กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 22, 2008, 12:28:03 PM



หัวข้อ: ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 22, 2008, 12:28:03 PM
ขอคำอธิบาย "ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน" หน่อยครับ
         ชีวิตนี้จะไม่พึ่งคนอื่นเลยใช่ไหม พระพุทธเจ้าบอกว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน นี่เราจะไม่พึ่งใครเลยหรือ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ต้องเป็นคนที่ไม่สนใจคนอื่นเลยนะซิ อย่างนี้คนอื่นเขาก็มองเราว่าเป็นคนที่แข็งกระด้างเห็นแก่ตัว มากเลย





ข้อนี้เป็นอย่างนั้น คือ คนโดยมาก ไม่ชอบรับทานของผู้อื่น ปฎิเสธโดยพลัน ช่วยใครก็ไม่รู้จักช่วย

เธอสำคัญข้อนี้อย่างไร?
แต่ทว่า คนส่วนมากตกอยู่ในการหลอกหลวงของผู้มีอำนาจเป็นอันมาก ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เป็นอันมาก แรกอยู่ไม่ได้คิดประทุษร้าย ต่อมาภายหลังถูกอำนาจและกฎ บังคับเป็นอันมาก ก็ยังจงรักภักดีมากอยู่ ตกอยู่ในอุปทานว่า ท่านจงเป็นคนซื่อสัตย์บ้าง เป็นคนเห็นแก่หน้าที่บ้าง ก็คนจงรักภักดีเหล่านี้ ไม่รู้ว่าสิ่งใดที่จงรักภักดีจริง อะไรคือการลุแก่อำนาจอยู่ อย่างนี้ละ ทหารบางคนสละชีวิตเปล่า เมื่อตายแล้ว เข้าสู่นรกเป็นอันมากอยู่

เธอสำคัญข้อนี้เป็นอย่างไร ?
ว่าบุคคลควรช่วยผู้อื่น ทุกอย่างได้อย่างไร ก็คนส่วนมากในโลก มีมายาหลอกลวงผู้คนอยู่ ละโมบ เขากล่าวหรือว่า เราหลอกลวงท่านอยู่ เราละโมบ
อีกข้อหนึ่ง คือบุคคลทั้งหลายในโลกนี้ ที่ช่วยเหลือคนเป็นอันมาก เช่นว่าให้เงิน ให้ที่อยู่ ต่อมาสิ่งเหล่านั้นนำมา ซึ่งราคะ โทสะ โลภะ ความสุขสบายตอนมีชีวิต บุคคลเหล่านั้นบอกท่านหรือว่า สิ่งนี้สิ่งนั้น นำมาซึ่ง ราคะ โทสะ โลภะ ตายไปเข้าสู่นรก
อีกข้อหนึ่ง บุคคลทั้งหลายพึงบอกกับท่านว่า เราให้ของนี้แก่ท่าน ท่านจงเอาไปใช้ตามแต่ชอบ ต่อมาของนั้นนำมาซึ่งความปฏิบัติยาก ต้องเพียรเองเป็นอันมาก แต่นำมาซึ่งโลภะ โทสะ ราคะ
บุคคลเหล่านั้นบอกท่านหรือว่า สิ่งนั้นนำมาซึ่ง โลภะ โทสะ ราคะ ตายไปสู่นรก
อีกข้อหนึ่ง บุคคลทั้งหลาย บอกธรรม ให้สิ่งของ ว่าเราพึงให้ท่าน ต่อมา ของนั้นนำมาซึ่งความลำบาก ต้องใช้ความเพียรมากอยู่ มีผลคือ ไม่มี ราคะ โลภะ โทสะ เธอสำคัญว่าคนส่วนมากจะรัก และรับมาทำหรือ?

เรากล่าวว่าสิ่งที่เป็นอกุศลโดยมาก แรกนั้นจะนำซึ่งความสบาย นานไปจะนำทุกข์มาให้ ไม่ควรรับ
สิ่งที่เป็นกุศลทุกอย่าง ย่อมต้องอาศัยความเพียร สิ่งใดที่เพียรแล้วมี ปิติ สิ่งนั้นชื่อว่า กุศล ควรรับควรใส่ใจ



วสันต์  08 พ.ย. 47