กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 04:31:07 PM



หัวข้อ: มัชฌิมาปฏิปทา คือ อะไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 04:31:07 PM
มัชฌิมาปฏิปทา คือ อะไร ?

ศึกษา ทิฏฐิ ๖๒ (พรหมชาลสูตร, สีลขันธวรรค, ทีฆนิกาย , พระสุตตันปิฎกเล่ม๑, พระไตรปิฎกเล่มที่๙)             
ทิฏฐิ  หรือ  ทฤษฎี ๖๒   เป็นอภิปรัชญาร่วมสมัยพุทธกาล มีถึง ๖๒ ก็จริง แต่สรุปแล้วมีอยู่ ๗ เรื่องเท่านั้น ๑. เกี่ยวกับการตายแล้วเกิด  มีสองทัศนะ   คือ  พวกหนึ่งเห็นว่า ตายแล้วเกิดอีก  อีกพวกหนึ่งเห็นว่า  ไม่เกิด
๒. เกี่ยวกับสุขและทุกข์    บางพวกว่า  ไม่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้นเอง  ดับเอง  บางพวกว่า  มีเหตุปัจจัย
๓. เกี่ยวกับสถานภาพของโลก  บางพวกว่า โลกมีที่สุด  บางพวกว่า ไม่มีที่สุด  บางพวกว่า มีที่สุดบางส่วน   บางพวกก็ว่า มีที่สุดก็ไม่ใช่   ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่
๔. เกี่ยวกับสถานภาพของสรรพสิ่ง   บางพวกก็ว่า สรรพสิ่งนิรันดร  บางพวกนิรันดรเพียงบางอย่าง
๕. เกี่ยวกับชีวิตหลังตาย บางพวกว่าตายแล้วยังมีสัญญา ( ความจำ ) อยู่ บางพวกว่า ไม่มีสัญญา  บางพวกว่า จะเรียกว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่เชิง
๖. เกี่ยวกับเป้าหมายสูงสุดของชีวิต  บางพวกว่า กามารมณ์เป็นเป้าหมายสูงสุด  บางพวกว่า การได้ญาณระดับต่างๆ เป็นเป้าหมายสูงสุดของชีวิต
๗. อีกพวกหนึ่งมีทัศนะไม่แน่นอน   ไม่ยืนยันและปฏิเสธความเห็นใดๆถือว่า การปฏิเสธและยอมรับอะไรง่ายๆ อาจผิดพลาดขึ้นได้  ดังนั้นพวกนี้จึงไม่ตัวเองกับทฤษฎีใดๆ
             
  สรุปทฤษฎี ๖๒  ลงให้สั้นเป็นเพียง   ๒  ประการ  คือ
-   พวกหนึ่ง  เห็นว่า มีตลอดไป  เที่ยงนิรันดร ( อัตถิตา ,  สัสสตะ )
- พวกหนึ่ง   เห็นว่า ขาดสูญ  ไม่นิรันดร ( นัตถิตา, อุจเฉทะ  หรือ อสสัสตะ )
           
พุทธศาสนา เป็น   "  มัชฌิมา  ปฏิปทา "    ( ทางสายกลาง )  ไม่ใช่ทั้งสอง อย่างข้างต้น  พระพุทธเจ้าทรงสอนหลัก " ปฏิจจสมุปบาท " หรือ " อิทัปปัจจยตา "  สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นหรือดับไป  เพราะมีเงื่อนไข และ หมดเงื่อนไข  จะชี้ชัดลงไปตายตัวไม่ได้  แล้วแต่เงื่อนไข เช่น  ถ้าตอบว่า " เกิด "  ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ( สัสสตะ )
ถ้าตอบว่า " ไม่เกิด " ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ( อุจเฉทะ )
                                                                        คำบรรยายพระไตรปิฎก
                                                                อาจารย์เสฐียรพงษ์   วรรณปก





เรากล่าวว่า มัชฌิมาปฏิปทา อาศัยอะไร

อนึ่ง ศาสนา ไม่ได้ถือว่า อนันตา เป็นสิ่งสูงสุด หรือ ไม่ได้ถือว่า ธรรมอันหนึ่งอันใด สำคัญกว่ากัน แต่มุ่งไปสู่ การทั่วถึงธรรม ก็ มัชฌิมาปฏิปทา นี้ เป็นไปเฉพาะสังคมในศาสนานี้ จึงได้ชื่อ ว่า ทางสายเอก เปรียบเหมือน บุคคลผู้ปราดเปรียวย่อมยกสิ่งนั้นขึ้น เพื่อแสดง เอกลักษณะแห่งตน ฉันนั้น

ก็ มัชฌิมาปฏิปทา มีได้ด้วยเหตุอะไร
บุคคลผู้ศึกษาธรรม ผู้ปราถนารู้ทั่วถึงธรรม ย่อมไม่หักล้างธรรม ว่า สิ่งนี้จริง สิ่งอื่นเปล่า
บุคคลผู้ศึกษาธรรม ผู้ปราถนารู้ทั่วถึงธรรม ย่อมไม่หักล้างธรรม ว่า สิ่งนี้เปล่า สิ่งอื่นจริง
ทิฏฐิย่อมเกิด แต่บุคคลผู้รู้ใน ธรรม อย่างนี้ คือ ธรรมใช่ก็ใช่ ธรรมไม่ใช่ก็ใช่ ควรแก่การรู้ทั้งสองทาง

ก็ทางแก้ทิฏฐิ ธรรมใช่ก็ใช่ ธรรมไม่ใช่ก็ใช่ มีเฉพาะใน ศาสนานี้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา

 

วสันต์ 17 ก.พ. 49