ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  ปริยัติธรรม
| | |-+  บารมีทั้งหลาย ควรเจริญให้มาก
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บารมีทั้งหลาย ควรเจริญให้มาก  (อ่าน 5705 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2009, 02:07:05 PM »


          บุคคลทั้งหลายผู้มุ่งบรรลุธรรมอันเป็นเครื่องพ้นไปจากทุกข์ ควรพิจารณาบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้ดี ให้แยบคาย เพื่อเป็นแนวทางความประพฤติตนไปสู่ความเจริญ อย่าสำคัญว่า เพียงประการใดประการหนึ่ง หรือเพียงบางประการ ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องสำคัญในบารมีข้ออื่นๆที่เหลืออีก แม้ผู้มุ่งการสมถะ และวิปัสสนาเป็นสำคัญ ก็ต้องอาศัยบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้บรรลุความสำเร็จเช่นกัน

          ข้อความตอนหนึ่ง จาก สุเมธกถา (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก)

                                 " เอาละ เราจักค้นหาพุทธการกธรรม จากข้างนี้ๆ ทั้งเบื้องบน
                          เบื้องต่ำทั้งทิศน้อยทิศใหญ่ตลอดทั่วธรรมธาตุ
                          ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อที่ ๑
                          ซึ่งเป็นทางใหญ่อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน
                          ประพฤติมาจึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑ นี้บำเพ็ญให้
                          มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญทานบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุ
                          โพธิญาณ ท่านเห็นยาจกทั้งชั้นต่ำ ปานกลางและชั้นสูงแล้ว จงให้
                          ทานอย่าให้เหลือ ดังหม้อที่เขาคว่ำไว้ เปรียบเหมือนหม้อที่เต็ม
                          ด้วยน้ำ ผู้ใดผู้หนึ่งจับคว่ำลงแล้ว น้ำย่อมไหลออกหมด ไม่ขังอยู่
                          ในหม้อนั้น ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เรา
                          จักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น
                          เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีเป็นข้อที่ ๒ ที่พระพุทธเจ้าแต่
                          ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๒
                          นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อนท่านจงบำเพ็ญศีลบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะ
                          บรรลุโพธิญาณ ท่านจงบำเพ็ญศีลในภูมิ ๔ ให้บริบูรณ์ จงรักษาศีล
                          ในกาลทั้งปวง ดังจามรีรักษาขนหาง เปรียบเหมือนดังจามรีย่อม
                          รักษาขนหางอันติดในที่ไรๆ ยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมทำขนหางให้
                          เสีย ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหา
                          ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเรา
                          ค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเนกขัมมบารมีเป็นข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง
                          ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๓
                          นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญเนกขัมมบารมีเถิด ถ้าท่าน
                          ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านจงเห็นภพทั้งปวงดังเรือนจำ ท่านจง
                          มุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อหลุดพ้นไปจากภพ เปรียบเหมือนบุรุษที่
                          ถูกขังในเรือนจำ ได้รับทุกข์มานาน ย่อมไม่ยังความยินดีให้เกิดใน
                          เรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นไป ฉะนั้น แต่พุทธธรรมจักมีเพียง
                          เท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ
                          อย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ได้เห็นปัญญาบารมี
                          เป็นข้อที่ ๔ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อน ทรงเสพอาศัย จึงเตือนตน
                          เองว่า ท่านจงยึดบารมีที่ ๔ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจะบำเพ็ญ
                          ปัญญาบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ ท่านได้สอบถาม
                          คนมีปัญญาตลอดกาลทั้งปวง บำเพ็ญปัญญาบารมีแล้ว จักบรรลุ
                          สัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนภิกษุ เมื่อเที่ยวภิกษา ไม่เว้นตระกูล
                          ต่ำ ปานกลางและสูงย่อมได้อาหารเครื่องเยียวยาอัตภาพ ฉะนั้น
                          แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น
                          เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้
                          เห็นวิริยบารมีเป็นข้อที่ ๕ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย
                          จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๕ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน
                          ท่านจงบำเพ็ญวิริยบารมีเถิด ถ้าท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ
