หัวข้อ: อกุศลจิต เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 04:24:58 PM ไม่เข้าใจ เกี่ยวกับ "อกุศลจิต" ขอเรียนถามผู้รู้ครับ
อกุศลจิต อกุศลจิต แม้จะเป็นจิตที่ชั่วเป็นบาปและให้ผลเป็นทุกข์ แต่ส่วนมากมักจะเกิดได้ง่ายและเกิดได้บ่อย ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเมื่อจิตได้รับอารมณ์ใดแล้วส่วนมากก็ไม่ได้พิจารณาให้แยบคาย คือ ไม่พิจารณาให้ซึ้งถึงสภาพแห่งความเป็นจริงของอารมณ์ที่ประสบนั้น การไม่ใส่ใจพิจารณาอารมณ์ด้วยดีนี้เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ เมื่อมีอโยนิโสมนสิการ อกุศลจิตย่อมเกิด และอโยนิโสมนสิการนี้ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ ๑. ไม่ได้สร้างสมบุญไว้แต่ปางก่อน - เป็นอดีตกรรม ๒. อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ) - เป็นปัจจุบันกรรม ๓. ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ ,, ๔. ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ ,, ๕. ตั้งตนไว้ผิด ,, อกุศลจิต ๑๒ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ โลภมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลมาจาก ๑. ความอยากได้ ๔. ความเพลิดเพลิน ๒. ความต้องการ ๕. ความติดใจ ๓. ความกำหนัด ๖. ความชอบใจในอารมณ์ รวมความว่าโลภมูลจิต มีโลภะเป็นตัวนำ โทสมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลมาจาก ๑. ไม่ชอบ ๖. โกรธ ๒. เสียใจ ๗. เกลียด ๓. กลุ้มใจ ๘. กลัว ๔. รำคาญ ๙. ประทุษร้าย ๕. หงุดหงิด ๑๐. ทำลาย รวมความว่าโทสมูลจิตไม่อยากได้ในอารมณ์นั้น มีโทสะเป็นตัวนำ โมหมูลจิต เป็นจิตที่มีรากเหง้าเค้ามูลมาจาก ๑. ความหลง ๒. ความงมงาย ๓. ความไม่รู้เหตุผลต้นปลาย รวมความว่าโมหมูลจิต มีโมหะเป็นตัวนำ ตามเนื้อหาด้านบนที่มาจากเวป http://abhidhamonline.org/aphi/p1/011.htm แสดงว่า อกุศลจิต มี อกุศลจิต ๑๒ ดวง ได้แก่ โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒ แต่ทำไมเวลาจำแนกออกมาแล้ว จึงได้มากกว่า 12 ครับคือ โลภมูลจิต 6 โทสมูลจิต 10 โมหมูลจิต3 รวมได้ 19 อยากถามท่านผู้รู้ในที่นี้ ว่า ที่ว่า พระโสดาบันสามารถ ละ อกุศลจิตได้ 5 นั้น มีอะไรบ้างครับ แล้วเพราะอะไร อกุศลจิต 12 เมื่อจำแนกแล้ว จึงได้ถึง 19 อย่างนี้จะทราบได้อย่างไร ว่า ละได้ ถึงขั้นไหนแล้วครับ แสดงว่า พระโสดาบันแต่ละองค์ ก็ไม่จำเป็นต้องละอกุศลจิต อย่างเดียวกันใช่หรีอไม่ครับ ผมพยายามค้นหาจากกระทู้เก่า ๆ แล้ว แต่ยังไม่พบ หากคำถามซ้ำซ้อน หรือไม่ตรงหัวข้อต้องขออภัย ทุกท่านด้วยครับ และกราบขอบคุณล่วงหน้าสำหรับท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่านที่ให้การชี้แนะครับ อันที่เธอยกมาว่า เป็นรากเหง้าเค้ามูล นั้นไม่ใช่สิ่งที่เธอกำหนด นั้นเป็นเพียงอนุสัยของสิ่งนั้น เรากล่าวว่า โลภมูลจิต ไม่ใช่โลภ โทสมูลจิต ไม่ใช่โทสะ โมหมูลจิต ไม่ใช่โมหะ เรากล่าวว่า จิตที่วิตก ใคร่ ตรึกตรอง ได้ชื่อว่า มูลจิต แต่จิตที่ใคร่ ตรึกตรอง จะมีอนุสัย ที่เธอนำมาถามนั้นละ เราจะเปรียบ โลภ ให้เห็นเป็นสังเขป อาทิ เมื่อชายใดจะกำหนัดใน หญิง เพราะเขาเหล่า มีความเพลิดเพลิน ในอาการลามก การเห็นภาพ การฟังเสียง เธอจะกล่าวไม่ได้เลยว่า ชายเหล่านั้นจะทำกับสิ่งที่เขาเห็น แต่เขานั้นย่อมมีอาการกำเริบ ตรึกตรอง ในหญิงอื่น หาวิธีการต่างๆ ให้สมดั่งใจชายนั้น นี้ชื่อว่า โลภมูลจิต และเมื่อสำเร็จความพอใจ ก็ได้ชื่อว่า โลภ ปรากฏแก่เขา วสันต์ 21 มิ.ย. 48 |