ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  ชี้แจงข้อธรรม
| | |-+  ความเชื่อเรื่อง สมถะ คือ การกดข่ม
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ความเชื่อเรื่อง สมถะ คือ การกดข่ม  (อ่าน 4260 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2008, 12:40:00 AM »

          เท่าที่เชื่อต่อๆกันมาในช่วงหลังนี้ มีคำกล่าวในเชิงว่า สมถะ เป็นการกดข่มกิเลสโดยชั่วคราว เหมือนหินทับหญ้า ก็เป็นความจริงบางส่วน

          เท่าที่เืชื่อต่อๆกันมา ในเชิงว่า วิปัสสนา เป็นการละด้วยปัญญา ก็สมควรอยู่ แต่ียังคลาดเคลื่อนโดยนัยยะที่เชื่อกันว่า วิปัสสนา ต่างจาก สมถะ เพราะ วิปัสสนา ไม่เป็นการกดข่ม

          ลองพิจารณาคำกล่าวสอนของพระพุทธองค์ตามพระไตรปิฏกบางส่วน ดังนี้




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส

 

             [๓๗๐]    กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก.
             [๓๗๑] คำว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นแล้วจากสัญญาความว่า มุนีใด เจริญอริยมรรคมีสมถะเป็นเบื้องต้น กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น. เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์สละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ไม่ทำให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นจากสัญญา.
             [๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ความว่า มุนีใด เจริญอริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น โมหะ เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง นิวรณ์ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.
             [๓๗๓] คำว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญาทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก ความว่า ชนเหล่าใดยังถือสัญญา คือ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งสัญญา กล่าวคือ พวกชนที่ยังถือสัญญา แม้เป็นพระราชา ก็ย่อมวิวาทกับพวกพระราชา แม้เป็นกษัตริย์ย่อมวิวาทกับพวกกษัตริย์ แม้เป็นพราหมณ์ก็ย่อมวิวาทกับพวกพราหมณ์ แม้เป็นคฤหบดีก็ย่อมวิวาทกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับมารดา แม้บิดาก็ย่อมวิวาทกับบุตร แม้บุตรก็ย่อมวิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่ชายน้องชายก็ย่อมวิวาทกับพี่สาวน้องสาว แม้พี่สาวน้องสาวก็ย่อมวิวาทกับพี่ชายน้องชาย แม้สหายก็ย่อมวิวาทกับสหาย. ชนเหล่านั้นถึงความทะเลาะแก่งแย่งวิวาทกัน ย่อมทำร้ายกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตรา ในเพราะวิวาทกันนั้น. ชนเหล่านั้น ย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในเพราะการทำร้ายกันนั้น. ชนเหล่าใดยังถือทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ฯลฯ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ชนเหล่านั้นย่อมกระทบกระทั่งกัน คือ เบียดเบียนกันด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ ย่อมกระทบกระทั่งศาสดาแต่ศาสดา ย่อมกระทบกระทั่งการบอกธรรมแต่การบอกธรรม ย่อมกระทบกระทั่งคณะแต่คณะ ย่อมกระทบกระทั่งทิฏฐิแต่ทิฏฐิ ย่อมกระทบกระทั่งปฏิปทาแต่ปฏิปทา ย่อมกระทบกระทั่งมรรคแต่มรรค.
             อีกอย่างหนึ่ง ชนเหล่านั้นย่อมวิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกันทำความแก่งแย่งกัน ทำความวิวาทกัน ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ. ชนเหล่านั้นยังละอภิสังขารไม่ได้แล้ว ย่อมกระทบกระทั่งในคติ คือ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในนรก ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในกำเนิดดิรัจฉาน ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในเปรตวิสัย ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนกันในมนุษยโลก ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนกันในเทวโลก ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนคติแต่คติ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนอุปบัติแต่อุปบัติ ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนปฏิสนธิแต่ปฏิสนธิ ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนภพแต่ภพ ย่อมกระทบกระทั่ง เบียดเบียนสงสารแต่สงสาร ย่อมกระทบกระทั่งเบียดเบียนวัฏฏะแต่วัฏฏะ กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไป อยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียวยา. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจากสัญญา โมหะ
                          ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและทิฏฐิ
                          ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก ดังนี้.


จบ มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ ๙.
-----------------------------------------------------



          จะสังเกตว่า โดยนัยยะดังนี้ สมถะ ย่อมข่มกิเลส และ วิปัสสนา ย่อมข่ม โมหะ ซึ่งทั้งกิเลส และโมหะ ย่อมเป็นธรรมที่ควรข่ม เพื่อความบรรลุหลุดพ้น ทั้งสิ้น ดังนั้น สมถะ และวิปัสสนา เป็นธรรมที่ควรเจริญให้มากทั้งสองฝ่าย เพื่อความข่มกิเลส และความข่มโมหะ อันเป็นหนทางรู้แจ้ง เพราะเมื่อกิเลสครอบงำจิตอยู่ ทัศนะย่อมไม่บริสุทธิ์ และเมื่อโมหะครอบงำจิตอยู่ ปัญญาย่อมไม่บริสุทธิ์ พระพุทธองค์จึงทรงตรัสสอนว่า ธรรมที่ควรเจริญให้มาก คือ สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 28, 2008, 01:10:16 AM โดย zen » บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.125 วินาที กับ 19 คำสั่ง