ้งซ่านติดตามอารมณ์ต่างๆไป ก็ย่อมอยู่กับที่ กล่าวคือ ตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่นดีแล้ว ความรับรู้ของจิต ที่เรียกว่า สติ นั้น ก็ย่อมเป็นสติที่มั่นคง ที่ว่ามั่นคงนั้นก็คือ การรู้ในสิ่งต่างๆโดยไม่หลงใหลไปตาม ก็จะรู้เห็นสภาพของสิ่งที่จิตรับรู้อยู่นั้น ได้อย่างถูกต้อง เที่ยงตรง ตามความเป็นจริง

          เมื่อจิตสงบ ย่อมเห็นกิเลส เพราะไม่หลงใหลไปตามกิเลส เมื่อจิตไม่สงบ จิตย่อมเป็นสิ่งเดียวกันกับกิเลส เพราะหลงไปตามกัน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2009, 12:43:40 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2009, 04:21:56 PM »


          ผู้ปฏิบัติศึกษาเพื่อการอบรมพัฒนาจิตใจของตน ด้วยการเจริญสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน ทั้งหลาย เมื่อปฏิบัติไป ก็ย่อมรู้เห็น หรือผ่านประสบการณ์ทางจิตใจด้วยตนอย่างมากมาย เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เท่าทันบ้าง ไม่เท่าทันบ้าง เรียบง่ายบ้าง แปลกพิศดารบ้าง สม่ำเสมอบ้าง แปรปรวนบ้าง ปลอดโปร่งบ้าง ต้องอาศัยขันติบ้าง อยู่ในความคาดหมายบ้าง ไม่อยู่ในความคาดหมายบ้าง น่ายินดีบ้าง ไม่น่ายินดีบ้าง ฯลฯ เป็นไปตามนิสัย จริต วาสนา วิบาก และเหตุปัจจัยอันประกอบ หรือปรากฏส่งผลอยู่ในขณะนั้น เป็นธรรมดา แต่ไม่ว่าในขณะบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่นั้น จะปรากฏเป็นสภาพอย่างใดๆก็ตาม ทั้งหลายนั้นล้วนเป็นสัญญา อันประกอบด้วยเวทนาบ้าง ไม่ประกอบอยู่ด้วยเวทนาบ้าง ผู้ภาวนาควรเข้าใจอย่างถูกต้องว่า เป้าหมายสูงสุดของการเพียรภาวนานั้น ก็คือ ความเป็นปกติสุข(ไม่ใช่สุขเวทนา)ของใจ บุคคลทั้งหลายที่ประกอบการวนเวียนอยู่นี้ ล้วนมีความไม่ปกติของใจ ทำให้เป็นทุกข์ หรือแ้ม้จะมีสุึขบ้าง ก็เป็นเพียงสุขปลอมๆ กล่าวคือ เป็นเพียงสุขเวทนา อันอาศัยสัญญาอันไม่เที่ยง เป็นปัจจัยให้เกิด ส่วนสุขที่เกิดจากความเป็นปกติของใจนั้น ก็คือ ความที่จิตใจตั้งอยู่ รู้อยู่ อย่างเป็นปกติ โรคภัยทั้งหลายอันเป็นทุกข์ในโลกก็ย่อมไม่เบียดเบียนจิตตน ก็ย่อมเป็นสุข เป็นธรรมดา อย่างนี้คือ ความสุขที่เกิดจากความเป็นปกติของใจ หรือกล่าวว่าคือ ความปกติสุขของใจ นั่นเอง

