ข่าว: SMF - Just Installed!
 
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
+  กระดานธรรมะ
|-+  กระดานสนทนาธรรม
| |-+  ชี้แจงข้อธรรม
| | |-+  สุขจากกาม และสุขจากฌาน
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้ « หน้าที่แล้ว ต่อไป »
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สุขจากกาม และสุขจากฌาน  (อ่าน 5259 ครั้ง)
zen
Administrator
Sr. Member
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 351


« เมื่อ: ตุลาคม 16, 2009, 02:22:47 AM »


          กาม หมายถึง ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่,
          กามมี ๒ คือ
           ๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่
           ๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

          กามคุณ คือ ความสุข ที่เกิดจากกาม ได้แก่สุขที่เกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส และกายสัมผัสที่น่าพอใจ ซึ่งก็คือความสุขในโลกที่บุคคลส่วนใหญ่ในโลกแสวงหา ไม่ว่าจะจำแนกได้อย่างถูกต้องหรือไม่ก็ตาม

          ความสุขอีกชนิดหนึ่งก็คือ ความสุขจากฌาน ซึ่งเป็นความสุขชนิดที่ประณีตกว่า ประเสริฐกว่า เป็นความสุขที่มิได้เกิดจากกาม แต่เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบจากกาม ก็จริงอยู่ว่า ความสุขที่เกิดจากความสงบในโลกียะฌาน(ฌานของผู้ยังไม่บรรลุอริยะธรรม)ไม่อาจเทียบได้กับความสุขที่เกิดจากการบรรลุความเป็นอริยะ หรือความบรรลุพระนิพพาน แต่อย่างไรก็ดี พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า ความสุขจากฌานขั้นต่างๆนั้น เป็นสุขที่ประเสริฐยิ่งกว่าความสุขในกามของปุถุชนซึ่งไม่บรรลุความสุขในฌาน

          คนบางพวก ถึงแม้ประกาศอ้างว่าบรรลุฌานแล้ว แต่มิได้บรรลุจริง และมิได้ศึกษาพระไตรปิฏกให้ถี่ถ้วนรอบคอบ ก็เป็นเหตุให้ตีความตื้นเขินสุดโต่งว่า เป็นเพียงความสงบที่ไม่รับรู้อะไร ปราศจากความรับรู้ในสิ่งใดๆ ไม่เป็นประโยชน์นัก เพราะไม่ทราบความว่า ความสุขในฌานเกิดขึ้นได้อย่างไร? ก็ความสุขในฌาน เกิดขึ้นได้เพราะเหตุว่า สงบจากกามตัณหา หรือแปลง่ายๆว่า สงบจากตัณหาความใคร่ในกามนั่นเอง ไม่ใช่เพราะสงบเฉยๆ ไม่ใช่เพราะสงบแบบด้วนๆ ไม่มีอะไร ไม่ปรากฏอะไร ไม่สามารถรับรู้จำแนกสิ่งใดๆได้เลย(อันเป็นสภาพของจิตที่ตกภวังค์ หรือหลับนั่นเอง ไม่ใช่สภาพของจิตที่เป็นฌาน) ส่วนความสุขที่เกิดแก่ปุถุชนผู้ไม่บรรลุฌานนั้น จำกัดอยู่เพียงในกามสุข หรือสุขที่อาศัยกามนั่นเอง ไม่ว่าเจ้าตัวจะเข้าใจความหมายของคำว่า กาม อย่างถูกต้องทั่วถึงหรือไม่ก็ตาม

          หรือกล่าวอีกอย่างว่า สุขจากกาม ก็คือ สุขจากการอาศัยสิ่งภายนอก ส่วนสุขจากฌาน ก็คือ สุขที่อาศัยปัจจัยภายในจิตใจของตนนั่นเอง หรือกล่าวให้ลึกซึ้งลงไปอีกว่า สุขจากฌาน ก็คือ สุขที่จิตใจของตนเองนั้น สามารถตั้งอยู่ในสุขได้โดยไม่ต้องอาศัยกาม นั่นเอง

          ดังนี้เแล้ว ผู้ชี้นำให้ผู้อื่นรังเกียจฌาน ย่อมเป็นผู้ชี้นำผู้อื่นไปสู่ความเสื่อมไป เพราะความสุขอย่างเดียวที่ผู้ทำตามจะเข้าถึงได้ ก็คือ ความสุขในกาม นั่นเอง เพราะธรรมชาติมนุษย์ทั่วไป ย่อมแสวงหาสุข ย่อมหลีกหนีทุกข์ เมื่อพวกเขาเหล่านั้น ไม่สามารถบรรลุ และรังเกียจความสุขในฌาน พวกเขาย่อมมุ่งความสุขในกาม เพียงแต่ ผู้ไม่แยบคายมักจำแนกความสุขในกามผิดเพี้ยนไป ตัวอย่างเช่น เมื่ออาจารย์ที่สอนผิด แล้วศิษย์ที่เชื่อฟัง ก็เชื่อถือตาม ประพฤติตาม ก็เกิดความพอใจสุขใจอยู่ ด้วยหลงผิดว่าได้ปฏิบัติอยู่ในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะด้วยความเชื่อถือศรัทธาอาจารย์ อย่างนี้ก็เป็นกามสุข หรือเมื่อศรัทธาอาจารย์ตนมาก ปฏิบัติตามอย่างเต็มที่ จนอาจารย์พึงพอใจ ก็กล่าวรับรองแก่ิศิษย์ผู้นั้นว่า บรรลุธรรมต่างๆแล้ว เช่นว่า บรรลุโสดาบันบ้าง ปีติสุข ก็เกิดแก่ศิษย์ผู้นั้น เมื่อปีติสุขเกิด ความยินดีเกิดขึ้นแก่ตนเป็นอันมาก ก็ยิ่งสำคัญสุดโต่งไปว่า อาจารย์ตนนั้นดีจริง รู้จริง สอนธรรมอันบริสุทธิ์จริง ฯลฯ อย่างนี้ก็ยังเป็นกามคุณอยู่ เพียงแต่บุคคลทั่วไปจำแนกไม่ถูก เพราะยังไม่เท่าทันกามตัณหาแห่งตน ที่ไม่สามารถจำแนกเท่านั้นกามตัณหาแห่งตนได้ ก็เพราะเหตุว่า ยังไม่รู้สภาพที่กามตัณหาดับไป เนื่องด้วยยังไม่เคยรู้ชัดถึงจิตที่เป็นฌาน อันเป็นสภาพที่กามตัณหาดับไป อุปมาว่า ผู้ไม่เคยเห็นช้าง เมื่ออาจารย์ที่ตนศรัทธาชี้สุนัขว่าคือช้าง บุคคลนั้นเมื่อไม่แยบคายก็เชื่อตามโดยไม่สงสัย ก็พอใจด้วยความย่ามใจว่าตนเป็นผู้รู้จักช้างแล้ว ฉันได้ก็ฉันนั้น ผู้ไม่เข้าถึงฌาน อันเป็นสภาพที่กามตัณหาดับไป ย่อมไม่อาจจำแนกได้ว่า อย่างไรคือกามตัณหามีอยู่ อย่างไรคือกามตัณหาดับไป พวกเขาย่อมพอใจในสุขเวทนาอันหยาบ เพราะไม่เคยรู้สุขเวทนาอันละเอียดประณีต เป็นธรรมดาของผู้ยังประมาทอยู่ และเนื่องด้วยตัณหาอันหยาบ ย่อมพาจิตที่หลงตาม ไปสู่ความเสื่อมได้รวดเร็ว ส่วนตัณหาอันละเอียดประณีต ย่อมพาจิตที่หลงตาม ไปสู่ความเสื่อมได้ช้ากว่า เบาบางกว่า หรือน้อยกว่า ดังนั้น ผู้หลงติดในฌาน จำนวนมาก มักมีสุขคติภูมิเป็นที่ไป ส่วนผู้หลงติดในกาม จำนวนมาก มักมีเดรัจฉานภูมิ หรือนรกภูมิ เป็นที่ไป

          ตามหลักฐานจากพระไตรปิฏก การประกาศพระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการครั้งแรกของพระพุทธเจ้า ก็เริ่มที่พระสูตรที่ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร อันเป็นพระปฐมเทศนา แก่พระปัญจะวัคคีทั้ง ๕ องค์ ซึ่งทรงตรัสธรรมอันเป็นอริยะเป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนาแห่งพระองค์ แต่ที่จริงแล้ว หลังจากทรงตรัสรู้ ก่อนที่จะได้มาพบพระปัญจะวัคคีทั้ง ๕ องค์ เพื่อแสดงอริยะธรรมนั้น ในระหว่างเดินทาง มีกลุ่มพ่อค้ากลุ่มหนึ่ง ได้พบพระพุทธองค์ก่อน แล้วเกิดความศรัทธา พระพุทธองค์จึงทรงแสดงธรรม เพื่อความเป็นพรหม อันเป็นสุขคติภูมิ แก่คนเหล่านั้นก่อน แต่มิได้แสดงอริยะสัจจ์ ๔ ประการ เพราะเกินฐานะวาสนาบารมีของคนกลุ่มนั้น จากเหตุการณ์นี้ ก็พอพิจารณาได้ว่า สุขจากการเป็นพรหม ก็ไม่สู้สุขจากพระนิพพาน และสุขจากกาม ก็ยังไม่สู้สุขจากความเป็นพรหม(อันเป็นฐานะของผู้บรรลุฌาน) ก็จะนับอะไรกับทุกข์ในอบายภูมิ?

