กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 26, 2008, 01:10:34 PM



หัวข้อ: อัตตา และอนัตตาในชีวิตประจำวัน
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 26, 2008, 01:10:34 PM
เราจะนำเรื่องอัตตาและอนัตตามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างไร

สวัสดีค่ะ ดิฉันฝึกปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง ทั้งนี้เพื่อประคองสติในชีวิตประจำวัน อยากเรียนถามท่านผู้รู้ช่วยตอบถึง เรื่อง อัตตาและ อนัตตาให้หายข้องใจ และสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวัน สิ่งที่ดิฉันสงสัยคือ การยึดมั่นในอัตตานั้นเป็นสิ่งไม่ดี แต่บางครั้งดิฉันรู้สึกเหมือนตัวเองหลงทาง เมื่อยามที่อัตตาหายไป เช่น ในการทำงานไม่มีใครยอมรับความสามารถของเรา หรือเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆในชีวิตประจำวัน ไม่มีใครมองเห็นคุณค่าหรือให้ความสำคัญกับเราเลย เราควรมีวิธีคิดในเรื่องนี้อย่างไรคะ ไม่ทราบว่านำมาเปรียบเทียบกับกรณีของอัตตากับอนัตตาอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่





เราพึงเห็นรู้ ว่า คนบางพวก มีอัตภาพอยู่ในสิ่งใด แม้ว่าอัตภาพนั้นยังมีอยู่ เขาก็เป็นทุกข์
เมื่ออัตภาพนั้นหายไป เขาเหล่านั้นมีความรู้สึก เมื่อผู้เสียอะไรบางอย่างไป ก็เป็นทุกข์
แม้อย่างนี้ ไม่ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะ อนันตาภาพ หรืออัตภาพหามิได้ แต่เป็นทุกข์ เพราะว่า มีอุปธิ

เราพึงรู้ว่า  คนบางพวก  มีอัตภาพในสิ่งใด เมื่อสิ่งแปรผันไป แต่ยังมีอัตภาพนั้นอยู่ คนพวกนั้น ก็เป็นทุกข์ ไม่ใช่เพราะ อัตภาพ แต่เพราะ อุปธิ

เราพึงรู้ว่า คนบางพวก มีอนันตภาพอยู่ในสิ่งใด เมื่อความเห็นของคนพวกนั้นแปรผันไป แต่ยังมีอนันตภาพนั้นอยู่ เขาก็เป็นทุกข์อยู่ ไม่ใช่เพราะ อนันตภาพนั้น แต่เพราะ อุปธิ

ก็อุปธิ เป็นอย่างไร ก็การทำให้เสมอผู้อื่นนี้ คือ อุปธินั้น การดูหมิ่นตนเอง คือ อุปธินั้น
การดูหมิ่นผู้อื่น คือ อุปธินั้น ก็อุปธินี้ มีลักษณะ คือ การยกขึ้นมาข่มเหง กดไว้ ซ่อนเร้น

เรากล่าวว่า บุคคลชายหญิงใด มีความทนทาน ต่อการสรรเสริญ นินทาได้ ย่อมพ้นจาก อุปธิได้
บุคคลผู้มีความเห็นว่า บุคคลมีกรรมเป็นของตน ย่อมพ้นจาก อุปธิได้

เราไม่สรรเสริญคนบางพวก ที่มีความเห็นดูหมิ่นผู้อื่นว่า เขาทำกรรมมา อย่างนั้น ควรได้รับโทษโดยพลัน  อย่างนี้เป็นความเห็นทราม
เราไม่สรรเสริญ คนบางพวก ที่มีความเห็นว่า คนที่ทำผิด เราจะไม่ขับไล่ ไม่ตำหนิ มีความเสมอกับคนพวกอื่น นี้เป็นความเห็นทราม  เพราะอะไร เพราะคนพวกนี้มี การข่มเหงผู้อื่นอยู่
เราย่อมเห็นด้วยกับคนบางพวก ว่าคนที่ไม่ข่มเหงผู้อื่น ไม่มีอุปธิ ควรได้รับการเสมอภาค

เรากล่าวว่า บุคคลควรตำหนิผู้อื่นเมื่อผู้นั้น ทำอย่างนั้นอยู่ หรือรู้โดยปริยายว่าทำ
บุคคลผู้ไม่ตำหนิต่อหน้า ทำลับหลัง  ชื่อว่ามี อุปธิ



วสันต์  05 ก.พ. 48