          ก็อย่างไรคือ ปกติ? ก็คำว่า ปกติ ในที่นี้ หมายถึง ความตั้งอยู่เป็นปกติของจิตใจ อย่าไปสับสนปนเปกับความเป็นปกติของโลก เพราะปกติของโลกนั้น อาศัยปัจจัยในโลกให้เป็นไป หรือบางทีก็ว่า ให้เกิดขึ้น ให้ตั้งอยู่ ให้ดับไป ก็เพราะเหตุว่า ปัจจัยทั้งหลายในโลกนั้น มีปกติปรวนแปร ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยตนเอง เช่นว่า ธรรมชาติฝนตก ก็อาศัยความชื้น ความชื้นก็อาศัยน้ำ และอุณหภูมิ จึงจะเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เกิดลม เกิดฝน ปรวนแปรไปต่างๆนานา ฯลฯ ดังนั้น ความเป็นปกติของโลก ก็คือ ความเปลี่ยนแปลง ปรวนแปร ไม่แน่นอน ตั้งอยู่ไม่ได้ด้วยตนเอง มีเกิดขึ้น มีตั้งอยู่ แล้วก็มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา"ของโลก" ส่วนความเป็นปกติของจิตใจนั้น ในที่นี้หมายถึง ความที่จิตใจตั้งอยู่ได้ในตนเอง ด้วยตนเอง อาศัยตนเองเป็นปัจจัย ไม่ใช่โลก ไม่ปรวนแปรไปตามโลก ไม่อาศัยโลก ก็จะตั้งจิตตนอยู่ได้โดยมั่นคง ไม่ปรวนแปร ไม่เสื่อมไปตามความเป็นไปต่างๆในโลก ส่วนจิตใจที่ยังหลงสุดโต่งอยู่ในกระแสโลกนั้น ก็จะมีปกติปรวนแปร เป็นทุกข์ มีความเสื่อมไปได้ ตามปกติของโลก แต่อย่างนี้ ไม่เรียกว่า เป็นจิตใจที่เป็นปกติ แต่เรียกว่า เป็นจิตใจที่ทุกข์ร้อนไปตามปกติของโลกต่างหาก เมื่ออย่างนี้แล้ว จิตใจก็ย่อมมีปกติทุกข์ร้อนอยู่ เป็นธรรมดา ไม่เป็นจิตใจที่ปกติสุข

          ดังนั้น ผู้ภาวนาอย่างถูกต้อง ก็จะมีประสบการณ์ของตน ในความรู้เห็นในสิ่งที่ประกอบมาของจิตตน อาจเป็นสิ่งที่ระลึกได้มาก่อนบ้าง ไม่เคยระลึกได้มาก่อนบ้าง ฯลฯ ก็เป็นธรรมดา ก็อย่าไปลังเล อย่าไปสงสัย อย่าไปติดใจอย่างสุดโต่ง ให้พิจารณาเอาตามสมควรแก่ตนว่า สิ่งใดควรน้อมไปพิจารณาเพื่อความเป็นปกติของจิตใจ อันเป็นประโยชน์ สิ่งใดควรสลัดคืน หรือปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่เหลียวหลัง เพื่อความไม่เสียประโยชน์ หรือเพื่อความไม่ฟุ้งซ่านถอยหลัง พึงทราบว่า สิ่งที่พิจารณาไปเพื่อความไม่ติดใจ นั้นมีอยู่ และสิ่งที่พิจารณาไปเพื่อความหลงเพลิดเพลิน หรือติดใจ นั้นก็มีอยู่เช่นกัน ควรพิจารณาจำแนกให้แยบคาย ก็สิ่งที่พิจารณาไปแล้ว ผลคือ ความเป็นปกติของจิตใจ ก็แสดงว่า สิ่งนั้น พิจารณาเพื่อความไม่ติดใจ เพื่อความไม่ติดขัด แต่หากสิ่งใดที่พิจารณาไปแล้ว ผลคือ ความไม่เป็นปกติของจิตใจ ก็แสดงว่า สิ่งนั้น เป็นสิ่งพิจารณาเพื่อความติดขัดฟุ้งซ่านของจิตใจ นอกเหนือไปกว่านี้ยังมีอีก ก็คือ ในบางกรณี มีบางสิ่งที่บุคคลควรพิจารณาเพื่อความไม่ติดขัดของจิตใจ แต่เมื่อน้อมพิจารณาตามไปแล้ว กลับได้ผลคือ ความติดขัดฟุ้งซ่านของจิตใจ นั่นก็เป็นเพราะ พิจารณาไม่ดีพอ ไม่แยบคายพอ หรือจิตใจที่พิจารณาอยู่นั้น ยังไม่ตั้งมั่นบริสุทธิ์มากพอ ผลจากการพิจารณาก็ย่อมแตกต่างกันไป ทั้งหลายนี้ ก็แสดงไว้ เพื่อเป็นหลักเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เพื่อป้องกันความประมาท เพื่อป้องกันความละเลยไม่พิจารณาในสิ่งควรพิจารณา และเพื่อป้องกันความยึดมั่นถือมั่นอย่างสุดโต่ง ในการปฏิบัติพิจารณาสภาพธรรมต่างๆที่ปรากฏแก่จิตตนในระหว่างการภาวนา แต่ในรายละเอียดนั้น ต้องอาศัยประสพการณ์ และปฏิภาณของแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมา

