ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน
| |-+  ธรรมะ โดย ท่านวสันต์
| | |-+  สีลพตปรามาส เป็นอย่างไร?
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สีลพตปรามาส เป็นอย่างไร?  (อ่าน 8164 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2008, 05:49:10 PM »

การทำลาย เชือก ที่ร้อยรัดใจ ของทุกคน
คนธรรมดา  ที่ .  .  .  .   .  .สำเร็จความรู้ระดับที่เรียกว่า โสดาบัน  จะ สามารถ ทำลายสิ่งที่ผูกพันใจ  หรือ เชือกที่ร้อยรัดจิตใจ ไม่ให้เป็นอิสระได้ 5 ประการ
5 ประการมีอะไรบ้าง (สังโยชน์ 5 ส่วนต้น ตามนัยพระอภิธรรม)
1. เชือก ที่ดึงใจให้เห็นว่า กลุ่มที่เป็นที่ตั้งของชีวิตทั้ง 5 (ขันธ์ 5เป็นของเรา)  มันคอยดึงใจ ให้เห็นว่า มีเราอยู่ในเหตุการณ์ และดึงใจให้มีทรรศนะต่อความเป็นจริงในทางที่ผิด (สักกายทิฏฐิ)
2. เชือก ที่ดึงใจให้มีความลังเลสงสัยในความเป็นจริง  (วิจิกิจฉา)
3. เชือก เส้นที่ดึงใจไปในข้อปฏิบัติที่ผิด  เช่น การดูดวง การเสริมดวง เป็นต้น
4. เชือก ที่ดึงให้ใจ มีความอิจฉา สิ่งที่ "คนอื่น" มี แต่ "เรา" ไม่มี
5. เชือก ที่ดึงให้ใจมีความหวงแหน เพราะคิด ว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นของ ๆ ตน
เชือกทั้ง 5 เส้นนี้  พระโสดาบันสามารถตัดได้ขาดสะบั้น ในครั้งเดียว
พระโยควจร อาจตั้งคำถามว่า ทำไม ถึงตัดฉับ 5 สิ่งนี้ได้ในครั้งเดียวทีเดียว ?
คำตอบ  เป็นเพราะว่า  เพราะทั้ง 5 สิ่งนี้ ตั้งอยู่ในฐานที่เนื่องกัน  พัวพันกัน  และโยงใยซึ่งกันและกัน
อย่างไร   ?
สักกายทิฏฐิ คือ  ความเห็นว่าขันธ์ และสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวของเรา  เช่นเห็นผิดไปว่า ร่างกาย เป็นร่างกายเรา (เหมาเองว่าเป็นร่างกายเราทั้งที่เราไม่ได้สร้างมันขึ้นมาเลย)  เห็นว่า เส้นผม หน้าตา  รูปร่าง  ความทรงจำ  การคิด และการรับรู้เป็นของเรา  (ทั้งที่เราไม่ได้เป็นคนสร้างสิ่งเหล่านั้นมาเลย)  เป็นเหตุเกิด ทิฏฐิ สีลพตปรามาส วิจิกิจฉา ความอิจฉา และความตระหนี่  ความเห็นว่าขันธ์ เป็นตัวเรา  เป็นเหตุให้  เกิดทิฏฐิ เพราะเมื่อมีความพัวพันอยู่กับตน ใจย่อม วนอยู่ภายใน และ "เดา" สิ่งที่เกิดขึ้น จาก "ความเป็นตัวตนนั้น"  จึงเกิดความเห็นที่เกิดจากการเดา เพราะความเป็นตัวตนนั้น 62 อย่าง เรียกว่า ทิฏฐิ 62  เช่น โลกเที่ยง พระเจ้าสร้าง โลกไม่มีเหตุ  สัตว์ตายแล้วเกิดอีก  สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีก  เป็นต้น
     เมื่อมีความเห็นที่เนื่องกับ "ตน" ความลังเลสงสัย ใน "ทางออกจากตน" ย่อมมีตามมา  เพราะ คิด โดยอาศัย "ตน" แต่ไม่ได้อาศัย การรู้ตามความเป็นจริง
เมื่อเกิดความเห็นที่เป็นเรา ของเรา  ย่อมมีความเห็นเช่นเดียวกันว่า สิ่งที่อยู่กับคนอื่น ย่อมเป็นของคนอืน    เมื่อปรารถนาชอบใจในสิ่งไหนที่คนอื่นมี  แต่ "เรา" ไม่มี  จึงเกิดความคิดว่า คนอื่น มีในสิ่งที่ตน   ไม่มี  เกิดการเทียบด้วยความไม่พอใจใน "ตน" และ "คนอื่น" ด้วยหตุนี้  ความอิจฉา จึงเกิดตามมาเป็นผล  ความอิจฉา จึงเนื่องมาจากสักกายทิฏฐิ
เมื่อมีความเห็นว่าสิ่งนี้เป็นของเรา และเป็นของผู้อื่น ความไม่อยากให้ผู้อื่น ได้รับ ได้มี ใน "สิ่งที่เรามี"  จึงเกิดตามมา  ด้วยเหตุคือ สักกายทิฏฐิ  ผลที่ตามมา คือ ความตระหนี่ 
เมื่อมีสักกายทิฏฐิ  ย่อมเกิดการคาดหวังให้ "ตน" ประการต่าง ๆ  เมื่อมีการคาดหวัง  ย่อมหาทางเพื่อที่จะให้ตนได้ในสิ่งนั้น ๆ  จึงปฏิบัติไปในทางผิด ด้วยการเชื่อผิดบ้าง  ด้วยการคาดคะเนบ้าง
ผลที่ตามมาคือ สีลพตปรามาส  ข้อปฏิบัติที่ต่อให้ปฏิบัติจนสิ้นชีวิต ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาแม้แต่ปลายก้อย  เช่น การเสริมดวง  การบูชายัญด้วยสัตว์ที่มีชีวิต  การอาบน้ำล้างบาป ซึ่งน้ำ  ไม่ได้มีความสามารถในการล้างใจคนเลวได้เลย  เป็นต้น

