กระดานธรรมะ

ข้อมูลสาระธรรม และคำสอน => ธรรมะ โดย ท่านวสันต์ => ข้อความที่เริ่มโดย: zen ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 12:13:44 AM



หัวข้อ: ความหมายของ อุเบกขา
เริ่มหัวข้อโดย: zen ที่ กรกฎาคม 28, 2008, 12:13:44 AM
อารมณ์ " อุเบกขา "

อยากทราบค่ะ
1. อารมณ์ที่เป็น " อุเบกขา "  ต่างกัน หรือเหมือนกัน กับ ความรู้สึกเฉยๆ
2. คำว่า " จิตว่าง " ล่ะค่ะ  เหมือนกัน หรือต่างกัน กับ อารมณ์ " อุเบกขา "
3. อารมณ์ " อุเบกขา "  มีกี่แบบค่ะ
ขอความเมตตาอนุเคราะห์ ตอบที่เถอะค่ะ เพราะเกิด " จิตสงสัย " ค่ะ





จิตใดละที่บุคคลพึงไตร่ตรองสิ่งใด เห็นเบื้องต้น ท่ามกลาง เบื้องปลาย รู้ว่า เราเป็นอย่างหนึ่ง สิ่งนั้นเป็นอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอันเดียวกัน นี้ได้ชื่อว่า อุเบกขา

จิตใจของบุคคลพึงเห็น ความเบื่อหน่าย ละทิ้ง แต่ก็ไม่ทิ้งคืน มีความเห็น เลื่อนลอย เลือนลาง มีอุเทศ ว่า เพิกเฉย แต่ยังมีความสำคัญว่า เป็นอันเดียวกัน ไม่รู้อุบายละออก เราย่อมนับว่า เป็น อุปกิเลสอ่อน เป็นหยากเยื่อ แห่งความเกียจคร้าน



วสันต์  25 เม.ย. 48


อุเทศ การยกขึ้นแสดง, การยกขึ้นชี้แจง, ข้อที่ยกขึ้นแสดง, หัวข้อ, การเรียนการสอน

อุปกิเลส โทษเครื่องเศร้าหมอง, สิ่งที่ทำจิตต์ใจให้เศร้าหมองขุ่นมัว รับคุณธรรมได้ยาก
       มี ๑๖ อย่าง คือ
           ๑. อภิชฌาวิสมโลภะ ละโมบ จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร
           ๒. โทสะ คิดประทุษร้าย
           ๓. โกธะ โกรธ
           ๔. อุปนาหะ ผูกโกรธไว้
           ๕. มักขะ ลบหลู่คุณท่าน
           ๖. ปลาสะ ตีเสมอ
           ๗. อิสสา ริษยา
           ๘. มัจฉริยะ ตระหนี่
           ๙. มายา เจ้าเล่ห์
           ๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด
           ๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ
           ๑๒. สารัมภะ แข่งดี
           ๑๓. มานะ ถือตัว
           ๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน
           ๑๕. มทะ มัวเมา
           ๑๖. ปมาทะ เลินเล่อหรือละเลย