หมายเหตุ  เรื่องความเป็นปกติธรรมชาติของจิตใจนั้น ในปัจจุบัน มีผู้ยังเข้าใจผิดพลาด หรือคลาดเคลื่อนอยู่เป็นอันมาก ด้วยเหตุคล้ายๆกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง แล้วแต่บุคคล คนบางพวกหลงเข้าใจผิดสุดโต่งไปว่า การจะมีปัญญาแทงตลอดในธรรม เข้าถึงธรรมชาติ นั้น ต้องตามรู้กายใจของตนไปด้วยความไม่กำหนด ไม่จัดการ ไม่ควบคุมบังคับ โดยอ้างว่า ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการแทรกแซงความเป็นจริง หรือจะกลายเป็นการปรุงแต่งแทรกแซงสภาวะธรรมให้คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เดี๋ยวจะกลายเป็นการกดข่มด้วยสมถะไป ก็จะไม่มีทางเกิดปัญญา เป็นเพียงแค่หินทับหญ้า ก็สุดโต่งกันไป หลงกันไป โดยมิได้เฉลียวใจว่า ปกติจิตของพระอรหันต์ กับปกติจิตของปุถุชนนั้น แตกต่างกันอย่างยิ่ง เพราะปกติจิตของพระอรหันต์นั้น ไม่ยึดติดกับโลกธรรมเป็นที่ตั้ง ส่วนปกติจิตของปุถุชนนั้น ยึดติดกับโลกธรรมเป็นที่ตั้ง มากบ้าง น้อยบ้าง หยาบบ้าง ประณีตบ้าง แต่ก็ล้วนยึดติดกับโลกธรรมเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น ดังนั้น หากเป็นปกติจิตของพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องฝืนบังคับ เพราะบริสุทธิ์อยู่ ไม่ต้องอบรมขัดเกลาพัฒนา เพราะมีปกติไม่เป็นไปเพื่อทุกข์ ส่วนปกติจิตของปุถุชนนั้น ควรฝืนบังคับ เพราะเจือกิเลสตัณหาอยู่ ควรอบรมขัดเกลาพัฒนาให้มาก ให้หนัก เพราะมีปกติเป็นไปเพื่อทุกข์อยู่ ดังนั้น เมื่อสอนให้ปุถุชน หรือผู้ที่ยังไม่บรรลุพระนิพพานธรรมนั้น ให้เป็นผู้มีเจตนาอยู่เสมอๆว่าจะไม่ฝืนบังคับ ไม่กำหนดอบรมขัดเกลา แก้ไข และพัฒนาจิตตน ให้กดข่ม หรือสลัดคืนกิเลสตัณหาในจิตตนแล้ว ก็ย่อมเท่ากับเป็นการสอนให้ผู้อื่นคล้อยตามไปตามความเสื่อมแห่งจิตใจตนด้วยอำนาจแห่งกิเลสตัณหาที่ตนยังไม่กำจัดออกจากจิตใจของตน อย่างนี้แล้ว เมื่อสัมปรายภพ ก็ย่อมมีทุกข์คติเป็นที่ไป เป็นธรรมดา ที่จริงแล้ว ปุถุึชนย่อมมีปกติเจืออยู่ด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ อันเป็นเครื่องครอบงำจิตใจให้ขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ โมฆะบุรุษบางพวกย่อมสอนผู้เชื่อตาม ให้มีสติรู้กิเลสอยู่เฉยๆ ไม่ไปจัดการอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้ โดยอ้างคำว่า รู้อย่างเป็นกลางๆ โดยหารู้ไม่ว่า จิตใจที่เจืออยู่ หรือครอบงำอยู่ หรือกำเริบอยู่ ด้วยกิเลสตัณหาเหล่านี้ ไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้อยู่โดยเป็นกลางๆได้จริงอย่างที่ฟัง หรือท่องจำกันมา เพราะจิตใจที่เป็นกลางๆอย่างที่ถูกต้องก็คือ จิตใจที่ตั้งมั่นอยู่ รู้ชัดอยู่ ด้วยความบริสุทธิ์ สะอาด และกระจ่างผ่องแผ้ว จิตใจอย่างนี้ เมื่อรู้เห็นพิจารณาในสิ่งใดๆ จึงจะรู้ในสิ่งนั้นได้ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่รู้ด้วยการปรุงแต่งแทรกแซง เปรียบอุปมาว่า เมื่อนำช้อนอันสะอาดมาตักอาหารที่สะอาดเพื่อรับประทาน อาหารนั้น ก็ย่อมสะอาด แต่หากนำช้อนที่ยังสกปรกอยู่ ไม่ได้ชำระล้างมาให้สะอาดเป็นอย่างดีเสียก่อน จะตักอาหารที่ปรุงมาสะอาดเพียงใด เมื่อนำช้อนนั้นตักอาหารเข้าปากตนแล้ว อาหารนั้นก็ย่อมสกปรกเป็นธรรมดา

          ธรรมชาติของจิตใจอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่ ดีอยู่แล้วนั้น ไม่ควรไปฝืน แต่ธรรมชาติของจิตใจอันสกปรกแปดเปื้อนอยู่ เลวอยู่นั้น ควรฝืนบังคับตามกำลังความสามารถ และสติปัญญาของตนเป็นอย่างดี


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 21, 2009, 11:31:12 PM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 06:10:13 PM »


          ปุถุชนทั้งหลาย เมื่อมีสติอยู่ ย่อมมีเครื่องอันหมายเป็นอารมณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะกำหนดได้บ้าง หรือไม่ได้บ้าง ก็ตาม นี่เป็นสภาพปกติทั่วไปของปุถุชน เมื่อเครื่องอันหมายเป็นอารมณ์แก่จิตอยู่ในขณะนั้น ไม่ปรากฏชัดไปในทางใดทางหนึ่งว่า น่ายินดี หรือน่ายินร้าย อย่างที่บางทีเรียกกันว่าอุเบกขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่า อารมณ์ที่ตนรู้สึกว่าเฉยๆอยู่ในขณะนั้น คือ ความไม่มีอารมณ์ หรือความไม่เป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ที่จริงแล้ว ยังมีเครื่องอันหมายเป็นอารมณ์อยู่ตลอดนั่นเอง แม้แต่ในขณะที่กำลังเคลิ้มๆอยู่ หรือในขณะที่กำลังฟุ้งซ่านแบบไม่เป็นเรื่อง ไม่เป็นราว ไม่เป็นชิ้น ไม่เป็นอัน คล้ายกับว่าไม่ได้คิดถึงเรื่องใดสิ่งใดอยู่เลย ฯลฯ เหล่านี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยังมีเครื่องอันหมายเป็นอารมณ์อยู่นั่นเอง