แต่ เมื่อไม่มีความเห็นว่า สิ่งใด ๆ แม้แต่ความคิด หรือ ความารู้สึก ว่าเป็นของเรา พระโสดาบัน  จึง  ทำลาย  เชือก ที่รั้งใจ ให้คิด ให้ทำอะไร ในสิ่ง 5 สิ่งเหล่านั้นได้ อย่างถาวร
มีเรื่องคิดที่มีสาระในแต่ละวัน มากขึ้น  ^_^
ท่านอื่น ๆ มีความเห็นยังไงบ้างครับ ?





เรากล่าวว่า ผู้ที่เชื่อมั่นในชะตา การผูกดวง ไม่ใช่ สีลพตปรามาส เพราะเหตุอะไร
เพราะ สิ่งที่ว่าด้วยชะตา มีผล ไม่ใช่ไม่มีผล
การอาบน้ำ ล้างบาป ก็ดุจกัน ไม่ควรพึงนับว่า สีลพตปรามาส เพราะเหตุอะไร
เพราะ ชนทั้งหลาย ที่ลบหลู่ ขยะแขยงกายเนื้อ เพียรภาวนาทางใจฝ่ายเดียว และสำคัญว่า เราบริสุทธฺ์ ด้วยใจ เป็นผู้มีสีลพตปรามาส แล้ว

อนึ่ง ผู้ไม่มี สีลพตปรามาส เป็นอย่างไร
ผู้สำคัญปฏิบัติ ที่สุดส่วนเดียว ไม่หมิ่นส่วนอื่น
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติธรรมอื่น แล้ว ไม่กล่าวว่า ธรรมนั้นไม่เป็นผล
ผู้ที่รู้ว่า ที่สุดของธรรมมีทางเดียว ย่อมไม่บีบคั้นให้ผู้อื่นเข้าสู่ทางนั้น ด้วยสำคัญในทางเดียว



วสันต์ 09 ต.ค. 48


สังโยชน์ คือ เครื่องร้อยใจสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิด

สีลพตปรามาส คือ สังโยชน์ข้อหนึ่ง ในสังโยชน์ ๑๐ ประการ


หมายเหตุ คนบางพวก พยายามตีความ ครุ่นคิด โดยหวังว่าจะสามารถเข้าใจข้อธรรมบางประการที่ลึกซึ้งได้ ด้วยตรรกะ ประสบการณ์ หรือความทรงจำที่ได้ยินได้ฟังต่อๆกันมา พอนานไป บางคนก็หลงว่า สิ่งที่ตนเข้าใจนั้นถูกต้องดีแล้ว มิได้กำหนดรู้ว่า ธรรมบางประการ บุคคลไม่อาจกำหนดรู้ได้อย่างถูกต้องด้วยวิธีการต่างๆเหล่านี้เลย เช่นว่า เรื่องของสังโยชน์ ๑๐ ประการ โดยเฉพาะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการแรก อันเป็นฐานะของพระโสดาบัน ไปจนถึงพระอรหันต์ และเมื่อสำคัญว่า ตน สามารถเข้าใจในธรรมที่ตนยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แก่ตน ความสุดโต่งก็ย่อมมีได้ เป็นธรรมดา
          ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุให้มีผู้พยายามแสดงสิ่งที่ตนเข้าใจว่า รู้ชัด(ด้วยเหตุใดๆก็ตาม) แต่แท้จริงแล้ว เป็นเพียงการคาดเดาเท่านั้น นี่ก็เป็นที่มาประการหนึ่ง ของความเชื่อถือมากมาย อันไม่ควรแก่เหตุ เช่นนี้เอง จึงเป็นตัวอย่างที่แท้จริงของผู้ยังไม่พ้นไปจาก สีลพตปรามาส แม้ผู้นั้นกำลังอธิบายคำว่า สีลพตปรามาส แก่ผู้อื่นอยู่ก็ตาม



บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 18 คำสั่ง