หัวข้อ: == อุทานธรรม ท่านเว่ยหล่าง == เริ่มหัวข้อโดย: wisarn ที่ มกราคม 19, 2016, 08:36:53 PM (http://3.bp.blogspot.com/-C6AGJ9CIgLY/VPdqT_leJGI/AAAAAAAAK1Y/ZkjOnyiqGAA/s1600/clair_de_lune.jpg) == อุทานธรรม ท่านเว่ยหล่าง == “แหม! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้ (Essence of Mind) นั้นเป็นของ บริสุทธิ์ อย่างบริสุทธิ์แท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจความ ต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง! ใครจะไปคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจาก ตัวจิตเดิมแท้!” เว่ยหล่าง (หรือฮุยเล้ง หรือฮุยเหน็ง: ญี่ปุ่นเรียก อีโน หรือเยโน ค.ศ.๖๓๘-๗๑๓) ท่านเว่ยหล่างหรือฮุยเหน็ง เป็นพระสังฆปรินายกแห่งพุทธศาสนาอย่างเซน องค์ที่ ๖ (สายจีน) ท่านกำพร้าบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ วันหนึ่งขณะรุ่นหนุ่ม ได้หาบฟืนไปขายในตลาดเมืองกวางเจา (แคนตอน) ก็ได้ยินลูกศิษย์ของ พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ กำลังสาธยายวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรอยู่. พอ ได้ยินข้อความแห่งพระสูตรนั้นเท่านั้น ใจของท่านก็ลุกโพลงสว่างไสวในพุทธธรรม ทันที! ท่านจึงเดินทางไปขอศึกษาเซนจากอาจารย์หว่างหยั่น พระสังฆปรินายก องค์ที่ ๕ ณ วัดตุงซั่น ตำบลวองมุย เมืองคีเจา ท่านเว่ยหล่างได้ไปอยู่ ที่วัดนั้นโดยทำหน้าที่เป็นคนตำข้าวในโรงครัวของวัดอยู่เป็นเวลาหลายปี วันหนึ่งท่านอาจารย์หว่างหยั่นได้ขอให้ศิษย์ทุกคนเขียนโศลกว่าด้วย เรื่องจิตเดิมแท้ โดยกล่าวว่าถ้าผู้ใดเข้าใจได้ถูกต้องว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นอย่างไร ผู้นั้นจะได้รับมอบผ้ากาสาวพัสตร์ (อันเป็นเครื่องหมายตำแหน่งพระสังฆปรินายก) พร้อมทั้งธรรมะ (อันเป็นคำสอนเร้นลับของนิกายเซน) ท่านชินเชา ผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ ได้แต่งโศลกว่า, "กายของเราคือต้นโพธิ ใจของเราคือกระจกอันใส เราเช็ดมันด้วยความระมัดระวังทุกๆ ชั่วโมง และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ" ท่ายเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออก แต่ให้เพื่อนศิษย์อ่านให้ฟัง ก็รู้ว่าผู้ แต่งโศลกนั้นยังไม่เห้นแจ้งในจิตเดิมแท้ ท่านจึงให้เสมียนแห่งตำบลกองเจาซึ่ง อยู่ในที่นั้นช่วยเขียนโศลกของท่านไว้ดังนี้ "ไม่มีต้นโพธิ์ ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว ฝุ่นจะลงจับอะไร?" คืนวันต่อมาอาจารย์หว่างหยั่น พระสังฆปรินายกองค์ที่ ๕ ได้เรียกท่าน เว่ยหล่างเข้าไปพบ และอธิบายข้อความอันลึกซึ้งในวัชรสูตรให้ฟัง พอถึงข้อ ที่ว่า "คนเราควรจะใช้จิตของตน ในวิถีทางที่มันจะเป็นอิสระได้จากเครื่อง ข้องทั้งหลาย" ทันใดนั้นท่านเว่ยหล่างก็ได้บรรลุการตรัสรู้ธรรมโดยสมบรูณ์ และได้เห็นชัดแจ้งว่า "ที่แท้ทุกๆ สิ่งในสากลโลกนี้ ก็คือตัวจิตเดิมแท้นั่นเอง มิใช่อื่นไกล" และท่านก็ได้อุทานขึ้นต่อหน้าอาจารย์ว่า “แหม! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้ (Essence of Mind) นั้นเป็นของ บริสุทธิ์ อย่างบริสุทธิ์แท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อำนาจความ ต้องเป็นอยู่ หรือภายใต้ความดับสูญ อย่างอิสระแท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์อยู่ในตัวมันเอง อย่างสมบูรณ์แท้จริง! ใครจะไปคิดว่าจิตเดิมแท้นั้นเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความเปลี่ยนแปลง อย่างนอกเหนือแท้จริง! ใครจะไปคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏออกมานี้ ไหลเทออกมาจาก ตัวจิตเดิมแท้!” ซึ่งอาจารย์ก็ได้กล่าวต่อไปอีกว่า, "สำหรับผู้ที่ไม่รู้จักจิตใจของตัวเองว่าคืออะไร ก็ป่วยการที่ผู้นั้นจะ ศึกษาพุทธศาสนา ตรงกันข้าม ถ้าผู้ใดรู้จักจิตใจของตนเองว่าเป็นอะไร และ เห็นด้วยปัญญาอย่างซึมซาบว่า ธรรมชาติแท้ของตนเองคืออะไรด้วยแล้ว ผู้นั้นคือวีรมนุษย์ (นายโรงโลก) คือครูของเทวดาและมนุษย์ คือ พุทธะ" แล้วท่านเว่ยหล่างก็ได้รับมอบธรรมะ เป็นทายาทรับมอบคำสอนแห่ง นิกาย "ฉับพลัน" พร้อมทั้งบาตรและจีวร เป็นพระสังฆปรินายกแห่งพุทธ- ศาสนาอย่างเซน (สายจีน) องค์ที่ ๖ สืบต่อไปจากอาจารย์ของท่านนั่นเอง. |