          เครื่องอันจิตหมายเอาเป็นอารมณ์อยู่นั้น ท่านเรียกว่า นิมิต คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่แก่จิต เป็นเครื่องระลึกน้อมไปเป็นอารมณ์แห่งจิต ดังนั้น ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมมีนิมิต อันเป็นเครื่องหมายเป็นอารมณ์อยู่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเจตนาอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม (ด้วยเหตุอย่างนี้นี่เอง การกำจัดอาสวะกิเลสออกจากจิตนั้น จึงต้องอาศัยการเพียรภาวนาอบรมจิตใจ ไม่ใช่ว่าแค่ไม่คิดอะไรแล้ว อาสวะจะไม่มี)

          ทีนี้ วิธีที่จะภาวนาอบรมจิตใจให้เกิดปัญญา เพื่อความหลุดพ้น เพื่อความสิ้นไปแห่งกองอาสวะทั้งหลายได้นั้น ก็ต้องทำจิตใจให้บริสุทธิ์เป็นธรรมชาติเสียก่อน (เน้นว่า ให้เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ หมายความว่า ไม่ใช่ธรรมชาติแบบกิเลสอาสวะ) และจิตจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็ควรเป็นจิตที่ไม่กระวนกระวาย ไม่สัดส่าย และไม่ทะยานไปเป็นตัณหา เสียก่อน แต่สภาพเช่นนี้มักเป็นไปได้ยากแก่ปุถุชนทั่วไปที่มิได้ฝึกฝนอบรมจิตใจของตนมาเป็นอย่างดีแล้ว ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุอันเป็นอุปสรรค คือ อกุศลวิตกทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้กระวนกระวาย ตั้งอยู่ได้ยาก และทะยานไปเป็นตัณหาอันฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจแห่งเวทนา และเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งอกุศลวิตกทั้งหลายเหล่านั้นก็เป็นนิมิตอย่างหนึ่งเช่นกัน ในที่นี้ จะขอเรียกนิมิตประเภทนี้ว่า กิเลสนิมิต และด้วยปัญหาคือ กิเลสนิมิต นี้เอง เราจึงอาศัยนิมิตอย่างอื่นเพื่อเป็นอุบาย เป็นที่ตั้ง เพื่อความดับ ความละ ความไถ่ถอนไป จากกิเลสนิมิตอันเ็ป็นเหตุแห่งอกุศลวิตกเหล่านั้น เพื่อความน้อมไปในกุศลวิตก อันเป็นเครื่องไม่กระวนกระวาย ตั้งอยู่ได้ง่าย และไม่ทะยานไปเป็นตัณหาความฟุ้งซ่าน อันเป็นอกุศล นิมิตชนิดหลังนี้ ท่านบัญญัติเรียกว่า สมาธินิมิต ด้วยเหตุอย่างนี้เอง สมาธินิมิตจึงเป็นสิ่งที่ควรเจริญให้เกิดขึ้น ให้ยิ่งๆขึ้นไป จนกระทั่งบริบูรณ์ ทั้งๆที่เมื่อถึงที่สุดแล้วท่านก็สอนให้ดับ ให้ละ ให้ถอน ซึ่งนิมิตทั้งหลายทั้งปวงในจิตตนลงเสียทั้งหมด ด้วยจิตตน

          ก็สรุปว่า เมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็ควรปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในนิมิตใดๆเลย แต่เมื่อยังไม่ถึงที่สุด ก็ต้องอาศัยสมาธินิมิตนี้ไปก่อน เพื่อเป็นเครื่องป้องกันข้าศึก คือ อกุศลวิตก หรือกิเลสนิมิต และเพื่อเป็นหลัก เป็นฐาน เป็นที่ตั้ง เป็นอุปการะ แห่งหน้าที่การงานของจิตใจในความเพียรที่จะบรรลุถึง ปัญญา ที่จะเป็นเครื่องกำจัดตัณหา และโมหะอวิชชา อันเป็นเครื่องให้ยังต้องวนเวียนว่ายตายเกิด ให้สิ้นไปจากจิตตน รวมความว่า สมาธินิมิตนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จักต้องเจริญให้มาก ให้บริบูรณ์ จนกว่าจะถึงที่สิ้นสุดแห่งกองทุกข์โดยบริบูรณ์ และถาวร


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง