กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 02:22:16 PM



หัวข้อ: ดูความคิด ยังไงก็ไม่ยอมหยุด
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 02:22:16 PM
รำคาญความคิดของตัวเองมาก

          ไม่ทราบว่าพวกท่านทั้งหลายมีปัญหานี้กันบ้างหรือเปล่า แรกเริ่มที่ดิฉันคิดว่าตัวเองเริ่มปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง (ไม่ใช่ที่คุณครูให้นั่งหลับตาก่อนเข้าเรียน) นี่เริ่มโดยวิธีนั่งยุบหนอ พองหนอ แล้วก็เดินจงกรม ทำแบบนั้นแต่ก็ได้ไม่นานหรอดค่ะ รู้สึกว่าตัวเองไม่สงบเสียที ทำอย่างไรก็ไม่สงบ ยิ่งพอเวลาถอนออกมาจากช่วงนั้น เวลาที่เราไม่ได้สะกดกลั้น ไม่ได้พยายามกดห้ามความคิดตัวเอง ยิ่งฟุ้งซ่าน ยิ่งอารมณ์แรงกว่าเดิมอีก นั่งอยู่ คิดไป เราคงเป็นคนบาปแน่ ๆ ถึงได้ไม่สงบ ไม่รู้อะไรเสียที จึงถอนตัวออกมา..ทำงาน คิดดี เป็นคนดี คงพอแล้ว แต่ยังขี้โกรธ อารมณ์ร้ายและรู้สึกผิดตามหลังทุกที จนมาเจอท่านหนึ่งนำหนังสือประทีปส่องธรรมมาให้บอกว่าเหมาะกับเรา เราจึงเริ่มอ่าน การที่ดูความคิดของตัวเองนี่เหมาะสำหรับคนที่คิดมาก .. ปัญหามันมีอยู่ว่า เราพยายามทำให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด เราคิดว่าเราไม่ค่อยรู้ บางทีก็รำคาญความคิดตัวเองที่ผุดขึ้นมากมาย คิดแล้วหยุด คิดต่อ คิดแล้วคิดเรื่องใหม่ แรก ๆ ไม่รู้ว่าเป็นการรู้เท่าทันหรือเปล่าจะมีตัวหนึ่งมาบอกเราว่า คิดอีกแล้วนะ คิดอีกแล้วนะ บางทีก็สงสัยทำไมไม่หยุด บางทีก็สั่งสอนหยุดนะเลิกคิดมันเป็นความฝันไม่มีจริง บางเรื่องเพลิดเพลินเราก็คิดไปเรื่อย ๆๆๆ นอนทอดถอนใจ ยอมรับคะว่าความคิดทำให้เป็นทุกข์ แต่มันรู้ไม่ทันเสียทีนี่





คนบางพวกในโลก พิจารณาธรรมแล้ว รู้ต้นเป็นอย่างหนึ่ง รู้กลางเป็นอย่างหนึ่ง รู้ปลายเป็นอย่างหนึ่ง คนเหล่านั้น มีวิตกไปในทางต่างๆ ไถลไปตลอด หยุดนิ่งมิได้ เพราะอะไร เพราะว่า นักปราชญ์พวกนั้น ไม่ประสบ สัจจะ
คนบางพวกในโลกนี้ เป็นผู้รู้ตำราน้อย เห็นน้อย สอนคนอื่นไม่ได้ แต่มีปฎิปทาว่องไว ไม่ติดขัด เพราะเขาเป็นผู้มี สัจจะ มาก
เรากล่าวว่า
ผู้ฉลาดไม่ดำริว่า สัจจะ คือ รู้อะไร แสดงอย่างนั้น
ผู้ฉลาด ไม่ดำริว่า เพราะรู้ในปฏิปทาจึงแสดง
ผู้ฉลาด ดำริว่า ธรรม ที่แสดง เป็นอุบาย และปฏิปทาจึงแสดง



วสันต์  26 พ.ย. 48


หมายเหตุ  คำตอบในข้อนี้ อาจดูไม่ค่อยสอดคล้องกับเนื้อความต้นกระทู้ เพราะ ท่านมิได้ตอบในเรื่องว่า ดูความคิดอย่างไร ถึงจะหยุดคิดได้ แต่ ท่านตอบถึงปัญหาเรื่อง ที่มาของแนวทางคำสอนที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ มักติดข้ัดปัญหาแบบนี้มาก