กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 26, 2008, 12:45:31 AM



หัวข้อ: ตระหนี่บุญ
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 26, 2008, 12:45:31 AM
ชาวพุทธไม่สมควรตระหนี่บุญใช่ไหมครับ

กรณีพุทธประวัติ  ผมก็จำชื่อคนไม่ค่อยได้  เมื่อเศรษฐี ก. นิมนต์พระพุทธองค์มาฉัน  เมื่ออนาถปิณฑิกัสสะเศรษฐี ซึ่งเป็นเพื่อนทราบเรื่อง  จึงขอออกค่าอาหารทั้งหมด  หรือขอออกแค่ครึ่งเดียว  แต่ได้รับการปฏิเสธทั้งนั้น  กรณีนี้คงไม่ใช่ตัวอย่างพุทธศาสนิกชนที่ดีใช่ไหมครับ  เขาคิดว่า ถ้าผู้อื่นมาออกเงินให้ทั้งหมด หรือออกให้ครึ่งเดียว  เขาจะไม่ได้บุญ หรือได้บุญครึ่งเดียวหรือไม่
เพราะบุญกิริยาวัตถุ 10 ก็ค่อนข้างบอกไว้ชัดเจน
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
ก็วรรณ ๕ ประการนี้ย่อม เป็นแดนแห่งกุศล
๑ วรรณดั่งทองคำ อยู่ทั้งนอกในเป็นอันเดียว คือบุคคลผู้มีอินทรีย์ บริบูรณ์  จริยาบริบูรณ์ คนจำพวกนี้ ไม่ควรทำทาน ไป แต่ควรรับทาน เพราะว่า คนจำพวกอื่นนอกชนนี้ เป็นผู้มีพยาธิ ถ้าชนพวกนี้ ทำทานแล้ว อินทรีย์ ของตนจะเสื่อม หาได้เจริญไม่ ก็คนนี้ชื่อ พราหม์ ก็ดี สมณะก็ดี ชื่อว่า เป็นสมณะโดยธรรมไม่ใช่โดยสมมุติ
๒ วรรณดั่งทองแดงหุ้มทอง คือบุคคลผู้มี พยาธิภายใน แต่พอมีกำลังปัญญาดี แต่ภายนอกจริยาบริบูรณ์ หรือ กามคุณบริบูรณ์ ย่อมถึงการเคารพแห่งชนพวกอื่นที่ต่ำกว่า แต่ชนพวกนี้ ย่อมประกอบด้วยอกุศล บางพวก ถึงแล้วด้วยอำนาจ คนพวกนี้ควรทำกุศลด้วย ธรรม
๓. วรรณดั่งเปลือกไม้แข็ง ไม่มีสิ่งหุ้ม คนในวรรณนี้ มีกำลังปัญญาดี แต่ในบางครั้งขาดแคลนทรัพย์ ถ้าจะทำทานอันมีสหายร่วมกัน ถึงทำทานในกุศลเพื่อจริยา ภายนอก
๔  วรรณดั่งซังข้าวโพด หุ้มด้วยทองหนา คนในวรรณนี้มี ทรัพย์ บริบูรณ์ แต่มีพยาธิภายใน คนในวรรณนี้ ถ้าจะทำทาน ก็สมควรทำทานเพื่อตนเองก่อน เพราะมีภายนอกบริบูรณ์
๕ วรรณ ดั่งผลไม้เน่านอกเน่าใน  หาคุณมิได้ เป็นธรรมดา ที่คนพวกนี้จะทำทานได้ยากยิ่ง คนในวรรณนี้ ควรทำกุศลด้วย การทำจริยาภายนอกคือ ความเคารพก่อน มีคารวะก่อน หาควรให้ทานด้วยทรัพย์





ก็เราพึงรู้ วรรณ ๕ นี้โดยธรรมแล้ว ไม่ใช่โดยจำตามๆกันมา เราจึงกล่าวตำหนิทานในชนบางพวก เพราะทานบางพวกไม่รักษาชาติของเขา หรือไม่ชาติถอยลง ถึงความตายบ้าง เข้าอบายในภายหน้าบ้าง บางพวกทำให้เจริญขึ้น
เราตำหนิความตระหนี่บางอย่าง ไม่ใช่ทุกอย่าง เพราะความตระหนี่บางอย่าง ย่อมรักษาชาติ อินทรีย์ ไว้ได้ ความตระหนี่บางพวกรักษาไว้ไม่ได้



วสันต์  28 ม.ค. 48