           ก็จริงอยู่ว่า ครูบาอาจารย์ เช่น พระอาจารย์เสาร์ หรือหลวงปู่มั่น ท่านสอนไม่ให้ติดอยู่ในความสุขในฌาน เมื่อได้ฌานแล้วให้น้อมจิตพิจารณาสอดส่องความเป็นจริง เพื่อให้เกิดปัญญาบรรลุถึงสัจจะธรรม เพื่อความบรรลุพระนิพพานธรรม แต่ท่านก็ยังสอนให้นั่งสมาธิ สอนให้บริกรรมพุทโธให้มาก เพราะเหตุใด? ก็เพื่อผู้ที่ยังสุดโต่งติดอยู่ในกามตัณหา ก็จะได้ละกามตัณหา สติก็จะยิ่งบริสุทธิ์ เมื่อสติบริสุทธิ์ดีแล้ว บรรลุฌานดีแล้ว ท่่านก็จึงสอนต่อไปว่า สุขในฌานนั้น ยังไม่เป็นที่สุด อย่าไปสุดโต่งยึดติดจนประมาท ไม่น้อมไปสู่ความรู้ความเห็นในธรรมอันประเสริฐยิ่งๆขึ้นไป รวมความก็คือ สุขในโลกียะฌานนั้น เลวกว่าสุขในโลกุตตระธรรม ส่วนสุขในกามนั้น ก็เลวกว่าสุขในฌาน ดังนั้น ก็เป็นธรรมดาว่า ผู้ยังละกิเลสในกามตัณหาไม่ได้ ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่จะละกิเลสในฌานไปสู่พระนิพพานธรรมได้ นั่นเอง ดังนั้น ด้วยเหตุประมาณนี้ ท่านจึงสอนผู้บรรลุฌานดีแล้ว ไม่ให้ติดสุขในฌาน และสอนผู้ที่ยังติดอยู่ในกาม คือ ผู้ยังไม่บรรลุฌาน ให้บริกรรมพุทโธให้มาก นั่นเอง เพียงแต่ ปุถุชนโดยมากฟุ้งซ่านไปด้วยกามตัณหาเป็นอันมาก และเป็นมาเนิ่นนานจนจำแนกไม่ได้ ทำความสงบจากกามได้ยาก การทำฌานก็เลยกลายเป็นของยาก เมื่อมีผู้ชี้นำผิดๆ นานไป วิธีการใหม่ๆ คือการบรรลุพระนิพพานโดยไม่ต้องเป็นฌาน กล่าวคือ ไม่ต้องระงับกามตัณหา ก็เกิดขึ้น ก็แพร่หลาย ก็เป็นที่นิยมมากขึ้นไปตามความหมกมุ่นในกามของบุคคลนั่นเอง เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้ที่ประกาศ หรือเชื่อถือ ว่าตนบรรลุความเป็นอริยะแล้ว แต่กลับพอกพูนอุปธิ ยกตนมากขึ้น กดข่มผู้อื่นว่าต้อยต่ำกว่ายิ่งขึ้น ก็มีมากขึ้น ผู้เขลาเห็นตามอย่างนั้น ก็เห็นควรว่าตนพึงบรรลุอย่างนั้นเพื่อความเหนือกว่าผู้อื่น พึงบรรลุฐานะที่ผู้อื่นยกย่องว่าเหนือกว่า มิได้สำเหนียกว่า อริยะธรรมนั้น เป็นธรรมเพื่อจิตตน มิใช่เพื่อความสรรเสริญ ยอมรับ หรือยกย่อง จากบุคคลอื่นเลย


http://dhamma.living.in.th/webboard/index.php?topic=5.msg310;topicseen#msg310


บันทึกการเข้า

จริงอยู่ว่า ผู้บรรลุนิพพาน ย่อมรู้ความเป็นไปของโลก ว่า เป็นเช่นนั้นเอง
แต่ พระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่เป็นไปเอง หรือเกิดขึ้นเอง หรือไม่มีเจตนา
แท้จริงแล้ว พระนิพพาน มีได้เพราะกำหนด มีได้เพราะเจตนา ในอนัตตา
ดังนี้ ผู้สำคัญว่า นิพพาน จะมีได้เพราะไม่กำหนด หรือเป็นไปเอง จะไม่รู้พระนิพพานธรรมได้เลย
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
« หน้าที่แล้ว ต่อไป »
กระโดดไป:  


เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.14 | SMF © 2006-2008, Simple Machines LLC | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.122 วินาที กับ 20 คำสั่ง