ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  ชี้แจงข้อธรรม
| | |-+  วิปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความเป็นจริง
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: วิปัสสนา คือ การพิจารณาเห็นความเป็นจริง  (อ่าน 4079 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2009, 02:43:21 PM »


          ในสมัยปัจจุบันนี้ มีกลุ่มคนจำนวนมาก ที่พยายามจะทำวิปัสสนา หรือ กำลังทำวิปัสสนาอยู่ หรือ กำลังคิดว่าตนกำลังทำวิปัสสนาอยู่ แต่ อย่างไรจึงควรเรียกได้ว่า เป็นการทำวิปัสสนาที่ถูกต้องตามความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัีสสอนจริง บุคคลจำนวนมาก ทั้งที่เป็นสงฆ์ก็ดี ทั้งที่เป็นฆารวาสก็ดี ก็ได้ตีความอธิืบายนิยามความหมายของการทำวิปัสสนาเอาไว้หลากหลาย เช่นว่า คือ การรู้ หรือตามรู้ กาย และใจ ตามที่เป็นจริง อย่างที่บางท่านก็ว่า เป็นการรู้อย่างเป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่เป็นการรู้อย่างเป็นสมมุติ แต่ถึงกระนั้นแล้ว บางพวกก็ยังสอนให้กำหนดรู้อย่างเป็นปรมัตถ์ แต่ในขณะเดียวกัน ก็กลับให้กำหนดชื่อของสภาพที่กำลังกำหนดรู้อยู่นั้นไปด้วย ทั้งที่ชื่อทั้งหลายนั้น เป็นสมมุติ อย่างไรก็ดี ก็ไม่ใช่ว่าผู้วิปัสสนาจะต้องปฏิเสธสมมุติเสมอไป เพียงแต่ ก็ควรจะมีความเข้าใจว่า อย่างไรสมมุติ อย่างไรปรมัตถ์ หรือไม่ก็ไม่ใส่ใจนิยามทั้งสองทางเลยก็ได้ บางพวกก็สอนว่า ให้รู้รูปนามตามความเป็นจริง โดยอธิบายว่า รูป ก็คือ กายเนื้อ หรือร่างกายมนุษย์นี้ ส่วนนาม ก็คือ จิต บ้าง หรือ วิญญาณ บ้าง (บ้างก็อ้างว่า วิญญาณ กับ จิต เป็นสิ่งเดียวกัน ก็มี) และที่สอนให้รู้ความเป็นจริงของรูปนาม ก็อธิบายในทำนองว่า คือ การมีความเห็น หรือความระลึกว่า กาย ไม่ใช่ จิต หรือบ้างก็ว่า จิต ไม่ใช่ เรา แล้วก็อ้างว่า อย่างนี้คือการละสักกายะทิฐิ(หมายถึง บรรลุโสดาบัน) หรือบางทีก็สอนว่า จิต ไม่เที่ยง(แม้แต่จิตของพระอรหันต์ก็ว่าไม่เที่ยง) ด้วยอาศัยเพียงเหตุว่า หลังจากที่ผู้สอนเข้าใจว่าตนบรรลุอรหันต์แล้ว อารมณ์ของตนเอง ก็ยังไม่เที่ยง ยังมีความปรวนแปรอยู่ อย่างนี้ก็มี ผู้ไม่แยบคายพอ เมื่อฟังแล้วก็รู้สึกว่าเข้าใจง่าย ปฏิบัติง่าย ก็พึงพอใจในคำสอนเหล่านั้น ยิ่งประกอบกับเห็นว่า มีคนจำนวนมากเชื่อถือศรัทธาตามกันอย่างนั้น ก็ยิ่งปักใจเชื่อ ว่า คำสอนเหล่านั้นถูกต้องดีแล้ว ก็ไม่คลางแคลงว่า คำสอนบางพวกเหล่านั้น เป็นเพียงเปลือก ไม่ใช่แก่น เมื่อเห็นบุคคลพวกอื่นปฏิบัติกันในหนทางที่ยากกว่า ลำบากกว่า ก็ดูหมิ่น เหยียดหยามว่าผิดบ้าง ว่าไม่มีปัญญาเท่าตนบ้าง ว่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากบ้าง ฯลฯ

