หัวข้อ: รู้อะไร ละอะไร จึงดับทุกข์ได้ เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ สิงหาคม 04, 2008, 01:15:01 PM ตกลงต้องรู้อะไร ต้องละอะไร ถึงจะดับทุกข์ได้กันแน่
ว่ากันว่านักทำกรรมฐานเข้าใจผิดกันเยอะ มีอะไรบ้างครับ? เมื่อวานฟังธรรมะหลวงพ่อปราโมทย์ 1.) ท่านว่าทุกข์มีไว้รู้ สมุทัยมีไว้ละ แต่คนมักจะไปตามละทุกข์ รู้สมุทัย ทำกลับกันไปหมด ทุกข์เลยดับไปไม่ได้ มีใครสามารถขยายความเรื่องราวเหล่านี้ได้ไหมครับ ? 2.) อีกเรื่องคือหลายคนคิดว่าตัวเองทำวิปัสสนา แต่แท้จริงกลับทำสมถะอยู่ อาการเป็นอย่างไร ? 3.) บางคนคิดว่าตัวเองสร้างกุศลอยู่ แต่กลับทำอกุศลอยู่ คิดว่าตัวเองทรงอารมณ์ธรรม ปฏิบัติธรรม เป็นจิตกุศล แต่จริง ๆ แล้วจิตกลับเครียดและซึม ๆ ซึ่งเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต คิดว่าตนมีสติแต่กลับตกอยู่ในโมหะความหลงเป็นยังไงครับ ? "ท่านว่าทุกข์มีไว้รู้ สมุทัยมีไว้ละ แต่คนมักจะไปตามละทุกข์ รู้สมุทัย ทำกลับกันไปหมด ทุกข์เลยดับไปไม่ได้ " ข้อนั้น เพราะอะไร เพราะกำหนดรู้ผิด ทำไมจึงผิด เพราะท่านมุ่งทำอย่างนี้ว่า สมุทัย ได้เห็นสืบกันมา ว่า เป็นของควรละ หรือเป็นของควรรู้ การสำคัญอย่างนี้ เป็นการมองด้วยตาข้างเดียว แก้ไปตามวิสัยโลก สัจจะทั้งสี่ เป็นธรรมสงบ ไม่อาจขวนขวายไปตาม วิสัยโลก ก็วิสัยโลก คืออะไร คือการสำคัญ ว่า ทุกข์ คือ ความเจ็บใจ ทุกข์ คือ ความเจ็บกาย ทุกข์ คือ ความไม่ได้ตามปราถนา ทุกข์ คือ ความคับแค้น ทุกข์ คือ ความเศร้า ทุกข์ คือ ความพรากจาก นี้คือวิสัยโลก ก็นักบวช ที่ถูกทิฏฐิครอบงำ ย่อมสำแดง ตีความคำครู ที่สืบทอดมา ตามวิสัยโลก สมุทัยย่อมผิดไป "หลายคนคิดว่าตัวเองทำวิปัสสนา แต่แท้จริงกลับทำสมถะอยู่ อาการเป็นอย่างไร ?" ข้อนี้เป็นเพราะอะไร เพราะเมื่อธรรมเสื่อมลง นักบวชไม่บริสุทธิ์ มีมาก นักบวชที่บริสุทธิ์มีน้อยกว่า นักบวชที่เป็นขุนคลังไม่มี สังฆมณฑล มีแต่ปริยัติส่วนเดียวอยู่ เมื่อเป็นอย่างนั้น นักบวชส่วนมาก ย่อมไม่อาจรักษากายให้อยู่ในป่า หรือ สงัด ที่มีบริขารน้อย ย่อมอยู่ในเมือง เมื่อเป็นอย่างนั้น พลเมืองย่อมแสวงหาธรรมแต่ปริยัติ ส่วนเดียว ธรรมดาปริยัติ ย่อมมีแต่หลักการ ชาดก เมื่อนานเข้า ผู้ชำนาญในหลักการมีน้อย ก็เป็นธรรมดา สิ่งต่างๆ ย่อมแปรผันไป นักบวชชั้นหลังก็ไม่ชำนาญ คนที่มีกำลังปัญญาดี ย่อมเล็งเห็นว่า การบวชไม่เป็นผล ก็รังเกียจปริยัติ ออกสู่ป่า ถือบริขารน้อย เจริญภาวนา มากเข้า จิตก็ไม่หยุดเพียงในกายภายใน จิตชักนำไปสู่สภาพอื่น เมื่อสิ่งอื่นที่เข้ากับตนเอง ก็แก้ปัญหาได้ ก็ทราบว่า นั้นคือกายภายใน ตามความตั้งใจเดิม ก็สอนคนอื่นตามที่รู้ สิ่งนั้นก็ทำสืบมา นี้ละเป็น เหตุให้ วิปัสสนา คือการมีหลักการ และการสมถะ คือการพิจารณาตนเอง แยกจากกัน เป็นเหตุให้กำหนดรู้ผิด "บางคนคิดว่าตัวเองสร้างกุศลอยู่ แต่กลับทำอกุศลอยู่ คิดว่าตัวเองทรงอารมณ์ธรรม ปฏิบัติธรรม เป็นจิตกุศล แต่จริง ๆ แล้วจิตกลับเครียดและซึม ๆ" เหตุในข้อนี้ เพราะว่า เมื่อ ธรรมต่างๆ มีปริยัติอยู่ แต่อรรถของธรรมเสื่อมไป ประจวบ เมื่อธรรมต่างไหล ไปสู่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช คนเหล่านั้น บางพวก ปฏิบัติครึ่งๆกลางๆ คือ ธรรมบางอย่าง ควรสันโดษ ก็นำไปปฏิบัติในบ้าน หรือก็รวมกลุ่ม ไม่สันโดษ เพราะมีงานอยู่ บางพวกก็สำคัญ ว่า จะปฏิบัติ ของนักบวช ธรรมเหล่านั้น เป็นของหนัก เมื่อปฏิบัติธรรมเหล่า มีวิตก วิจารณ์ แต่ไม่ที่สุด ของฌาณ ก็เป็นธรรมดา ก็เศร้าหมอง มีสีหน้าเคร่ง เครียด วสันต์ 24 มี.ค. 50 หมายเหตุ "จิตก็ไม่หยุดเพียงในกายภายใน จิตชักนำไปสู่สภาพอื่น" หมายถึง ความทะยานออก อันเป็นสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้สัตว์วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร เป็นธรรมตรงกันข้ามกับโลกุตตระธรรม |