                          ท่านประคองความเพียรให้มั่นไว้ทุกภพ บำเพ็ญวิริยบารมีแล้ว จัก
                          บรรลุสัมโพธิญาณได้ เปรียบเหมือนสีหมฤคราช มีความเพียรไม่
                          ย่อหย่อนในที่นั่งที่ยืนและที่เดินประคองใจไว้ทุกเมื่อ ฉะนั้น แต่
                          พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรม อันเป็น
                          เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไปในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ก็ได้
                          เห็นขันติบารมีเป็นข้อที่ ๖ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย
                          จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๖ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน
                          ท่านมีใจแน่วแน่ในขันตินั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ท่านจง
                          อดทนต่อคำยกย่องและคำดูหมิ่นทั้งปวง บำเพ็ญขันติบารมีเปรียบ
                          เหมือนแผ่นดินอดทนสิ่งที่เขาทิ้งลงทุกอย่างทั้งสะอาดและไม่สะอาด
                          ไม่แสดงความยินดียินร้ายฉะนั้นแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่
                          พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง
                          บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น
                          สัจจบารมีเป็นข้อที่ ๗ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรงเสพอาศัย จึง
                          เตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๗ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านมี
                          ใจแน่วแน่ในสัจจะนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ดาวประกายพฤกษ์
                          เป็นดาวนพเคราะห์ ประจำอยู่ในมนุษย์โลกทั้งเทวโลก ไม่หลีกไป
                          จากทางเดิน ทุกสมัยฤดูหรือปี ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น อย่าหลีก
                          ไปจากแนวในสัจจะ บำเพ็ญสัจจบารมีแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้
                          แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็น
                          เครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่
                          ก็ได้เห็นอธิษฐานบารมีเป็นข้อที่ ๘ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทรง
                          เสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่าท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๘ นี้บำเพ็ญให้
                          มั่นก่อน ท่านไม่หวั่นในอธิษฐานบารมีนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้
                          ท่านจงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในการอธิษฐานในการทั้งปวง บำเพ็ญ
                          อธิษฐานบารมี เปรียบเหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งมั่น ไม่
                          สะท้านสะเทือนเพราะลมจัด คงอยู่ในที่เดิม ฉะนั้นแล้ว จักบรรลุ
                          สัมโพธิญาณได้ แต่พุทธธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้น
                          หาธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อ
                          เราค้นหาอยู่ก็ได้เห็นเมตตาบารมีเป็นข้อที่ ๙ ที่พระพุทธเจ้าแต่ปาง
                          ก่อนทรงเสพอาศัย จึงเตือนตนเองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๙ นี้
                          บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านจงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วยเมตตา ถ้าท่าน
                          ปรารถนาจะบรรลุสัมโพธิญาณ ท่านจงเจริญเมตตาให้เสมอกัน
                          ทั้งในสัตว์ที่มีประโยชน์ และไม่มีประโยชน์บำเพ็ญเมตตาบารมี
                          เปรียบเหมือนน้ำย่อมแผ่ความเย็น ชำระล้างมลทินธุลี เสมอกัน
                          ทั้งในคนดีและคนชั่ว ฉะนั้นแล้วจักบรรลุสัมโพธิญาณได้ แต่พุทธ
                          ธรรมจักมีเพียงเท่านี้นั้นหามิได้ เราจักค้นหาธรรมอันเป็นเครื่อง
                          บ่มโพธิญาณอย่างอื่นต่อไป ในกาลนั้น เมื่อเราค้นหาอยู่ ก็ได้เห็น
                          อุเบกขาบารมีเป็นข้อที่ ๑๐ ที่พระพุทธเจ้าทรงเสพอาศัยจึงเตือนตน
                          เองว่า ท่านจงยึดบารมีข้อที่ ๑๐ นี้บำเพ็ญให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มี
                          อุเบกขามั่นคงดังตราชั่ง จักบรรลุโพธิญาณได้ ท่านจงมีใจเที่ยงตรง
                          ดังตราชั่งในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ บำเพ็ญอุเบกขาบารมีเปรียบ
                          เหมือนแผ่นดินย่อมวางเฉย สิ่งที่เขาทิ้งลงทั้งที่ไม่สะอาดและสะอาด
                          ทั้งสองอย่าง เว้นจากความโกรธและความยินดี ฉะนั้นแล้ว จัก
                          บรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมอันเป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีอยู่ในโลก
                          เพียงเท่านี้ นอกจากนี้ที่ยิ่งกว่านั้นไม่มี ท่านจงตั้งมั่นอยู่ในธรรม
                          นั้นเถิด.