         ก็จริงอยู่ว่า การทำวิปัสสนานั้น ก็เพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นตามความเป็นจริง หรือบางทีก็ว่า เป็นการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความรู้ความเห็นอันเท่าทันกิเลส ก็ถูกต้อง เพราะกิเลสอาสวะเป็นสิ่งที่พาให้จิตคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงอันบริสุทธิ์ แต่ปัญหาก็คือว่า แล้วจะทำอย่างไร หรือจะต้องอาศัยเหตุปัจจัยอะไร ที่จะทำให้บุคคลตั้งอยู่ในฐานะที่จะสามารถรู้เห็น(รูปนาม)ตามความเป็นจริง สามารถมีความรู้ความเห็นที่เท่าทันกิเลสความปรุงแต่งทั้งหลายของจิต หรือในจิต คำตอบสั้นๆก็คือว่า จิตใจที่สกปรก มืดมัว สับสนวุ่นวายอยู่ ย่อมไม่อาจรู้ ไม่อาจเห็น ธรรมอันสะอาด สว่างไสว สงบ และบริสุทธิ์ได้ เป็นธรรมดา ก็บุคคลจะพึงจำแนกแยกแยะออกได้ ว่า สิ่งใดเป็นกิเลส สิ่งใดไม่ใช่กิเลส สิ่งใดปรุงแต่งอยู่ สิ่งใดไม่ได้ปรุงแต่งอยู่ได้อย่างไร? ในเมื่อจิตตนยังประกอบกิเลสอยู่ ยังประกอบความปรุงแต่งอยู่ อุปมาว่า บุคคลตาบอดแต่กำเนิด ไม่ว่าจะครุ่นคิดพิจารณาจินตนาการอย่างไร ฟังผู้อื่นบอกเล่าอย่างไร ก็ไม่มีทางกำหนดรู้ได้ตามความเป็นจริงว่า ผู้มีดวงตาสมบูรณ์ดีนั้น เขาเห็นอะไร อย่างไรบ้าง ดังนั้น ผู้มุ่งเห็นธรรมอันบริสุทธิ์ ย่อมควรมุ่งกระทำชำระจิตใจของตนให้สงบ ให้สะอาด ให้สว่าง เสียก่อน แล้วจึงน้อมเอาจิตใจอันบริสุทธิ์ที่ตนอบรมมาดีแล้วนั้น เพื่อความพิจารณารู้พิจารณาเห็นความเป็นจริงของชีวิต ของจิตใจของตน เพื่อค้นหาความเป็นจริง อันเป็นแก่น เป็นสัจจะธรรมแห่งชีวิต ไม่ใช่ว่าจะมุ่งแต่ว่า จะมีสติรู้ มีสติเห็น ในธรรมต่าง โดยที่จิตใจของตนยังสับสน วุ่นวาย ประกอบด้วยกิเลสอย่างหยาบบ้าง อย่างละเอียดบ้าง อันเจือ อันครอบงำ อันบดบังจิตใจของตนเองอยู่ ก็จริงอยู่ว่า อย่างนี้ก็รู้ได้ เห็นได้ แต่ไม่ใช่ตามความเป็นจริง สิ่งตนรู้มาตามที่ผู้อื่นกล่าว หรือเชื่อกันต่อๆกันมาว่า ความจริงคืออย่างนั้น ความจริงคืออย่างนี้ อย่างไรก็ยังเป็นกิเลส อย่างไรก็ยังไม่ใช่ความเป็นจริงอันเป็นที่สุดไปได้ ตราบใดที่ตนยังมิได้รู้เห็นพิสูจน์สิ่งนั้นได้แล้วด้วยจิตใจของตนที่ได้ฝึกอบรมมาจนสะอาดบริสุทธิ์เป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น อย่าไปหลงผิดว่า ขอเพียงให้มีสติรู้เท่าทันเท่านั้น ต่อให้ยัีงมีกิเลสอยู่ ก็จะนับว่ารู้เท่าทันความเป็นจริงได้ หรือจะบรรลุธรรมอันเป็นอริยะได้ คนบางพวกประกาศว่า กิเลส ไม่ได้มีไว้ระงับให้สงบ แต่ กิเลส มีไว้เพื่อให้รู้ทันเท่านั้น หากรู้เท่าทันแล้ว ถึงแม้กิเลสไม่สงบระงับ ก็ถูกต้องแล้ว เป็นมรรคแล้ว ผู้เกียจคร้าน ไม่แยบคาย ย่อมหลงเชื่อ ย่อมพาตนให้เสื่อมไป ด้วยอำนาจแห่งกิเลสที่่ตนสำคัญอยู่ว่ามีสติรู้เท่าทันแล้วนั่นเอง

         
บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง