ข่าว:
SMF - Just Installed!
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
กระดานธรรมะ
ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน
ธรรมะ โดย ท่านวสันต์
คิดอย่างไร จึงไม่วิปลาส
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
หน้า:
[
1
]
ผู้เขียน
หัวข้อ: คิดอย่างไร จึงไม่วิปลาส (อ่าน 23079 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
ออฟไลน์
กระทู้: 351
คิดอย่างไร จึงไม่วิปลาส
«
เมื่อ:
กรกฎาคม 15, 2008, 04:59:28 PM »
พิจารณาหรือคิดเรื่องพิสดารอย่างไรจึงไม่ทำให้วิปลาส
กรอบที่ไม่ทำให้วิปลาสหรือฟุ้งซ่านเกินไป ไม่เป็นบ้าหรือเพี้ยน
สืบเนื่องจากกระทู้หลังๆ มานี้ ผมได้ตั้งกระทู้ที่จิตนาการและพิสดารมากๆ จึงขอเสนอกระทู้นี้เพื่อพิจารณาควบคู่กันไป
กำหนดเพื่อพิจารณาหรือคิดเรื่องพิสดารอย่างไร จึงไม่ทำให้วิปลาส หรือฟุ้งซ่านจนเกินไป และไม่เป็นบ้าหรือเพี้ยน
ตามหลักจริงๆ ก็คือ “พิจารณาหรือคิด อย่างไม่ยึดมั่นและถือมั่น”
แต่ตามปกติแล้วคนทั่วไปยังมีโมหะอยู่ จึงสามารถหลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นโดยไม่รู้ตัวได้
จึงมีปัญหาว่า จะถอดถอนหรือเตือนตัวเองได้อย่างไร ในขณะที่หลงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นโดยไม่รู้ตัวนั้น
สิ่งที่จะเตือนให้รู้ตัว คือต้องมีสติรู้ในฐานะและภาวะที่เป็นอยู่ตามความจริง ดังนี้
1. เตือนสติตนเองให้มารู้ถึงความเป็นคน เช่น เตือนตนเองให้รู้ตัวเองว่าเป็นมนุษย์ธรรมดา ที่ต้อง กิน ดื่ม ถ่าย ทำงาน(เรียน) และนอน ไม่ใช่ผู้วิเศษตามความคิดที่พิสดารที่ปรุงแต่ง และถึงจะทำสิ่งที่วิเศษพิสดารได้บางครั้งบางคราว ตัวเองก็ยังเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น ที่ต้องเป็นไปตามกรรมของมนุษย์
2. เตือนสติตนเองให้รู้ฐานะและหน้าที่ที่ตนเองเป็นอยู่จริงๆ ในฐานะความเป็นคน เช่น เตือนตนเองว่า เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นหลาน เป็นเพื่อน เป็นพนักงานชั้นผู้น้อย เป็นพนักงานชั้นผู้ใหญ่ เป็นข้าราชการ ไม่ใช่ผู้วิเศษตามความคิดที่พิสดารที่ปรุงแต่งขึ้น
3. เตือนสติตนเองให้รู้สังคมของความเป็นมนุษย์ของตน เช่น ต้องทำมาหากินเลี้ยงตนเอง หรือเมื่ออยู่ในวัยเรียนก็ต้องต้องเรียนศึกษาหาความรู้ตามหลักวิชาการ ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัว และต่อสังคม
3 ข้อข้างบนนั้น เมื่อใดพิจารณาหรือปรุงแต่งเรืองพิสดารเกินตัว อาจจะถึงขั้นฟุ้งซ่านในความคิด แต่เมื่อมีสติเตือนตนเองได้ดัง 3 ข้อ ข้างบน ย่อมไม่ทำให้วิปลาสจนเกินไป และไม่เป็นบ้าอย่างแน่นอน
ถ้าท่านผู้ใดประสงค์แสดงความคิดเห็น หรือเสนอแนวคิด หรือร่วมสนทนาก็เชิญเลยนะครับ
จิตนั้นเองย่อมพิสดาร ความพิสดารทุกอย่างจิตครอบงำแล้ว
ความพิสดารยิ่งกว่า ความคาดหวัง ไม่มี
บุคคลพึงรู้จัก ความคาดหวัง กำหนดให้เป็นลักษณะ ชื่อว่าคิดพิสดาร
บุคคลรู้จักความแปรปรวนในจิต ชื่อว่ารู้สิ่งพิสดาร
บุคคลพึงรู้สิ่งรวมกันของความคาดหวังและความแปรปรวนในจิต ให้รวมเป็นอรรถเดียว ชื่อว่า คิดในสิ่งพิสดารแล้วไม่วิปลาส
บุคคลพึงรู้สิ่งที่พิสดารแล้วไม่หลงใหล หวั่นวิตก ชื่อว่า ผู้ตื่นแล้ว
วสันต์ 14 ต.ค. 47
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2008, 05:24:22 PM โดย zen
»
บันทึกการเข้า
จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า:
[
1
]
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
คำนำ และคำอธิบายเว็บ
-----------------------------
=> ประกาศสำหรับผู้สมัครสมาชิกใหม่
=> คำนำจากผู้ดูแลระบบ
=> ความเห็นเกี่ยวกับเว็บนี้
-----------------------------
ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน
-----------------------------
=> ข้อความพระธรรมเทศนา และคำสอนครูบาอาจารย์
=> ลิ๊งค์ข้อมูล และลิ๊งค์คำสอนครูบาอาจารย์
=> ธรรมะ โดย ท่านวสันต์
-----------------------------
กระดานสนทนาธรรม
-----------------------------
=> ปริยัติธรรม
=> สมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน
=> ชี้แจงข้อธรรม
=> สาระธรรมทั่วไป
-----------------------------
ข่าวสารสมาชิก
-----------------------------
=> กำหนดการ (schedule)
=> งานบุญทั่วไป
=> ทักทายสมาชิก
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
Powered by SMF 1.1.14
|
SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC
|
Thai language by ThaiSMF
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง
กำลังโหลด...
Free SMF 1.1.5 Forum Theme
by
Tamuril
. 2008.