                          เมื่อเราพิจารณาเห็นธรรมเหล่านี้ พร้อมทั้งภาวะ กิจของตนและ
                          ลักษณะ พื้นพสุธาในหมื่นจักรวาล ก็หวั่นไหวด้วยเดชแห่งธรรม
                          ปฐพีย่อมหวั่นไหวส่งเสียงร้อง เหมือนหีบอ้อยบีบอ้อย ฉะนั้น
                          เมทนีดลย่อมหวั่นไหว เหมือนล้อยนต์ใส่น้ำมัน ฉะนั้น บริษัท
                          ประมาณเท่าใด มีอยู่ในบริเวณรอบๆ พระพุทธเจ้าบริษัทในบริเวณ
                          นั้นหวั่นไหวนอนซบอยู่ที่ภาคพื้นหม้อน้ำหลายพันหม้อ หม้อข้าว
                          หลายพันหม้อ หม้อใส่กระแจะและหม้อเปรียงในที่นั้น กระทบกัน
                          และกันมหาชนหวาดเสียว สะดุ้งกลัว ประหลาดใจ มีใจหวาดหวั่น
                          ประชุมกันแล้ว พากันเข้าเฝ้าพระพุทธทีปังกร ทูลถามว่าความดีงาม
                          หรือความชั่วร้ายอะไรจักมีแก่โลก โลกทั้งปวงจักมีอันตรายหรือ ขอ
                          พระองค์ผู้มีพระจักษุ โปรดบรรเทาอันตรายนั้นเถิด ในกาลนั้น
                          พระพุทธทีปังกรมหามุนี ทรงชี้แจงให้มหาชนนั้นเข้าใจว่า ในการที่
                          แผ่นดินหวั่นไหวนี้ ท่านทั้งหลายจงเบาใจ อย่ากลัวเลย วันนี้ เรา
                          พยากรณ์ผู้ใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก ผู้นั้นพิจารณาเห็น
                          ธรรมที่พระพิชิตมารทรงเสพมาก่อน เมื่อผู้นั้นพิจารณาธรรมอันเป็น
                          พุทธภูมิโดยไม่เหลือ เพราะเหตุนั้น ปฐพีในหมื่นโลกธาตุพร้อมทั้ง
                          ในเทวโลก จึงหวั่นไหว ขณะนั้น มหาชนได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้ว
                          เย็นใจ ทุกคนพากันมาหาเราแล้ว ก็กราบไหว้อีก ในกาลนั้น เรา
                          ยึดพระพุทธคุณ ทำใจให้มั่นคง ถวายนมัสการพระพุทธทีปังกร
                          แล้ว ลุกจากอาสนะ ขณะเมื่อเราลุกขึ้นจากอาสนะ ทวยเทพและ
                          หมู่มนุษย์ ก็พากันเอาดอกไม้ทิพย์และดอกไม้มนุษย์โปรยปรายลง
                          อนึ่ง ทวยเทพและหมู่มนุษย์นั้น ต่างก็อวยชัยให้พรสวัสดีว่า ท่าน
                          ปรารถนาภูมิอันใหญ่หลวง ขอให้ท่านได้ภูมินั้นตามปรารถนาเถิด
                          เสนียดจัญไรทั้งปวงจงอย่ามี ความโศกและโรคจงอย่ามี อันตรายจง
                          อย่ามีแก่ท่าน ขอให้ท่านได้บรรลุโพธิญาณอันอุดมเร็วพลัน ข้าแต่
                          ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ท่านย่อมบานด้วยพุทธญาณ เปรียบเหมือนไม้
                          ดอกย่อมมีดอกบานในฤดูที่มาถึง ฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่
                          ขอให้ท่านจงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ ดังพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด
                          เหล่าหนึ่งทรงบำเพ็ญฉะนั้นเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่าน
                          จงตรัสรู้ที่โพธิพฤกษ์ เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
                          ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลเถิด ข้าแต่ท่านผู้มีเพียรใหญ่ ขอให้ท่านจงประกาศ
                          ธรรมจักร อย่างพระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรงประกาศ ฉะนั้น
                          เถิด ขอให้ท่านมีใจเต็มเปี่ยม รุ่งเรืองในหมื่นจักวาล เช่นพระจันทร์
                          เต็มดวง ส่องแสงสว่างในวันเพ็ญ ฉะนั้นเถิด ขอให้ท่านพ้นจาก
                          โลก รุ่งเรืองด้วยศิริดังพระอาทิตย์พ้นจากราหูแผดแสงสว่างจ้า
                          ฉะนั้นเถิด โลกพร้อมด้วยเทวโลก มาประชุมกันในสำนักของท่าน
                          เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายย่อมไหลมารวมลงยังทะเลหลวง ฉะนั้น
                          ในกาลนั้น สุเมธดาบสนั้น อันทวยเทพและหมู่มนุษย์เหล่านั้น
                          ชมเชย สรรเสริญแล้ว สมาทานธรรม ๑๐ ประการ เมื่อจะบำเพ็ญ
                          ธรรมเหล่านั้นให้บริบูรณ์ จึงเข้าป่าใหญ่. "




บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.124 วินาที กับ 19 คำสั่ง