กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 04:36:55 PM



หัวข้อ: จำแนกธรรม ๑๐ หมวดตามพระไตรปิฏก
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 04:36:55 PM
ขอถามเกี่ยวกับคำศัพท์ในพระไตรปิฏกหน่อยครับ

          จากพระสุตตันตปิฎกเล่ม 3 ทสุตตรสูตร ท่านสารีบุตร ได้จำแนกธรรมออกเป็น 10 หมวด แต่ละหมวด ประกอบด้วย

1. ธรรมที่มีอุปการะมาก
2. ธรรมที่ควรให้เจริญ
3. ธรรมที่ควรกำหนดรู้
4. ธรรมที่ควรละ
5. ธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม
6. ธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ
7. ธรรมที่แทงตลอดได้ยาก
8. ธรรมที่ควรให้บังเกิดขึ้น
9. ธรรมที่ควรรู้
10. ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง

          คือความหมายของธรรม ทั้ง 10 นี้ค่อนข้างมีความคาบเกี่ยวกันอยู่ เช่น ธรรมที่มีอุปการะมาก ก็ น่าจะเป็นธรรมที่ควรให้เจริญ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างวิเศษ เป็นธรรมที่ควรให้บังเกิดขึ้น เป็นธรรมที่ควรรู้ และเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ผมไม่สามารถเห็นความแตกต่างของธรรมทั้ง 7 นี้ได้ ท่านผู้รู้มีความเห็นยังไงครับ ว่าธรรมทั้ง 7 นี้แตกต่างหรือเหมือนกัน
          ต่อมาธรรมที่ควรละ ก็น่าจะเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม ด้วย ธรรมทั้ง 2 นี้มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร





ธรรมที่เป็นไปในส่วนข้างเสื่อม คืออะไร คือธรรมใดที่บุคคลพึงทำแล้ว จะประกอบด้วยสุขเวทนาก็ดี จะประกอบด้วยทุกขเวทนา ก็ดี ธรรมนั้นกระทำแล้วนำพาบุคคลให้เสื่อมทีละน้อย แต่มีปกติไม่เล็งเห็นอาการของความเสื่อม

ธรรมที่ควรละ คือ ธรรมที่บุคคลพึงเป็นไปในอาการไม่เจริญขึ้นในธรรมที่มุ่งหมาย

ก็ธรรมเป็นไปในส่วนข้างเสื่อมเป็นอย่างไร ก็ความสุขจากอาการมัวเมา เป็นต้น
เรากล่าวว่า ธรรมประเภทนี้ บางพวกควรตำหนิทางเดียว บางพวกยังไม่ควรตำหนิทันที

ธรรมที่ควรละ เช่น คนบางพวก เป็นผู้หนักแน่นในความคิด แต่ไม่ทำการงานอื่นใดที่สมควรทางกาย เที่ยวแต่ ใช้ผู้อื่น อันเป็นที่มาแห่งทาส ความเห็นนั้นควรละยิ่ง



 
วสันต์ 16 ก.ค. 48