ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน
| |-+  ธรรมะ โดย ท่านวสันต์
| | |-+  อะไรคือ ขันธ์ ๕
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อะไรคือ ขันธ์ ๕  (อ่าน 114399 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2008, 01:24:16 PM »

สับสนเรื่องความหมายของสังขารในขันธ์ห้าครับ

โปรดเมตตาสัตว์ผู้ลำบากด้วยทุกข์ด้วยเถอะครับ
พระพุทธเจ้าท่านทรงจำแนก ร่างกายเราออกเป็นส่วนต่างๆ เพื่อให้เรากำหนดรู้ได้ง่าย ใช่หรือป่าวครับ โดยแยกออกเป็นขันธ์ห้า  ผมมีความเข้าใจดังนี้
        1. รูป  หมายถึงรูปกาย ของเรานี้แหละ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับรู้
        2. เวทนา คืออารมณ์ เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์
        3. สัญญา คือความจำ เรื่องราวต่างๆ และความหมายรู้ สิ่งต่างๆ
        4. สังขาร คือ การปรุงแต่ง ต่าง ๆ ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี
        5. วิญญาณ หมายถึง การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
คือผมเข้าใจมาอย่างงี้ (จากการอ่านครับ ไม่ใช่รู้จริง)แล้วพอดีสนทนาเรื่องธรรมะ กับเพื่อน เรื่องขันธ์ห้า หน่ะครับ
ก็คุยกันถึงการจำแนก เข้ามาใส่ อาการต่างๆ ของตัวเรา ผมก็บอกเพื่อนไปว่า สังขาร คือการที่เราพูดนี้แหละ คือสังขาร  การที่เรากระทำนี้แหละ คือสังขาร และการที่เราคิดหรือปรุงแต่งจิตไปต่างๆนี้แหละคือสังขาร  เพื่อนบอกว่าผมเข้าใจไม่ถูก เพื่อนบอกว่าสังขารคือ เจตสิกจิต 50 หรือ 60 นี้แหละ  ลมหายใจก็เป็นสังขาร ความฟุ้งซ่านก็เป็นสังขาร และอะไรอีกมากมายจนผมมึนไปหมด
       ผมก็เลยสงสัยครับว่าอะไร คือความหมายที่แท้จริง ที่ตรงกะพระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ ขอท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดให้ความอนุเคาะห์ แก่กระผมผู้โง่เขลา ให้ได้รับความกระจ่างในข้อธรรมด้วยเถอะครับ สับสนมากเลยครับ





เรากล่าวว่า ท่านไม่ควรสำคัญ ว่า ขันธ์ ทั้ง ๕ เป็นของเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู หรือสัมผัสทางกาย แต่ประการใด
เรากล่าวว่า รูปขันธ์ คือ ภาวะอันมีอะไรก็ตาม ปฎิสนธิ ที่ใด ทำให้ที่นั้น มีรูป แต่รูปขันธ์มิใช่รูป
ก็สังขารขันธ์ คือ ภาวะอันมีอะไรก็ตาม ปฎิสนธิ ที่ใด ทำให้ที่นั้น มีสังขาร คือ มีการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง  แต่สังขารขันธ์ มิใช่การเคลื่อนไหว
ก็สัญญาขันธ์ คือ ภาวะอันมีอะไรก็ตาม ปฎิสนธิ ที่ใด ทำให้ที่นั้น มีสัญญา คือ มีการรักษาไว้ได้และ ความเป็นไปเฉพาะ เช่นวิบาก  กรรมทั้งหลาย และ การทำให้มีขึ้น เช่น อธิษฐาน แต่ สัญญามิใช่สัญญาขันธ์
ก็ เวทนาขันธ์ คือ ภาวะอันมีอะไรก็ตาม ปฎิสนธิ ที่ใด ทำให้ที่นั้นมีเวทนา คือ มีกำลัง มีความทนทาน แต่ เวทนา ไม่ใช่เวทนาขันธ์
ก็ วิญญาณขันธ์ คือ ภาวะอันมีอะไรก็ตาม ปฎิสนธิ ที่ใด ทำให้ที่นั้น มี วิญญาณ คือ รู้ความสืบต่อกัน ไม่ขาดจากกัน แต่ วิญญาณ ไม่ใช่วิญาณขันธ์



วสันต์ 28 มี.ค. 50

บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 18 คำสั่ง