กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 02:35:49 PM



หัวข้อ: ทำอย่างไรให้ไม่มี "เรา"
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 30, 2008, 02:35:49 PM
ถ้าร่างกายนี้ไม่ใช่ของ"เรา" แล้ว"เรา"นี้เป็นของใคร

 ผมเข้าใจว่า คำว่า "หมายมั่น" นั้นเป็น "เจตนา" ของ "เรา"  ถ้า "เรา" ไม่มี "เจตนา" ที่จะ "หมายมั่น" ว่าสิ่งต่างๆและร่างกายนี้เป็นของเราแล้ว ก็สามารถกำจัดทุกข์ออกไปได้ แต่ผมก็ยังเห็นว่ายังคงมี "เรา" อยู่ ถึงมีจะอยู่โดดๆ ไม่มีกิริยา(เจตนา) ไม่มีกรรม แต่ยังไงๆก็ยังมี "เรา" อยู่ดี ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้เราหายไปได้ครับ ?





               เรากล่าวว่า ก็บุคคล ระลึก หมายรู้ จำ มีฉันทะปรากฏ ก็เพราะเขา กำหนดทิฏฐิได้
               บุคคลจะมี ทิฏฐิอย่างเดียว จะยังประโยชน์น้อยนัก เพราะอะไร เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย มีความจำเพาะบ้าง คล้ายคลึงบ้าง ด้วยเหตุนั้น สังกัปปะ จึงมี เพื่อวินิฉัยเหตุนั้น
               บุคคลจะมีแต่ ทิฏฐิ สังกัปปะ ยังหาประโยชน์น้อย คือ ความเห็นชอบ เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย มีความสม่ำเสมอ พร้อมเพียงกันบ้าง ไม่พร้อมเพียงกันบ้าง ด้วยเหตุนั้นจึงมี กัมมันตะ
               บุคคลจะมี ทิฏฐิ สังกัปปะ กัมมันตะ ยังหาประโยชน์น้อย เพราะว่า สิ่งทั้งหลายยังมี กิริยา ที่ควรแสดงบ้าง ไม่ควรแสดงบ้าง ด้วยเหตุนั้น จึงมี วาจา
               บุคคลจะมี ทิฏฐิ สังกัปปะ กัมมันตะ วาจา  ยังหาประโยชน์น้อย เพราะว่า สิ่งทั้งหลายยังมี กำลัง ความเป็นไปมากกว่าหนึ่ง ยังมีมาก น้อย ด้วยเหตุนั้น จึงมี อาชีวะ
               บุคคลจะมี ทิฏฐิ สังกัปปะ กัมมันตะ วาจา อาชีวะ ยังหาประโยชน์น้อย เพราะว่า สิ่งทั้งหลายยังมี การแสวงหา ขวนขวาย นำมา ด้วยเหตุนั้นจึงมี วายามะ
               บุคคลจะมี ทิฏฐิ สังกัปปะ กัมมันตะ วาจา อาชีวะ วายามะ จะหาประโยชน์ อย่างกลางได้ คือความได้มา แต่ยังมี ความสำเร็จ แห่งความไม่ถอยหลัง คือ สติ และ สมาธิ

               คนบางคนในโลก พึงทำ ตบะ บำเพ็ญตน สำเร็จอาการทางกาย เป็นประตู เป็นเบื้องต้น นานไป เบื่อหน่าย เพราะว่าเขาไม่สำเร็จประโยชน์ คือ ความเห็นชอบ คนบางพวกในโลก พึงทำตบะ บำเพ็ญตน มีความเห็นชอบ แต่รังเกียจ เบื่อหน่าย ในการงาน ไม่ มีความเพียร เพราะเขาไม่สำเร็จ ประโยชน์ อย่างกลาง คือ ความได้มา

               คนบางคนสำเร็จประโยชน์ แต่กลับถอยหลัง เพราะเขาไม่สำเร็จ ประโยชน์ แห่งความไม่ถอยหลัง คือ สติ และ สมาธิ



วสันต์ 07 ม.ค. 49